การเลือกซื้อ CD-ReWrite

 

เรื่องน่ารู้ก่อนเลือกซื้อ

 CD-Recorder ช่วยให้สามารถบันทึกข้อมูลลงในแผ่น CD-R และ CD-RW ขึ้นอยู่กับ วัตถุประสงค์ในการใช้งานของคุณ

 CD-R หรือ CD-Recorder คือแผ่นซีดีที่สามารถบันทึกข้อมูลได้ครั้งเดียวแต่เมื่อบันทึกลงไปแล้วข้อมูลนั้นก็อยู่บนแผ่นอย่างถาวรไม่สามารถลบออกเพื่อบันทึกซ้ำใหม่อีก ในปัจจุบัน CD-R เป็นที่ นิยมอย่างแพร่หลายเพราะมีราคาไม่แพงและสามารถเก็บข้อมูลไว้เปิดดูได้นาน

 CD-RW หรือ CD- Rewritable คือแผ่นซีดีที่สามารถบันทึกข้อมูลซ้ำลงบนแผ่นแบบนี้ได้หลายครั้ง ( อาจ มากถึง 1,000ครั้ง ) ราคาจะแพงกว่า CD-R แต่ก็ตอบสนองการใช้งานได้มากกว่าเพราะสามารถเลือกบันทึกหรือลบข้อมูลออกจากแผ่น CD ได้ในครั้งเดียว หรืออาจเลือกบันทึกหรือลบเพียง บางส่วนก็ได้

เครื่องเขียนแผ่น CD มีด้วยกัน 2 รูปแบบ  ดังนี้

 1. รูปแบบติดตั้งภายในเครื่อง ( Internal ) เป็นรูปแบบที่นิยมใช้งานมากที่สุดและมีราคาที่ต่ำกว่าแบบติดตั้งภายนอกเครื่อง โดยที่จะติดตั้งเข้าไปในช่องใส่ เครื่องเล่น CD ที่เป็นช่องว่างภายใน Case คอมพิวเตอร์อีกทีหนึ่ง สำหรับ เครื่องเขียนแผ่น CD แบบ Internal นี้ยังมีให้คุณ เลือกใช้งานอีก 2 รูปแบบ ตามลักษณะการต่อเชื่อม นั่นคือ

 การต่อเชื่อมผ่าน IDE Interface เป็นระบบการต่อเชื่อมความเร็วสูง ซึ่งเป็นมาตรฐานเดียวกันกับการเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์ เข้ากับเมนบอร์ดนั่นเอง และเป็นรูปแบบที่คุ้นเคยมากที่สุด เพราะมันแทบจะเป็นมาตรฐานไปเสียแล้วกับ PC ทุกเครื่อง ที่ CD-ROM จะถูกต่อเชื่อมผ่าน IDE Interface อย่างไรก็ตาม ถ้าเทียบกับ SCSI แล้วจะพบว่า รูปแบบ IDE นี้ ยังมีข้อด้อยในเรื่องของความเร็ว ที่ต่ำกว่า แต่ IDE ก็มีราคาที่ถูกกว่า
 การต่อเชื่อมผ่าน SCSI Interface เป็นระบบต่อเชื่อมสำหรับมืออาชีพ เพราะราคาที่แสนแพงและการติดตั้งที่ค่อนข้างยุ่งยากที่จำเป็นจะต้องติดตั้ง การ์ด SCSI ลงบนระบบของคุณเสียก่อนอย่างไรก็ตาม ข้อดีที่เห็นได้เด่นชัดนั่นคือ รูปแบบนี้ให้ความเร็วที่เหนือกว่ารูปแบบ IDE อย่างเห็นได้ชัด ช่วยให้การเขียนแผ่น CD ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
 ข้อดี INTERNAL : ให้ความเร็วในการทำงานที่ดีผ่านการต่อเชื่อม IDE หรือ SCSI Interface และมีเสถียรภาพในการทำงานที่ดีอีกทั้งยังมีราคาไม่แพงนัก เนื่องจากเป็นรูปแบบที่นิยมใช้งานกันมากที่สุด  
 ข้อด้อย : การติดตั้งค่อนข้างลำบาก ทำให้ผู้ใช้งานมือใหม่อาจจะต้องพึ่งพาช่างเทคนิค

