ไมโครคอมพิวเตอร์


การจัดหาคอมพิวเตอร์มาใช้นั้น จำเป็นจะต้องแน่ใจว่าเราได้อุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นครบถ้วน และมีคุณสมบัติตรงกับงานที่เราต้องการใช้ ด้วยเหตุนี้เราจึงควรมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับคุณลักษณะของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์บ้างพอสมควร
คอมพิวเตอร์นั้นมีอยู่หลายขนาดตั้งแต่ชนิดที่เร็วมากๆ และราคาแพงสุดขีด อย่างเช่น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ไปจนถึงชนิดราคาถูกอย่างไมโครคอมพิวเตอร์ นอกจากนั้นทุกวันนี้ยังมีผู้ผลิตอุปกรณ์ประกอบที่มีคุณลักษณะพิเศษออกมาอย่างไม่รู้จบสิ้น ดังนั้น การที่จะรู้และเข้าใจคุณลักษณะของคอมพิวเตอร์ไปหมดทุกแบบทุกรุ่นจึงเป็นไปได้ยาก
ข้อกำหนดอุปกรณ์พื้นฐานของไมโครคอมพิวเตอร์พอสังเขป
ไมโครคอมพิวเตอร์แต่ละชุดนั้นมีอุปกรณ์ที่ต้องสนใจอยู่ 5 รายการด้วยกัน
1. หน่วยประมวลผลกลาง ที่เรียกย่อๆว่า ซี.พี.ยู
2. หน่วยขับจานแม่เหล็ก ซึ่งมีทั้งชนิดจานอ่อน Floppy Dish และชนิดจานแข่ง Hard Dish
3. จอภาพ Monitor
4. แป้นพิมพ์
5. เครื่องพิมพ์
อุปกรณ์ไมโครคอมพิวเตอร์ไม่ได้มีเพียงแค่นี้ ไมโครคอมพิวเตอร์ที่ขายอยู่ทั่งๆไปอาจแบ่งได้ 4 ประเภทใหญ่ดังนี้
ประเภทแรก คือ พีซี หรือ ไอ.บี.เอ็ม. นำออกสู่ตลาดเมื่อแปดปีก่อน เครื่องพีซีก็กลายเป็นมาตราฐานของไมโครคอมพิวเตอร์ไป เครื่องประเภทนี้มีเกือบ 90% ของเครื่องที่ใช้กันอยู่ในเวลานี้
ประเภทที่สอง คือ แมคอินทอช หรือแอปเปิล แมคอินทอชของบริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ ซึ่งเคยโด่งดังในฐานะผู้บุกเบิกยุทธจักรไมโครคอมพิวเตอร์ และมีจุดเด่นในด้านการทำภาพกราฟฟิก ในเมืองไทยนั้นตามบริษัท สำนักพิมพ์ทั้งหลายล้วนแต่ใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้
ประเภทที่สาม คือ ซูเปอร์ไมโครคอมพิวเตอร์ คำว่า ซูเปอร์ที่เติมเข้าไปข้างหน้าหน้านั้นบอกอยู่แล้วว่า เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีพลังงานมากกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ธรรมดาคือมีหน่วยประมวลผลกลางหน่วยเดียวแต่มีจอภาพ และแป้นพิมพ์พ่วงมาใช้งานในเวลาเดียวกันได้หลายชุด เครื่องประเภทนี้พอมีขายอยู่บ้างในเมืองไทย แต่มีไม่มากเท่าเครื่องพีซีธรรมดา
ประเภทที่สี่ คือ สถานี หรือ Work station คำนี้หมายถึงไมโครคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้งานสามารถนั่งใช้งานกับมันทุกอย่างเท่าที่ต้องการ โดยไม่ต้องลุกไปใช้เครื่องอื่นๆช่วย นั่นแสดงว่าสถานีงานมีความสามารถมากกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องพีซีธรรมดา ความสามารถนี้ได้แก่ ความเร็วในการคำนวนสูงกว่าจอภาพของเครื่องพีซีทั่วไป จอภาพมีขนาดใหญ่กว่าของเครื่องพีซี เป็นต้น


โดย : เด็กชาย ปิยชาติ สู้ไชยชนะ, ร.ร.ภูเก็ตวิทยาลัย, วันที่ 27 พฤศจิกายน 2544