เป็นภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษารัสเซีย ภาษาญี่ปุ่น องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติได้ประกาศยกย่องเกียรติคุณของท่านในฐานะเป็นบุคคลสำคัญของโลก
สุนทรภู่หรือพระสุนทรโวหารมีนามเดิมว่า ภู่ เกิดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๒๙บิดาเป็นชาวบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง มารดาเป็นพระนมของพระธิดาในกรมพระราชวังหลัง ได้เล่าเรียนวิชาหนังสือที่วัดชีปะขาว บัดนี้เรียกว่าวัดศรีสุดาราม อยู่ริมคลองบางกอกน้อย ต่อมาได้รับราชการในหน้าที่เสมียน ในกรมพระคลังสวน แต่ไม่ชอบทำงานอื่นนอกจากแต่งบทกลอน ซึ่งสามารถแต่งได้ดีตั้งแต่ยังรุ่นหนุ่ม
พ.ศ.๒๓๕๙ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สุนทรภู่ได้เข้ารับราชการในกรมอาลักษณ์ ได้เป็นขุนสุนทรโวหาร ระหว่างรับราชการต้องถูกจำคุกเพราะเมาสุราจรครองสติไม่ได้ ภายหลังพ้นโทษได้เป็นพระอาจารย์ถวายสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์ พระราชโอรสในรัชการที่ ๒
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สุนทรภู่ออกจากราชการและออกบวช เมื่อลาสิกขาแล้วถวายตัวอยู่กับพระองค์เจ้าลักขณานุคุณได้ปีหนึ่ง ครั้นเจ้านายพระองค์นั้นสิ้นพระชนม์ สุนทรภู่ก็ขาดที่พึ่งได้รับความลำบากมาก ต้องลอยเรืออยู่และแต่งหนังสือขายเลี้ยงชีวิตต่อมาจึงได้รับความอุปถัมภ์จากกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ พระราชธิดาในรัชการที่ ๓
พ.ศ.๒๓๙๔ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้กลับเข้ารับราชการสุนทรภู่ได้เป็นเจ้ากรมอาลักษณ์ ฝ่าพระราชวังบวร มีบรรดาศักดิ์เป็นพระสุนทรโวหาร
งานสุนทรภู่มีมากมายหลายประเภท คือ มีทั้งนิราศ เช่น นิราศพระบาท นิราศภูเขาทอง นิทานคำกลอน เช่น พระอภัยมณี โคบุตร ลักษณ์วงศ์ สุภาษิตคำกลอน เช่น เห่เรื่องจับระบำ เห่เรื่องกากี
สุนทรภู่ได้ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๘
แหล่งที่มา:หนังสือภาษาไทย