โมนาลิซ่า

ภาดวาดลิซ่า เดล กิโอคอนดา ของเลโอนาร์โด ดาวินชี
        และที่ฟลอเรนซ์นี่เอง ที่เลโอนาร์โด ได้วาดภาพอันมีชื่อเสียงมากอีกภาพหนึ่ง คือภาพ "โมนาลิซ่า" (Monalisa) ชึ่งเป็นภาพของลิซ่า เดล กิโอคอนดา (Lisa Del Gioconda) ภริยาของฟรานเซสโก้ เดล กิโอคอนดา เจ้าเมือง ฟลอเรนซ์ ภาพนี้ เลโอนาร์โด ใช้เวลาวาดถึง 4 ปีทีเดียวครับ โดยสลับกันไปกับการวาดภาพอื่นๆ ซึ่งทำให้มีการ สงสัยกันว่า ตัวจริงของลิซ่าที่แท้อาจไม่ได้ยิ้มอย่างนั้นจริงๆก็ได้ แต่ตัวเลโอนาร์โด เป็นผู้สร้างรอยยิ้ม มาจาก ภาพเขียนของเขาที่วาดให้แก่ เซซิเลีย กัลเลอรานิ (Cecilia Gallerani) ที่เป็นภรรยาลับของเขา เมื่อ ค.ศ.1484 ภาพนี้ถือกันว่าเป็นภาพพอร์เตรทที่ดีที่สุดในโลก ภาพนี้เป็นภาพที่น่าศึกษาอย่างยิ่งในเรื่องแสงเงา กายวิภาคและ เทคนิค ต่างๆ ในการสร้างที่ว่าง (Space) ซึ่งทำให้ภาพนี้มีความสมดุล และกลมกลืนกันอย่างหาที่ติไม่ได้ เรา อาจสงสัยว่า ทำไมภาพนี้จึงเป็นภาพปริศนาที่ใครๆมองแล้วจะต้องฉงนสนเท่ห์ จากรูปเธอกำลังนั่งมอง ออกมาจาก ภาพเพื่อสบตากับคนดู บรรยากาศใต้แสงเงาสลัวๆ เลโอนาร์โด ได้เน้นถึงแสงสว่างบนใบหน้า หน้าอกและมือ ของเธอ ส่วนที่ขอบตาและริมฝีปากนั้น เขาใช้การแรเงาให้เนื้อหนังดูกลมกลืนกัน เพื่อสร้างความรู้สึกและ อารมณ์ ให้แก้คนดู จากจุดนี้เองที่นับว่าเป็นเทคนิคแบบใหม่ของเลโอนาร์โด เมื่อเราลองพิจารณาใบหน้าของ Monalisa อย่างละเอียด เราไม่สามารถจะบอกได้เลยว่าเธอกำลังจะยิ้ม หัวเราะ หรือร้องไห้กันแน่ คนที่ดูภาพ นี้จะเกิด จินตนาการ ต่างๆ ในการจะสร้างความรู้สึกหรืออารมณ์เข้าไปในภาพด้วย ปัจจุบันนี้ภาพอยู่ที่ พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ต่อมาเลโอนาร์โด ได้วาดภาพ ลีด้ากับหงส์ (Leda and The Swan) และ แม่พระกับพระบุตร และ เซนต์แอนน์ (Virgin and Child with St. Ann) และเมื่อเขากลับมายังมิลานในค.ศ.1516 ก็ได้รับว่าจ้างให้เขียนภาพ ของพระเจ้าฟรานซิสที่ 1 แห่งฝรั่งเศษ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นอัจฉริยะของเลโอนาร์โด เพราะภาพเขียนทุกภาพ ในช่วงนี้เขาใช้มือซ้ายเขียนขึ้นทั้งหมด เนื่องจากเขาเป็นอัมพาตมือขวาเสีย ไม่ว่าจะเป็นการร่างแผนผังเมืองต่างๆ วางโคลงการขุดทอง รวมถึงภาพวาดชิ้นสุดท้ายคือ นักบุญจอห์นแบบทิสต์ เลโอนาร์โด ดา วินชี ถึงแก่กรรมเมื่อ ค.ศ.1519 ที่ในประเทศฝรั่งเศษ อายุได้ 63 ปี วันและเดือนที่เขาตายไม่ปรากฏแน่ชัด ตามพินัยกรรมของเขา ที่ทำไว้เมื่อ ค.ศ.1517 ให้ศิษย์รักชาวมิลานชื่อ เมลซี เป็นผู้จัดการมรดกของเขา แบ่งมรดกให้แก่เหล่าศิษย์ และ น้องๆผู้ที่เกลียดชังเขา เมลซีเป็นผู้ที่ได้บทความต่างๆที่เขาเขียนและเครื่องมือเขียนภาพ หนังสือต่างๆที่เขาเขียน นั้น เมื่อสิ้นชีวิต เมลซี ในระยะเวลาต่อมาอีกเกือบ 50 ปี ก็กระจัดกระจายไปอยู่ตามที่ต่างๆ เช่นตกอยู่แก่หอสมุด เมืองมิลานก็มี ที่ปารีสก็มี และที่พระเจ้าชาร์ลที่ 1 แห่งอังกฤษซื้อไปบ้างก็มี ซึ่งทางอังกฤษได้เก็บรักษา ไว้ใน พระราชวัง วินเซอร์
จบบริบูรณ์

โดย : เด็กหญิง ไอยรดา กาญจนางกูรพันธุ์, โรงเรียนพนัสพิทยาคาร, วันที่ 15 กันยายน 2546