 2. รูปแบบติดตั้งภายนอก ( External ) เป็นรูปแบบที่มีความยืดหยุ่นมากที่สุด นั่นเพราะสามารถพกพาเครื่องเขียนแผ่น CD นี้ไปไหนต่อไหนได้อย่างสะดวกแถมยังติดตั้งได้อย่างง่ายดาย โดยที่มีทางเลือก สำหรับการต่อเชื่อม ได้ 2 รูปแบบ คือ

 การต่อเชื่อมผ่าน USB Port  เป็นรูปแบบการต่อเชื่อมภายนอกที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะถือเป็น Port มาตรฐาน ที่พบในเครื่อง PC แทบจะทุกเครื่องอีกทั้งคุณไม่ต้องกังวลเรื่องการต่อเชื่อม เพราะ USB Port รองรับการทำงาน แบบ Plug and Play เพียงแค่ต่อเชื่อมระบบเข้าไปเครื่องก็จะรับรู้ได้ทันที อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่ารูปแบบนี้จะแพร่หลายมากกว่าแต่ก็ยังมีความเร็วที่ด้อยกว่า การต่อเชื่อมผ่าน FireWire Port ดังนั้น จึงพบว่าเครื่องเขียนแผ่นที่ต่อเชื่อมผ่าน USB Port นี้จะถูกจำกัดความเร็วในการเขียนไว้ในระดับต่ำ
 การต่อเชื่อมผ่าน FireWire Port เป็นการต่อเชื่อมความเร็วสูงที่ช่วยให้ถ่ายโอนข้อมูลได้อย่างรวดเร็วทันใจมากยิ่งขึ้นทำให้คุณสามารถเขียนแผ่น CD ได้ด้วยความเร็วสูงๆ นอกจากนี้ FireWire Port ยังรองรับระบบ Plug and Play เช่นเดียวกัน จึงติดตั้ง ได้ง่ายดายรวดเร็วอย่างไรก็ตาม FireWire Port นั้น ไม่แพร่หลายคุณอาจจำเป็นจะต้อง ติดตั้งการ์ด FireWire Adapter เข้ากับคอมพิวเตอร์ของคุณเสียก่อนคุณจึงจะสามารถต่อเชื่อม CD Drive แบบ FireWire นี้ได้
 ข้อดี : มีความยืดหยุ่น พกพาใช้งานสะดวกและสามารถติดตั้งได้อย่างง่ายดาย  
 ข้อด้อย : ความเร็วอาจเป็นรองการต่อเชื่อมแบบ Internal อีกทั้งยังมีราคา ที่แพงกว่า

ความเร็วในการเขียนแผ่น

 CD-Recorder มีตัวเลข แสดงค่า ความเร็ว เป็น X เช่นเดียว กับ CD-ROM ยิ่งตัวเลขหน้า X สูงมากเท่าไหร่ก็ยิ่ง หมายถึง ความเร็วที่มากขึ้นเท่านั้น เช่น รุ่น 1X สามารถบันทึกข้อมูลเพลง ที่มี ความยาว 20 นาที โดยใช้ เวลา 10 นาที แต่รุ่น 10X จะใช้ เวลาแค่ 1นาที เท่านั้น กับเพลงที่มีความยาวเท่ากัน นั้น CD-Recorder มีความเร็วในการอ่าน, เขียน และเขียน ข้อมูลซ้ำ ในหลายระดับให้เลือกใช้งาน อย่างไรก็ตามตัวเลขความเร็วนี้ ก็อาจจะสร้างความสับสนขึ้นมาก็ได้ เพราะส่วนใหญ่แล้วจะมีหลายตัวเลข เรียงกันมา ดังเช่น 12x/8x/32x เราจึงอยากอธิบายเพิ่มเติม ถึงตัวเลขดังกล่าวนั่นคือ

