การอ่าน

การอ่าน

    การอ่าน เป็นทักษะหนึ่งที่มีความสำคัญมาก การอ่านทำให้เกิดปัญญาและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ช่วยให้พัฒนาตนเอง และรู้จักปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข นอกจากนี้การอ่านยังช่วยให้เกิดความเพลิดเพลิน อารมณ์ผ่อนคลายความเครียดที่เกิดจากกิจการงานต่างๆ ดังนั้นการอ่านจึงมิได้เพียงแต่อ่านเป็น แต่อ่านแล้วนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ประเภทของการอ่าน แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

   1. การอ่านออกเสียง คือ การเปล่งเสียงถ้อยคำหรือเครื่องหมายต่างๆที่เขียนไว้ออกมา ให้ชัดถ้อยชัดคำและให้เป็นที่เข้าใจแก่ผู้ฟัง

   2.การอ่านในใจ คือ การแปลความหมายของตัวอักษรออกมาเป็นความคิด และนำความคิดนั้นไปใช้ประโยชน์

การอ่านทำนองเสนาะ

1.การอ่านกาพท์ยานี กาพท์ยานี 11 จะมีจำนวนคำบาทหนึ่ง 11 พยางค์ แบ่งเป็นสองวรรค

วรรคหน้า 5 วรรคหลัง 6 ในการอ่านควรเว้นจังหวะคำดังนี้

    0 0 / 0 0 0            0 0 0 / 0 0 0

    มัสมั่น / แกงแก้วตา    หอมยี่หร่า / รสร้อนแรง

ชายใด / ได้กลืนแกง       แรงอยากให้ / ใฝ่ฝันหา

2.การอ่านกลอนสุภาพ จำนวนคำของกลอนสุภาพในแต่ละวรรคจะมีจำนวนตั้งแต่ 6 ถึง 9 คำ แต่ทั่วไปจะมีเพียง 8 คำ ในการอ่านควรเว้นจังหวะดังนี้

     0 0 0 / 0 0 / 0 0 0    0 0 0 / 0 0 / 0 0 0

  จันทร์กระจ่าง / กลางฟ้า / เวหาหน   พื้นอำพน / นภางค์ / เหมือนอย่างเขียน

ชมดารา / ในอากาศ / ดูดาษเดียร   พิศเพี้ยน / เพชรพลอย / นับร้อยพัน

3.การอ่านโคลงสี่สุภาพ ประกอบด้วยบทหนึ่งมี 30 คำ หรืออาจมีได้ถึง 34 คำ แบ่งออกเป็นสี่บาท

บาทหนึ่งแบ่งออกเป็น 2 วรรค ในการอ่านควรเว้นจังหวะดังนี้

    0 0 / 0 0 0       0 0 / ( 0 0 )

  ราชัน / ทรงฝึกทั้ง          กระบวนการ

เทคนิค / ขั้นตอนชาญ     เชี่ยวซ้อม

แกะแบบ / แม่พิมพ์งาน    เทหล่อ / รูปเฮย

ปั้นแต่ง / ประดับพร้อม     ผลิต / ได้งดงาม

   นี่เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของการอ่านทำนองเสนาะ ดังนั้น การอ่านเราควรที่จะอ่านให้ถูกต้อง โดยเฉพาะภาษาของเราเองก็ คือ ภาษาไทย



แหล่งอ้างอิง : หนังสือเรียนภาษาไทย ม. 4 , หนังสือร้อยกรองกาญจนาภิเษก

โดย : นาย ธรรมนูญ เหลืองอ่อน, โรงเรียนพนัสพิทยาคาร, วันที่ 7 พฤศจิกายน 2545