ประวัติพระยาชัย
พระยาพิชัยดาบหัก เดิมชื่อ จ้อย เกิดที่บ้าน ห้วยคา อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๘๔ ในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา ศึกษาอยู่กับท่านพระครูวัดมหาธาตุหรือวัดใหญ่ เมืองพิชัย ภายหลัง จ้อยได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นทองดี หรือ ทองดีฟันขาว มีความสามารถทั้งทางเชิงมวยและเชิงดาบ เข้ารับราชการกับพระเจ้าตากสิน ตั้งแต่ครั้งดำรงตำแหน่งเป็นพระยาตาก ต่อมานายทองดีได้รับ แต่งตั้งเป็นองค์รักษ์มีบรรดาศักดิ์เป็น " หลวงพิชัยอาสา"
การแสดง
ตากนายทองดีได้รู้จักกับพระยาตากในงานรื่นเริงเนื่องในพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา พระยาตากพอใจในการใช้ท่าต่อสู้ที่พลิกแพลงด้วยไหวพริบของนายทองดี จนสามารถเอาชนะครูมวยที่ชื่อห้าวได้ พระยาตากสนับสนุนให้นายทองดีเข้ารับราชการจนได้บรรดาศักดิ์เป็นหลวงพิชัยอาสา ต่อมาในปี พ.ศ.2301 เกิดเหตุวุ่นวายขึ้นหลวงพิชัยอาสามีโอกาสติดตามพระยาตากไปทำสงครามด้วยความกล้าหาญ จนเมื่อพระยาตากขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ จึงโปรดเกล้าฯเลื่อนบรรดาศักดิ์ให้เป็น
พระยาสีหราชเดโชและพระยาพิชัยตามลำดับและทรงมอบหน้าที่ ให้คุมทหาร 9,000 คน มารักษาการเมืองพิชัยและมอบอำนาจให้ประหารชีวิตคนได้ และแต่งตั้งให้เด็กบุญเกิดเป็นหมื่นหาญณรงค์ เมื่อไปอยู่เมืองพิชัย พระยาพิชัยได้แสดงความกตัญญูโดยอุปการะเลี้ยงดูมารดาตนเป็นอย่างดี และนำข้าวของเงินทองไปตอบแทนพระคุณครูมวยทั้ง 2 คน พร้อมทั้งแต่งตั้งให้เป็นกำนัน ในปีนั้นพม่าได้ยกทัพมาตีเมืองสำคัญทางภาคเหนือตามความคาดหมายของพระเจ้ากรุงธนบุรี พระยาพิชัยและหมื่นหาญณรงค์ เข้าต่อสู้ศึกด้วยความสามารถ และหมื่นหาญณรงค์ต้องถูกฟันเสียชีวิตเนื่องจากเอาตัวเข้าป้องกันพระยาพิชัยไว้ พระยาพิชัยตกใจและโกรธพม่ามากจึงได้ใช้ดาบไล่ฆ่าฟันพม่าจนดาบหัก แต่ก็ยังคงใช้ทั้งดาบดีและดาบที่หักรุกไล่ฆ่าฟันพม่าจนแตกพ่ายไป ตั้งแต่นั้นมาพงศาวดารก็เรียกท่านว่า พระยาพิชัยดาบหัก ภายหลังเมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จสวรรคตแล้ว พระยาพิชัยก็ได้กราบบังคมทูลลาออกจากราชการ แต่บุตรหลานของท่านยังคงรับราชการในราชวงศ์จักรีสืบมาด้วยความจงรักภักดี จนถึงสมัยรัชกาลที่ 6 ผู้ที่สืบเชื้อสายของท่านก็ได้รับ
พระราชทานนามสกุลว่า วิชัยขัทคะ
|