กลอน
คลิกเพื่อ

กลอน

กลอน คือ คำประพันธ์หรือการเขียนเรียงความที่มีคำคล้องจองกันหรือมีความสัมผัสกัน ตำราการแต่งคำประพันธ์ เรียกว่า ชุมนุมตำรากลอน

ลักษณะบังคับกลอนมีดังนี้

คณะ ของกลอนจัดเป็นบท บทหนึ่งประกอบไปด้วย 2 บาท เรียกว่า บาทเอก และ บาทโท

การแต่งกลอนจะต้องจบลงด้วยบาทโทเสมอ

บาทเอก ประกอบด้วยคำประพันธ์ 2 วรรค วรรคหน้า เรียกว่า วรรคสดับ หรือตำราสมัยเก่า

เรียกว่า วรรคสลับ วรรคหลัง เรียกว่า วรรครับ

บาทโท ประกอบด้วยคำประพันธ์ 2 วรรค คือวรรคสลับ วรรครับ วรรครอง และวรรคส่ง

คำกลอนวรรคหนึ่งจะประกอบด้วยคำหรือพยางค์ ตั้งแต่ 6 คำ ขึ้นไปจนถึง 9 คำ แต่ที่นิยมกันมาก คือ 8 คำ เรียกว่า กลอนแปด

สัมผัส การส่งสัมผัสของกลอน บังคับด้วยสัมผัสนอก ซึ่งเป็นสัมผัสสระส่วนสัมผัสในนั้นไม่บังคับ

กลอนแบ่งได้ 3 ประเภท

    1. กลอนขับร้อง
    2. มีจุดมุ่งหมายในการขับร้องแต่มีลักษณะพิเศษเพิ่มเติมแล้วแต่คำอธิบายแตกต่างกันออกไป เช่น

      กลอนบทละคร เป็นบทละครใช้คำในวรรค ประมาณ 6-9 คำ แต่ต้องขึ้นต้นค้วย “ เมื่อนั้น” “บัดนั้น” “มาจะกล่าวบทไป”

      กลอนดอกสร้อย บังคับเหมือนกลอนทั่วไป ขึ้นต้นวรรคแรกเพียง 4 คำ คือ คำที่ 1 คำที่ 3 เป็นคำซ้ำ

      คำที่ 2 เป็นคำคั้นคำว่า เอ๋ย

      กลอนสักวา เป็นบทกลอนสั้น มีข้อบังคับทั่วไป เพียงขึ้นต้นว่า สักวา และลงท้ายด้วย เอย ที่นิยมก็คือ 4 คำกลอน

      กลอนเสภา มีลักษณะบังคับเหมือนกลอนสุภาพ แต่จำนวนคำในวรรคไม่จำกัด สัมผัสตรงไหนก็ได้ถ้าเห็นว่าสมควร เสภามักขึ้นต้นด้วย “จะกล่าวถึง” “ครานั้น” “จะกล่าวกับกล่าว” ไม่จำกัดความยาว จบลงด้วยบาทดโท

    3. กลอนสุภาพ
    4. มีอีกชื่อหนึ่งเรียกว่า กลอนตลาด ส่วนมากแต่งเป็นเรื่องยาว กลอนประเภทนี้มีจุดม่งหมายในการอ่าน ขึ้นต้นด้วยวรรครับและจบลงด้วย “เอย” มีดังนี้

      เพลงยาว เป็นทำนองจดหมาย ชายหญิงเขียนถึงกัน เพลงยาวอาจเปรียบได้กับหนังสือ

      ประวัติศาสตร์

      นิราศ ขึ้นต้นด้วยวรรครับ เช่นเดียวกับกลอนเพลงยาว บทแรกของนิราศมีเพียง 3 วรรค คือ

      บาทเอก มี 1 วรรค บาทโท มี 2 วรรค เขียนเป็นเรื่องยาว พรรณนาถึงการเดินทางและสิ่งที่พบเห็นจากการเดินทาง

      นิทานคำกลอน เป็นนิยายของไทยมีเค้าเดิมที่รู้จักกันดีกวีนำมาแต่งเป็นคำกลอน กลอนนี้บังคับเหมือนกลอนสุภาพ

    5. กลกลอน

กลกลอน คือ กลอนสุภาพที่กวีตั้งใจแต่ง กลกลอนมี 2 ชนิด

กลอนกลบท เป็นกลอนที่กวีประดิษฐ์ข้อบังคับต่างๆ เพิ่มเติม เช่น สัมผัสสระ สัมผัสอักษร แต่ละวรรคแตกต่างกันแล้วแต่จะตั้งชื่อ

กลอักษร เป็นกลอนสุภาพ เช่น เดียวกับกลอนกลบท


เพิ่มข้อความ


แหล่งอ้างอิง : หนังสือเรียนภาษาไทย

โดย : นาง อุไรวรรณ พิมพ์ซา, พนัสพิทยาคาร, วันที่ 20 กันยายน 2545