ตำแหน่งแรก ( 12x ) หมายถึง ความเร็วในการเขียนแผ่น CD-R
ตำแหน่งสอง ( 8x ) หมายถึง ความเร็วในการเขียนแผ่น CD-RW
ตำแหน่งสาม ( 32x ) หมายถึง ความเร็วในการอ่านแผ่น CD / R / RW

Buffer

 Buffer ก็คือ หน่วยความจำประเภทหนึ่งนั่นเอง โดยมีหน้าที่ สำหรับพักข้อมูล ในการถ่ายโอนระหว่างฮาร์ดดิสก์ กับเครื่องเขียน CD นั่นหมายความว่า ยิ่งมี Buffer มาก ก็จะยิ่งช่วยให้ การเขียนแผ่น CD มีความเสถียร และมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ( Buffer ก็ทำงานคล้ายๆ กับ RAM ของ PC นั่นเอง ) วิธีการดูขนาดของ Buffer นั้น ให้คุณดูที่ข้างกล่องว่า มีขนาดเท่าไหร่ อย่างไรก็ตาม ขนาดสูงสุด ไม่ใช่ว่าจะดีที่สุดเสมอไป เพราะมันหมายถึงราคา ที่เพิ่มสูงจนเกินความจำเป็น สิ่งที่คุณ ควรคำนึง เกี่ยวกับ Buffer นั่นคือ เลือกขนาดให้เหมาะสม ไม่น้อย เกินไป จนอาจเกิดปัญหา ต่อการใช้งาน และไม่มากถึงขนาดที่ ต้องเสียเงินแพงกว่าปกติ

 Burn Proof หรือ No Buffer Under Run เป็นเรื่องที่ต่อเนื่องมาจาก Buffer นั่นเอง โดยที่ ถึงแม้ว่าเครื่องเขียนแผ่น CD ของคุณ จะมี Buffer อยู่ก่อนแล้ว แต่ก็มีโอกาสบ่อยครั้งมาก ที่ Buffer ที่มีอยู่นั้นไม่เพียงพอในการใช้งาน โดยอาจจะเกิดขึ้น เพราะความเร็วในการเขียน ที่สูงไป หรือคุณ อาจจะใช้งาน ควบคู่ไปกับ การทำงานอื่นๆ ไปด้วย ซึ่งต่างก็ส่งผล ต่อการทำงานของ Buffer ทั้งสิ้น ซึ่งหากเกิดปัญหา Buffer ไม่เพียงพอ ก็จะเกิดปัญหา ข้อมูลที่เขียนแผ่น CD ขาดช่วงขึ้นมา ทำให้แผ่นที่เขียนอยู่นั้นเสียไป เราเรียกปัญหานี้ว่า "Buffer Under Run Error" แต่ด้วย เทคโนโลยี Burn Proof นี้ จะช่วยแก้ปัญหา Buffer เพราะสามารถ หยุดเขียนแผ่น ในกรณีที่ Buffer ไม่พอ และกลับมาเขียนต่อ เมื่อเครื่องสามารถ ทำงานได้ตามปกติ ซึ่งก็เป็นความจำเป็น ที่คุณจะต้องสอบถาม จากผู้ขายว่า เครื่องที่คุณสนใจนั้น รองรับเทคโนโลยีนี้หรือไม่


ที่มา : http://www.sanambin.com/ และหนังสือ nero express เขียนแผ่นซีดี..แบบด่วนจี๋

โดย : นาย เรวัต บรรจงตั้ง, สถาบันราชภัฏสงขลา, วันที่ 1 พฤศจิกายน 2545