การแบ่งยุคประวัติศาสตร์

 

หลักเกณฑ์ในการแบ่งสมัยทางประวัติศาสตร์

การศึกษาเรื่องราวในประวัติศาสตร์ สามารถจัดแบ่งช่วงได้เป็น 2 ช่วง ได้แก่ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และ สมัยประวัติศาสตร์ สำหรับดินแดนประเทศไทยเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์เมื่อพุทธศตวรรษที่ 11 โดยใช้อายุของตัวอักษรบนจารึกซึ่งพบจากเมืองโบราณที่ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์เป็นหลัก โดยแต่ละสมัย นักวิชาการจะใช้หลักฐานในการศึกษาแตกต่างกัน ดังนี้

  1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นสมัยที่มนุษย์ยังไม่มีตัวอักษรสำหรับบันทึกเรื่องราว การศึกษาถึงร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในช่วงนี้จึงจำเป็นต้องอาศัยการวิเคราะห์ตีความจากหลักฐานชั้นต้นที่ได้จากการสำรวจทางโบราณคดี เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ ที่ทำด้วยหิน โลหะ เครื่องประดับ เครื่องปั้นดินเผา โครงกระดูก เมล็ดพืช ภาพเขียนสีตามผนัง เป็นต้น
  2. สมัยประวัติศาสตร์ เป็นช่วงที่มีตัวอักษรใช้บันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆแล้ว การศึกษาประวัติความเป็นมาของชุมชนในสมัยประวัติศาสตร์ นักวิชาการจึงใช้ทั้งจากหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น จารึก จดหมายเหตุ เป็นต้น และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น เจดีย์ ปราสาทหิน วัด พระพุทธรูป เงินเหรียญ เป็นต้น มาเป็นข้อมูลสำหรับวิเคราะห์ตีความเพื่อให้ทราบเรื่องราวความเป็นมาในอดีตให้ชัดเจนยิ่งขึ้น


แหล่งอ้างอิง : หนังสือประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานประเทศไทย

โดย : เด็กชาย กิรัณ อังคณาวิศัลย์, โรงเรียนพนัสพิทยาคาร, วันที่ 10 กันยายน 2546