ลิเก

         ลิเก
         ลิเก คือการมหรสพอย่างหนึ่งมาจาก ชวา มลายู มักแสดงเรื่องจักรๆ วงศ์ๆ มีบทเจรจาสลับกับการร้อง บางทีเรียกว่า ยี่เก ก็มี
         คำว่า ลิเก มีผู้สันนิษฐานว่ามาจาก ชิเกร์ หรือดิเกร์ในภาษามลายู ซึ่งมีความหมายว่า การสวดบูชาพระของศาสนาอิสลาม
         ลิเก ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในประเทศไทย เมื่อต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีการแสดงเป็นชุดๆ เช่น
         ชุดแรก เรียกว่าชุดแขกเปิดโรงรดน้ำ ใช้ในพิธีเบิกโรงลิเกในสมัยต่อมา
         ชุดที่สอง  มีคนไทยออกมาเจรจากับแขก
         ชุดที่ 3  มีการแสดงเป็นภาษาต่าง ๆ ที่เรียกว่า "ออกสิบสองภาษา"

         ลิเกได้มีการพัฒนามาเรื่อย ๆ จนได้รับความนิยมอย่างสูงสุดในประเทศไทย  มักใช้แสดงในพิธีต่าง ๆ เช่น พิธีศพ  พีธีอุปสมบท และงานพิธีแก้บนต่าง ๆ
         ตนตรีที่ใช้สำหรับการแสดงลิเกใช้ปี่พาทย์เครื่องห้าเป็นพื้นฐาน  แต่อาจใช้ดนตรีอื่น ๆ ประกอบด้วย  กลอง  ทับ  ฆ้อง  ฉิ่ง  เป็นต้น
         ศิลปะในการแสดงลิเกนั้นจะต้องประกอบด้วยองค์  3  คือ  มีเครื่องแต่งกายงดงาม  ดำเนินเรื่องได้รวดเร็ว  และมีบทตลกแทรก



แหล่งอ้างอิง : ฉันทัส ทองช่วย. 2536. ภาษาและวัฒนธรรมภาคใต้. โอเดียนสโตร์ : กรุงเทพฯ. 333 หน้า.

โดย : เด็กชาย สุรศักดิ์ ศิริรักษ์ภักดี, โรงเรียนกระแสสินธุ์วิทยา, วันที่ 6 กันยายน 2546