ผลของการนวด

การนวดมีผลต่อระบบต่าง ๆ ดังนี้

1. ต่อระบบไหลเวียนของโลหิต

                - การคลึงทำให้เลือดถูกบีบออกไปจากบริเวณที่นวด และมีเลือดใหม่มาแทนที่ ช่วยในการไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลือง

                - สำหรับการบวม การคลึงจะทำให้บริเวณที่มีอาการบวมนิ่มลงได้ ทำให้การบวมลดลงแต่ไม่ควรทำในกรณีที่มีการอักเสบ

                - บริเวณที่นวดจะมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น

2. ต่อระบบกล้ามเนื้อ

               - ทำให้กล้ามเนื้อมีประสิทธิภาพดีขึ้น เนื่องจากมีเลือดมาเลี้ยงมากขึ้น

               - ช่วยให้การขจัดของเสียในกล้ามเนื้อดีขึ้น กล้ามเนื้อเมื่อยล้าน้อยลงหลังจากการใช้งาน

               - ทำให้กล้ามเนื้อหย่อนลง ผ่อนคลายความเกร็ง

               - ในกรณีที่มีพังผืดเกิดขึ้นภายในกล้ามเนื้อ การคลึงจะทำให้ผ่อนตัวลง ทำให้กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นดีขึ้น และอาการเจ็บปวดลดน้อยลง

3. ต่อผิวหนัง

               - ทำให้เลือดมาเลี้ยงผิวหนังมากขึ้น ทำให้ผิวเต่งตึง

               - ยาดูดซึมได้ดีขึ้นทางผิวหนัง ภายหลังการนวดที่นานพอสมควร

               - การคลึงในกรณีที่มีแผลเป็น (ซึ่งเกิดจากเนื้อเยื่อพังผืดงอกแทนผิวหนังเดิม) ช่วยให้เลือดไหลเวียนในบริเวณนั้นมากขึ้น ทำแผลเป็นอ่อนตัวเล็กลงไป

4. ต่อระบบทางเดินอาหาร

               - เพิ่มความตึงตัวของระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ กระเพาะอาหารและลำไส้

               - เกิดการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้เจริญอาหารท้องไม่อืดเฟ้อ

5. ต่อจิตใจ

               - ทำให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย สบายกาย สบายใจ

               - ทำให้รู้สึกสดชื่นกระฉับกระเฉง

               - ลดความเครียด

               - ทำให้เกิดความอบอุ่นใจ โดยเฉพาะในกรณีที่สมาชิกในครอบครัวช่วยนวดให้กันและกัน



แหล่งอ้างอิง : พิศิษฐ เบญจมงคลวารี : นวดไทยเพื่อสุขภาพ เล่ม 1 : กรุงเทพ ฯ : หมอชาวบ้าน, 2545

โดย : นางสาว พรวิจิตร ชาติชำนาญ, โรงเรียนคอนสารวิทยาคม, วันที่ 18 พฤศจิกายน 2545