ไดโนเสาร์
ไดโนเสาร์


ไดโนเสาร์พวกแรกที่ปรากฎบนโลกอยู่ในช่วงตอนปลายยุคไทรแอสสิก คือ เมื่อกว่า 205 ล้านปีมาแล้ว ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ทวีปต่างๆในโลกเป็นผืนแผ่นดินเดียวกัน และมีชีวิตอยู่ต่อมาในยุคจูแรสสิก และสูญพันธุ์ไปหมดในปลายยุคครีเตเชียส คือ เมื่อ 65 ล้านปีมาแล้ว ตลอดระยะเวลาที่มันมีชีวิตอยู่ ได้มีวิวัฒนาการแพร่พันธุ์กระจัดกระจายอยู่ทั่วโลกยาวนานถึง 140 ล้านปี
เรารู้จักไดโนเสาร์จากการศึกษาฟอสซิลที่หลงเหลืออยู่ เช่น กระดูก ฟัน รอยเท้า หนัง หรือไข่ สิ่งต่างๆเหล่านี้ทำให้เรารู้วิธีเดินของมัน อาหารที่มันกิน รูปลักษณะของมัน แต่สิ่งที่เราไม่สามารถรู้ได้ เช่น ตัวของมันสีอะไร และเสียงของมันเป็นอย่างไร เราทำได้เพียงแต่เดาเอาเท่านั้น
คนแรกที่ตั้งชื่อให้ไดโนเสาร์ :
เมื่อพ.ศ.2365 มีการค้นพบกระดูกกรามของสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในประเทศอังกฤษ วิลเลียม บัคแลนด์ ได้ตั้งชื่อสิ่งที่พบว่า เมกกะโลซอรัส เขาจึงเป็นคนแรกที่ตั้งชื่อของไดโนเสาร์



ไข่ไดโนเสาร์ :
การพบไข่ไดโนเสาร์นับเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญ เพราะถ้าพบตัวอ่อนอยู่ภายในจะสามารถศึกษาต่อไปได้ว่าเป็นไข่ของไดโนเสาร์ชนิดใด มันมีวิธีปกป้อง ดูแลไข่และลูกน้อยของมันอย่างไร และอาจรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างไดโนเสาร์กับนก ซึ่งเราเชื่อว่านกสืบเชื้อสายมาจากไดโนเสาร์
พบไข่ไดโนเสาร์ครั้งแรก
เมื่อพ.ศ.2465 รอย แชปแมมน แอนดรูส์ นักวิทยาศาสตร์จากพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา สหรัฐอเมริกา นำทีมจำนวน 40 คน และอูฐ 75 ตัว ออกสำรวจทะเลทราบโกบีตั้งแต่ประเทศจีนจนถึงมองโกเลีย จากการสำรวจครั้งนี้ เขาได้ค้นพบซากฟอสซิลไดโนเสาร์มากมายหลายชนิด และที่สำคัญได้พบรังไข่ไดโนเสาร์เป็นครั้งแรกของโลก
พ.ศ.2536 ทีมสำรวจจากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติวิทยา สหรัฐอเมริกา กับสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งมองโกเลียได้ร่วมมือกันค้นหาไดโนเสาร์ในทะเลทรายโกบีอีกครั้ง ครั้งนี้พวกเขาได้พบฟอสซิลกระดูกไดโนเสาร์กินเนื้อพันธุ์โอวิแรพเตอร์กำลังนั่งกกไข่อยู่ในรัง ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงการปกป้องลูกของแม่ไดโนเสาร์ให้เราเห็นเป็นครั้งแรก
คนแรกที่ตั้งชื่อสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ว่า ไดโนเสาร์ :
ศาสตราจารย์ริชาร์ด โอแวน นักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของอังกฤษ ได้ศึกษาฟอสซิลของสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ โดยเฉพาะฟอสซิลของอิกัวโนดอนและไฮลีโอซอรัส ซึ่งมีการค้นพบตั้งแต่พ.ศ.2363 และพ.ศ.2373 เขาพบว่าฟอสซิลเหล่านั้นถึงแม้จะเหมือนกับสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ แต่ไม่เหมือนกับสัตว์เลื้อยคลานในปัจจุบันทีเดียว มันเหมือนช้างมากกว่า คือ ขาใหญ่ของมันรับน้ำหนักของตัวที่ใหญ่โตโดยตรง เขาจึงตั้งชื่อสัตว์ขนาดใหญ่และน่ากลัวนี้ว่า ไดโนเสาร์ (Dinosaur) ซึ่งหมายถึงสัตว์เลื้อยคลานที่น่ากลัว
ฟอสซิลไข่ไดโนเสาร์บอกอะไรเราบ้าง :





