ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร

ประวัติท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร

ท้าวเทพกระษัตรี มีนามเดิมว่า "จัน" ส่วนท้าวศรีสุนทรมีนามเดิมว่า "มุก" เป็นบุตรีของเจ้าเมืองถลาง มีชื่อเรียกตามถิ่นที่ตั้งของเมืองถลางสมัยนั้นซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านตะเคียนว่า จอมร้างบ้านตะเคียน เมื่อเจริญวัยเป็นสาวได้สมรสครั้งแรกกับหม่อมศรีภักดี และเมื่อหม่อมศรีภักดีถึงแก่กรรม ได้กลับมาเมืองถลาง ได้สมรสใหม่กับพระพิมลอดีตเจ้าเมืองกระชุมพร ท้าวเทพกระษัตรีหรือท่านผู้หญิงจันนั้น เป็นสตรีที่มีความชาญฉลาดมีไหวพริบ และมีความกล้าเกินกว่าสตรีทั่วไปในยุคสมัยเดียวกัน ดังจะเห็นได้จากเหตุการณ์ที่พยายามรักษาสิทธิและเกียรติยศชื่อเสียงในฐานะทายาทของตระกูลเจ้าเมืองถลางไว้อย่างเต็มความสามารถ ในการเข้าเฝ้าครั้งนั้น ท้าวเทพกระษัตรีได้นำบุตรสาวชื่อ ทอง เข้าถวายตัวเป็นบาทบริจาริกาได้รับพระมหากรุณาให้เป็นเจ้าจอม ต่อมาได้มีพระราชธิดา ๑ องค์ พระนามว่า พระองค์เจ้าหญิงอุบล ส่วนบุตรชายคือ พระยาทุกขราษฎร์ได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยาเพชรคิรีศรีพิชัยสงครามรามคำแหง เจ้าเมืองถลาง และต่อมาได้เป็นผู้ช่วยเจ้าพระยาสุรินทราชา ผู้สำเร็จราชการ ๘ หัวเมือง เพื่อแบ่งเบาภาระอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย นอกจากนี้บุตรชายชื่อจุ้ย ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระยายกรบัตร บุตรชายชื่อเนียม ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กวังหลวง นับว่าท้าวเทพกระษัตรีสามารถทำหน้าที่ในการสร้างความสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่างอำนายการปกครองส่วนท้องถิ่นกับการปกครองส่วนกลาง โดยเฉพาะราชสำนักเป็นผลสำเร็จอย่างดียิ่ง นับว่าประวัติการต่อสู้ของวีรสตรีเมืองถลางคือ ท้าวเทพกระษัตรีและท้าวศรีสุนทร นั้น เป็นแบบอย่างที่แสดงให้เห็นว่าบทบาทของหญิงไทยนั้นต้องทำหน้าที่ทุกอย่างได้ทั้งในยามบ้านเมืองเป็นปกติหรือในยามคับขัน

 



แหล่งอ้างอิง : www.google.co.th

โดย : เด็กชาย ฉัตรดนัย อิทธิธนากร, ร.ร.พนัสพิทยาคาร, วันที่ 18 กันยายน 2546