มาลาวี
มาลาวี เป็นรัฐอาฟริกันดำ ตั้งอยู่ทางตะวันตกของทะเลสาบมาลาวี ทิศเหนือติดทันซาเนีย ตะวันออกและใต้ติดโมซัมบีค ตะวันตกติดโมซัมบีคและแซร์เมืองหลวงชื่อซอมบ้า
พื้นที่ประเทศ 45,747 ตารางไมล์ (0.23 เท่าของไทย)
ในคริสตศตวรรษที่ 15 มีคนท้องถิ่นเดินลงมาตั้งถิ่นฐานลงในภาคกลางและภาคใต้ของประเทศ (จักรวรรดิ์มาลาวี) ค้าขายทอง งาช้างและทาสกับโปรตุเกศและคนเผ่ายาโอ ในตอนต้นศตวรรษที่ 19 นักรบยาโอและพ่อค้าอาหรับรุกรานคนเผ่ามาลาวีเพื่อเอาตัวมาเป็นทาส ภายหลังนักรบโงนิเข้ามาทางใต้และสามารถเข้าครองภาคเหนือ และตะวันตกของมาลาวีอย่างรวดเร็ว
มิชชันนารีผู้ยิ่งใหญ่ชาวสกอต คือเดวิด ลีวิงสโตนผ่านมาลาวีในปี 1856 (2399) รู้สึกหวาดหวั่นต่อการเอาประโยชน์จากคนท้องถิ่นอย่างโหดรร้ายทารุณของอาหรับ เขารายงานต่อประชาชนบริติชเพื่อให้ช่วย บำบัดแผลเปิดของโลก ในปี 1875 (2418) มิชชันนารีและพ่อค้าชาวสกอตจึงมาตั้งอยู่ในบริเวณนี้ ปี 1891 (2434) บริติชจึงตั้งรัฐอารักขารู้จักกันภายหลังปี 1893 (2436) ว่ารัฐอารักขาอาฟริกากลางของอังกฤษ
ในปี 1904 (2447) บริเวณนี้เป็นอาณานิคมของบริติช เปลี่ยนชื่อเป็นนยาซาแลนด์ในปี 1907 (2450) ปี 1915 (2458) จอห์น ชิเลมบาเว ซึ่งเป็นคริสเตียนที่กระตือรือร้นนำคนต่อต้านการเกณฑ์ทหาร แต่ก็ถูกปราบลงได้ นยาซาแลนด์มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมเล็กน้อยระหว่างสงคราม
ในปี 1953 (2496) ประเทศนี้รวมกับโรนีเซียเหนือและโรนีเซียใต้เป็นสหพันธ์ทางอาฟริกากลาง ในปี 1958 (2501) นยาซาแลนด์ซึ่งไม่ชอบสหพันธ์ที่คนขาวเป็นใหญ่ เรียก
ฮาสติงก์ บันดา มาจากต่างประเทศที่เขามีอาชีพเป็นหมอมา 20 ปี ให้กลับบ้าน ปีต่อมามีการจลาจลขึ้น บันดาถูกจับและห้ามการมั่วสุมประชุมกัน แต่นักชาตินิยมเติบโตขึ้นบันดาได้รับการปลดปล่อยในปี 1960 (2503) แล้วนยาซาแลนด์ก็ได้เป็นเอกราชในนามของมาลาวี
ดร.บันดา เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศใหม่ ถึงปี 1770 (2313) ก็ได้เป็นประธานา
ธิบดีตลอดชีวิต เขาสามารถเอาตัวรอดจากความไม่สงบ และทำให้อำนาจการปกครองเด็ดขาดเข้มขึ้น ประกาศเป็นรัฐที่มีพรรคเดียว หัวหน้าอาฟริกาดำตำหนิเขาที่มีสัมพันธ์กับอาฟริกาใต้ และโรนีเซีย แต่บันดาสงสัยการสนับสนุนนักการเมืองมาลาวีที่หนีไปต่างประเทศของทันซาเนียและแซมเบีย