เทอรี่ แมนนิ่ง นักโบราณชีววิทยา ชาวอังกฤษได้ศึกษาโครงสร้างของเปลือกไข่ไดโนเสาร์เพื่อดูว่าไข่ใบไหนน่าจะมีตัวอ่อนอยู่ข้างใน เขาจึงนำไข่ใส่ลงในสารละลายกรดอะซิติกเจือจาง ปล่อยให้กรดค่อยๆกัดกร่อนหินรอบๆฟอสซิล เมื่อฟอสซิลกระดูกเริ่มปรากฎก็เติมพลาสติกเหลวลงไปให้ชุ่มทั่วฟอสซิล ตอนนี้จะมองเห็นฟอสซิลกระดูกเป็นชิ้นๆชัดเจนขึ้น ขั้นตอนทางเคมีนี้ใช้เวลากว่า 1 ปีทีเดียว
ทีมนักวทิยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนอร์ท รัฐไคโรไลนา ไดนำไข่ไดโนเสาร์ของเทอรี่ แมนนิ่ง 3 ใบ ไปทำการศึกษาต่อ จากผลการตรวจวิเคราาะห์ฟอสเฟตในกระดูกทำให้พบตัวอย่างก๊าซออกซิเจน จากบรรยากาศ เมื่อ 75 ล้านปีมาแล้ว เมื่อครั้งที่ไข่ใบนั้นถือกำเนิดขึ้น
สกัดดีเอ็นเอจากไข่ไดโนเสาร์ได้มั้ย
เชน ซางเหลียง นักชีววิทยาระดับโมเลกุล มหาวิทยาลัยปักกิ่ง สามารถสกัดดีเอ็นเอจากไข่ไดโนเสาร์ได้สำเร็จ แต่ความสำเร็จดังกล่าวยังเป็นที่ถกเถียงของนักวิทยาศาสตร์ พวกเขาตั้งข้อสังเกตว่า แม้จะสกัดดีเอ็นเอออกมาได้ แต่ยังไม่มีข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนว่ามันคือดีเอ็นเอของไดโนเสาร์
ไข่ไดโนเสาร์ใหญ่ที่สุด
Macroelongatoolithusxixiaensis เป็นชื่อของไข่ไดโนเสาร์ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่มีการค้นพบ ชื่อนี้บอกถึงลักษณะยาวรีของไข่ และแหล่งที่ได้ค้นพบ คือที่ราบลุ่มซิเซีย การตั้งชื่อให้ไข่ไดโนเสาร์ตั้งได้ก็ต่อเมื่อไม่พบตัวอ่อนอยู่ภายในและไข่ไม่มีความเกี่ยวพันกับไดโนเสาร์หรือสัตว์ที่เรารู้จักกันอยู่แล้ว สำหรับกฎเกณฑ์การตั้งชื่อไข่ จะดูจากขนาด รูปทรง ผิวและลักษณะของรูอากาศบนเปลือกไข่



โดย : นาย อภิเดช ลีนานนท์, โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย, วันที่ 25 พฤศจิกายน 2544


แหล่งอ้างอิง : www.google.com

โดย : เด็กชาย พีรพัฒน์ อุรุเหมานนท์, โรงเรียนสูงเนิน, วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2547