กระชายดำ

www.doa.go.th/home/agro-tourism/ phetburi/phetburi.html

กระชายดำ  หนึ่งในพืชสมุนไพรยอดฮิตติดอันดับที่ถูกนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อบริโภคนานาชนิด  ทั้ง น้ำสมุนไพรกระชายดำ  ไวน์กระชายดำ  กระชายดำอัดเม็ด  เลยไปถึงกาแฟสมุนไพรกระชายดำฯลฯ

  ยิ่งรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนส่งเสริมให้มีการนำสมุนไพรมาแปรรูป  เป็นผลิตภัณฑ์ในโครงการหนึ่งตำลบหนึ่งผลิตภัณฑ์  ทุกวันนี้เวลาเดินทางไปไหนต่อไหน  จึงเห็นผลิตภัณฑ์จากกระชายดำ  วางขายกันอย่างแพร่หลาย  เต็มไปหมด

  อย่างไรก็ตาม  ยังคงมีคำถามมากมายเกี่ยวกับสรรพคุณของชาย เช่น กินแล้วทำให้แข็งแรง  กระปรี้กระเปร่า ป้องกันโรคหลายชนิดรวมไปถึงความเชื่อที่ว่า

  สมุนไพรชนิดนี้  สามารถเพิ่งพลังทางเพศได้จริงหรือ

  เพื่อให้ทราบคำตอบถึงสรรพคุณที่แท้จริงของสมุนไพรกระชายดำ  สถาบันวิจัยสมุนไพร  กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  จึงได้ทำการศึกษาและทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันของกระชายดำ  โดยเริ่มการนำกระชายดำที่บดเป็นผงมากรอกให้กันสัตว์ทดลองกิน  ขนาดครั้งละ 6.67 กรัม  ต่อนำ้หนักตัวหูน 1 กิโลกรัมวันละ 2 ครั้ง  ต่อเนื่องกัน 14 วัน

  ผลการทดสอบ ปรากฎว่าไม่พบอาการพิษใด ๆ ในสัตว์ทดลอง และไม่มีหูนแม้แต่ตัวเดียวที่ตายจากการกินกระชายดำ

  ในทางตรงกันข้ามกลับพบผลการศึกษาว่า กระชายดำสามารถต้านการอักเสยในสัตว์ได้ด้วย

  ทั้งนี้  จาการผ่าซากสตัว์ชันสูตร  ไม่พบพยาธิสภาพของอวัยวะภายในที่มองเห็นด้วยตาเปล่า  ทำให้สถาบันฯสามารถสรุปผลการวิจัยในเบื้องต้นได้ว่า  ขนาดของตัวอย่างที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่ง  หรือเรียกว่า LD50  ควรมีค่ามากกว่า 13.33 กรัมต่อนำ้หนักตัวหูน 1 กิโลกรัม

แต่แม้ว่าผลการวิจัยในเบื้องต้นจะออกมาว่า  ไม่มีอันตรายใด ๆ ในการบริโภคกระชายดำ  แต่ถ้าจะให้ดีผู้บริโภคควรที่จะศึกษาถึววิธีใช้  ขนาดการกินและข้อควรระวัง  และควรใช้เท่าที่จำเป็น  ไม่ควรใช้ติดต่กันเป็นเวลานาน ๆ เพราะขณะนี้การวิจัยของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  ยังอยู่ระหว่าการศึกษาถึงพิษในระยะยาว  และการทดสอบพิษเรื้อรัง  รวมไปถึงการควบคุมปริมาณของสาระสำคัญที่เป็นสารออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระให้อยู่ในปริมาณที่กำหนด  ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เขาบอกว่า  ต้องใช้เวลาในการศึกษาและทดสอบประมาณ12 เดือน

  เอาเป็นว่า   ผลการศึกษาวิจัยขณะนี้  กระชายดำ  ยังคงถือว่าเป็นพืชสมุนไพรที่ไม่อันตราย  หากบริโภคในปริมาณที่พอเหมาะพอควร

  แต่จะมรสรรพคุณมหัศจรรย์ขนาดเพิ่มพลังฟิตปึ๋งปั่งได้หรือไม่  ต้องติดตามตอนต่อไป!


ที่มา : ทีมข่าวสาธารณสุข/ไทยรัฐ วันเสาร์ที่ 29มีนาคม2546

โดย : นางสาว แววดาว เจ็ดคำ, -, วันที่ 5 เมษายน 2546