ปลาสวยงาม

                      ปลากัดไทย
ชื่อวิทย์         Betta  splenderns
ชื่ออังกฤษ     saimese fighting fish

      ถิ่นที่อยู่อาศัย...เป็นปลาพื้นเมืองของประเทศไทย มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยและมาเลเซีย

    รูปร่างลักษณะ...ปลากัดไทยเป็นปลาที่พบได้ตามท้องทุ่งนาเรียกว่าปลากัดลูกทุ่ง  ต่อมาได้มีการคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีลักษณะแข็งแรง  บึกบึนเป็นนักสู้เต็มตัวเรียนว่าปลากัดลูกหม้อ  มีลักษณะลำตัวแบนเรียวยาว  สีเข้มหลากสีเช่นสีแดง  คราม  เขียว  น้ำเงิน  ม่วงและสีผสม  เกล็ดมีขนาดเล็กละเอียด     ครีบอกยาวเด่นชัดเรียกว่าไม้เท้า  หางที่นิยมเป็นรูปใบโพธิ์    ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้แต่สีจะซีด

          อุปนิสัย...ปลากัดเป็นปลาที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากปลาทั่วๆไปคือสามารถหายใจโดยการฮุบอากาศเหนือน้ำ นิสัยดุร้าย  หวงถิ่นที่อยู่หากมีศัตรูต่างถิ่นเข้ามาใกล้จะพองตัว  ฉีกเหงือก  กางครีบ สีของลำตัวเข้มมากขึ้นและพุ่งเข้าสู้กับศัตรูทันที  กัดติดจนกว่าจะแพ้กันไปข้างหนึ่งถึงแม้จะใช้เวลานานก็ตาม

      การเลี้ยงดู...ปลากัดเป็นปลาที่รักสันโดษ  สามารถอยู่ในที่แคบๆได้จึงถูกเลี้ยงในภาชนะที่มีปากแคบเพื่อกันการกระโดด  ใส่น้ำ 3 ใน 4 ของขวดวางเรียงรายโดยมีวัสดุทึบแสงกั้นไว้ไม่ให้ปลาแต่ละตัวมองเห็นกันเองและมักจะให้ปลากัดออกกำลังกายโดยการดึงวัสดุทึบออกบ้างในตอนเช้า  อาหารที่ชอบเป็นลูกน้ำ  ไรแดง  หนอนแดง  เนื้อกุ้งสับ  ปัจจุบันมีอาหารสำเร็จรูปสำหรับปลากัดด้วย  ผู้เลี้ยงที่ต้องการใช้ปลาในการแข่งขันจะให้อาหารพออิ่มไม่มากเกินไปเพราะปลาจะสมบูรณ์จนต่อสู้ไม่ได้

การผสมพันธุ์...เนื่องจากปลากัดเป็นปลาที่ดุร้ายชอบการต่อสู้เมื่อนำมาผสมพันธุ์จะต้องมีการเตรียมพร้อมโดยการนำขวดปลาพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่สมบูรณ์มาตั้งเคียงกัน  ให้ปลาแสดงความคุ้นเคยกันก่อน  ปลาตัวผู้ที่พร้อมจะสร้างหวอดเป็นน้ำลายเหนียวพ่นบนผิวน้ำเพื่อเป็นที่ฟักไข่  ท้องของตัวเมียเต่งขึ้นสร้างไข่เต็มท้อง  นำปลาทั้งสองตัวใส่ในอ่างเคลือบที่มีระดับน้ำตื้นๆ  และมีพริเวณกว้างพอที่ปลาจะว่ายน้ำหนีกันได้  
ปลาตัวผู้จะไล่ตัวเมียเพื่อฉีดน้ำเช้าให้ไข่และจะอมไข่ปลาที่ผสมแล้วพ่นเก็บไว้ที่หวอดที่สร้างขึ้นมา  เมื่อสังเกตว่าตัวเมียไข่หมดแล้วให้นำตัวเมียออกไปพักฟื้นร่างกายที่บอบช้ำก่อน  ปล่อยตัวผู้ไว้ให้คอยดูแลลูกปลาจนฟักเป็นตัวทั้งหมดจึงคอยนำพ่อพันธุ์ออกไป

โดย : นาง สุทธิลักษณ์ วัฒนกุล, โรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์, วันที่ 18 ตุลาคม 2545