อัลเบิร์ด ไอน์สไตน์

ท้าวเทพกษัตรี

ท่านหญิงจันเป็นบุตรจอมร้างบ้านตะเคียนและนางหม่าเสี้ย ซึ่งเป็นชาวเมืองไทรบุรี ท่านมาลาน้อง 4 คน คือ มุก (ท้าวศรีสุนทร) หมา อาด และเรือง ท่านเกิดเมืองใดไม่ปรากฏ คาดว่าคงจะประมาณราวกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย

ท่านผู้หญิงจันได้สมรสกับหม่อมศรีภักดีภูธร บุตรจอมนายกองชาวนครศรีธรรมราช เจ้าเมืองตะกั่วทุ่งกับแม่ชีบุญเกิด ท่านมีบุตรกับหม่อมศรีภักดีภูธร 2 คน คือ ปรางและเทียน (ต่อมาได้เป็นพระภูเก็จ) (เทียน) และพระยาเพชรคีรีศรีพิชัยสงครามรามคำแหง (พระยากลาง) ต่อมาหม่อมศรีภักดีภูธรถึงแก่กรรม ท่านผู้หญิงจันและลูกๆกลับมาอยู่ที่บ้านตะเคียนกับบิดา-มารดาและได้สมรสใหม่กับพระยาพิรม (ขันธ์) เดิมเป็นพระกระ เจ้าเมืองกระบุรีได้มาช่วยราชการเมืองถลาง ได้เป็นพระยาพิรม (ขันธ์) มีบุตรด้วยกัน 5 คน คือ แม่ทองมา (ต่อมาได้นำไปถวายตัวได้เป็นจอมมารดาเจ้าครองอุบลในรัชกาลที่1) พ่อจุ้ย พ่อเนียม แม่กิม และแม่เมือง ในขณะที่พม่ายกกองทัพมาตีเมืองถลาง ท่านผู้หญิงจันถูกเจ้าหน้าที่ทางกรุงเทพฯเกาะกุมตัวไปที่ค่ายปากพระ เนื่องจากค้างค่าภาษีดีบุก เมื่อค่ายปากพระถูกพม่าตีแตกท่านผู้หญิงจันและพรรคพวกได้ฝ่าวงล้อมหนีกลับมารวบรวมผู้คนชาวถลางต่อสู้พม่าด้วยความสามารถจนปกป้องเมืองกันไว้ได้ พม่าต้องถอยทัพกลับไป เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ.2328 เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงทราบเรื่องราวอย่างละเอียดแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ท่านผู้หญิงจันเป็นท้าวเทพกษัตรี เป็นวีรสตรีผู้กล้าหาญ

ภาระกิจสำคัญที่ท่านได้ปฏิบัติอันสมควรแก่การยกย่องในฐานะวีรสตรีของชาติในภาวะเหตุการร์ต่างๆ ได้รุมล้อมอยู่ตลอดเวลา สืบเนื่องจากพระยาธรรมไตรโลก แม่ทัพใหญ่จากค่ายปากพระนำทหารมาเรื่องค่าภาษีที่ค้างอยู่ พระยาถลางก็ป่วยหนักจนไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาใดๆได้ เป็นเวลาเดียวกับข้าศึกจากพม่ายกกองทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้จะเข้าตีเมืองถลาง พร้อมกันนี้พระยาถลาง ซึ่งป่วยหนักอยู่ก็สิ้นชีวิตลงยังไม่ทันจัดพิธีศพฬห้สมควรแก่ฐานะก็ต้องหันมาคิดวิธีป้องกันเมือง ท่านผู้หญิงจันก็สามารถแก้ปัญหาต่างๆได้ด้วยความปรีชาสามารถ

นอกจากนี้หลังจากเสร็จศึกสงครามแล้ว เมืองถลางต้องประสบปัญหาความอดอยากแร้นแค้นเพราะพม่าทำลายข้าวของต่างๆไปเป็นจำนวนมาก ท้าวเทพกษัตรีและครอบครัวทำแร่ดีบุก อยู่ที่บ้านสะปำนำไปแลกข้าวสารมาเลี้ยงดูประชาชน นับได้ว่าท่านเป็นบุคคลที่อนุชนรุ่นหลังจะต้องเทิดทูนบูชา และระลึกถึงวีรกรรมของท่าน ได้กำหนดวันที่ 13 มีนาคม เป็นวันสำคัญของจังหวัด

 

แหล่งอ้างอิง www.google.com



แหล่งอ้างอิง : www.google.com

โดย : เด็กหญิง กุลวดี กิมเต๊ก, ร.ร.พนัสพิทยาคาร, วันที่ 18 กันยายน 2546