header
สมเด็จพระศรีสุริโยทัย
ประวัติ
สมเด็จพระศรีสุริโยทัย เป็นพระมเหสีของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ ( พระนามเดิมว่า พระเทียรราชา ) มีพระราชโอรสและพระราชธิดา รวม 5 พระองค์ เท่าที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ คือ พระราเมศวร พระมหินทราธิราช พระวิสุทธิกษัตริย์ พระเทพกษัตริย์
วีรกรรมที่สำคัญ
หลังจากที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์เสด็จขึ้งครองราชย์ไม่นานนัก พระเจ้าหงสาวดีตะเบ็งชะเวตี้ทราบข่าวการผลัดเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ จึงคิดจะเข้ามาโจมตี เพราะคิดว่ากรุงศรีอยุธยาคงไม่ทันตั้งตัว และกองทัพคงไม่เข้มแข็งพอ พระเจ้าหงสาวดีตะเบ็งชะเวตี้ได้คุมกำลังพลประมาณ 3 แสนคน ยกเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ เมื่อเห็นพม่ายกทัพใหญ่เข้ามา สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ได้ออกไปตั้งทัพรอข้าศึกที่ทุ่งภูเขาทอง และด้วยความเป็นห่วงพระสวามีและรู้ว่าศึกครั้งนี้คงใหญ่หลวงนักเพราะทางฝ่ายพม่ามีกำลังมากกว่าสมเด็จพระศรีสุริโยทัยจึงปลอมพระองค์เป็นชายโดยมีพระราเมศวร และ พระมหินทราธิราชพระราชโอรสตามเสด็จไปในกองทัพครั้งนี้ด้วย พระเจ้าแปรแม่ทัพฝ่ายพม่าซึ่งตั้งค่ายอยู่ที่ทุ่งมะขามหย่องได้ล่อให้กองทัพของไทยเข้ามาในวงล้อมแล้วซุ้มโจมตีจนกองทัพไทยแตกกระเจิงไม่เป็นขบวน ในขณะเดียวกัน พระเจ้าแปรเห็นว่ากำลังได้เปรียบจึงไสช้างเข้ารุกไล่ ช้างของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์อย่างกระชั้นชิด สมเด็จพระศรีสุริโยทัยเห็นพระสวามีเสียทีแก่ข้าศึกเกรงว่าพระสวามีจะได้รับอันตรายด้วยน้ำพระทัยที่เด็ดเดี่ยวกล้าหาญและด้วยความรักจึงรีบไสช้างพระที่นั่งเข้าไปขวางศัตรูอย่างรวดเร็วเป็นจังหวะเดียวกับที่พระเจ้าแปรใช้พระแสงของ้าวฟันถูกพระอังสะขาดสะพายแล่งสิ้นพระชนม์บนคอช้าง
พระราเมศวรและพระมหินทราธิราชพระราชโอรสได้ฝ่าวงล้อมของทหารพม่าเข้าไปช่วยกันนำพระศพของสมเด็จพระศรีสุริโยทัยออกจากสนามรบสู่พระนครแล้วจึงอัญเชิญพระศพไปไว้ที่ตำบลสวนหลวง เขตวัดสบสวรรค์ ซึ่งอยู่ในเขตพระราชวังหลัง จ.พระนครศรีอยุธยา แล้วถวายพระเพลิงพระศพสมเด็จพระศรีสุริโยทัยอย่างสมเกียรติ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ทรงเสียพระทัยมาก จึงโปรดฯ ให้จัดสร้างเจดีย์ศรีสุริโยทัย ซึ่งเป็นพระเจดีย์ย่อเหลี่ยมไม้สิบสององค์ใหญ่ขึ้นไว้เป็นอนุสรณ์ ถึงวีรกรรมแห่งความกล้าหาญและความจงรักภักดี ณ ตรงที่พระราชทางเพลิงศพ ในพระเจดีย์แห่งนี้ได้บรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระศรีสุริโยทัยไว้ และ ยังได้สร้างวัดไว้เป็นอนุสรณ์อีกแห่งหนึ่งมีชื่อว่า “ วัดสวนหลวงสบสวรรค์ ” ( ปัจจุบันอยู่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา )
แหล่งที่มา
จากหนังสือ ประวัติบุคคลสำคัญ
อ้างอิง
จากหนังสือ ประวัติบุคคลสำคัญ


 

 

คลิกเพื่อเพิ่มข้อความ


แหล่งอ้างอิง : จากหนังสือ ประวัติบุคคลสำคัญ

โดย : เด็กหญิง ชรินทร ผ่องกมลกุล, ทุ่งขวาง, วันที่ 10 กันยายน 2546