ยาเสพติด

ยาเสพย์ติด

การปฏิบัติตนการศึกษาเรื่องสิ่งเสพย์ติด ประเภทของสิ่งเสพย์ติดชนิดต่าง ๆ เข่น บุหรี่ สุรา สิ่งเสพติดที่ออกฤทธิ์ต่อประสาท เป็นต้น ตลอดจนลักษณะอาการของผู้เสพ และสาเหตุของการติดสิ่งเสพย์จะช่วยเสริมสร้างให้เกิดความเข้าใจ และตระหนักถึงโทษที่เกิดจากสิ่งเสพย์ติด สามารถหลีกเลี่ยงจากสิ่งเสพย์ติด และเลือกแนวทางในให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

ประเภทและโทษของยาเสพย์ติด

    1. สิ่งเสพย์ติดประเภทกดประสาท คือ สิ่งเสพย์ติดที่เมื่อเสพเข้าไปแล้วจะไปกดประสาทส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดอาการมึนงงชาต่อสมอง และทำให้ประสาทที่ควบคุมส่วนต่าง ๆ ของร่างกายบางส่วนหยุดทำงาน หมดความเป็นตัวของตัวเองไปชั่วขณะสิ่งเสพย์ติดประเภทนี้ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน เป็นต้น
    2. สิ่งเสพย์ติดประเภทกระตุ้นประสาท คือ สิ่งเสพย์ติดที่เมื่อเสพเข้าไปแล้จะไปออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้ทำงานตามฤทธิ์ของยา ซึ่งอาจจะเกินความสามารถของร่างกาย
    3. สิ่งเสพติดประเภทหลอนประสาท คือ สิ่งเสพติดที่เมื่อเสพเข้าไปแล้วทำให้ผู้เสพมีอาการฝันเฟื่อง จิตหลอนเห็นแต่ภาพลวงตา ควบคุมตัวเองไม่ได้ มึนเมาอยู่กับความฝันทั่งร้ายและดี ประสาทรับความรู้สึกต่างๆได้แปรปรวนไปหมด บางครั้งผู้เสพอาจทำอันตรายแก่ชีวติตนเองและผู้อื่นได้
    4. สิ่งเสพติดประเภทออกฤทธิ์หลายอย่าง คือ สิ่งเสพติดที่ใช้แล้วจะออกฤทธิ์ต่อร่างกายหลายอย่าง คือออกฤทธิ์ทั้งกดประสาทและหลอนประสาท ได้แก่กัญชา ซึ่งทำให้มีอาการหลงผิด เกิดความเสื่อมโทรมทั้งสุขภาพทางกายและทางจิตใจ

สิ่งเสพติดจำแนกตามลักษณะการเกิด

2.1 สิ่งเสพติดตามธรรมชาติ คือ สิ่งเสพติดที่ได้รับจากการสกัดจากพืชบางชนิด ได้แก่ ฝิ่น กัญชา และใบกระท่อม

2.2 สิ่งเสพติดสังเคราะห์ คือ สิ่งเสพติดที่ผลิตขึ้นตามกรรมวิธีทางเคมี ได้แก่ โคเคอีน เฮโรอีน มอร์ฟีน พีธคีน เป็นต้น



แหล่งอ้างอิง : หนังสือสุขศึกษา

โดย : นาย สมพงษ์ ทะจันทร์, โรงเรียนพนัสพิทยาคาร, วันที่ 16 กันยายน 2545