การอ่าน

       การอ่าน เป็นทักษะหนึ่งที่มีความสำคัญมาก การอ่านทำให้เกิดปัญญา ความคิดที่ทำให้เกิดความสร้างสรรค์ช่วยให้พัฒนาตนเอง และรู้จักปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้อย่างสงบสุข ผ่อนคลายความเครียดที่เกิดจากการทำกิจกรรมการงานต่างๆ ดังนั้น การอ่านจึงมิได้เพียงแต่อ่านเป็น แต่สามารถอ่านแล้วนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้

 ประเภทของการอ่าน    อาจแบ่งเป็นสองประเภท คือ

   1.การอ่านในใจ คือ การแปลความหมายของอักษรออกมาเป็นความคิด ซึ่งไม่ได้พูดออกมาเป็นเสียง และนำความคิดนั้นไปใช้ประโยชน์

   2.การอ่านออกเสียง คือ การเปล่งเสียงถ้อยคำ หรือ เครื่องหมายต่างๆที่เขียนไว้ออกมาให้ชัดถ้อยชัดคำ และให้เป็นที่เข้าใจแก่ผู้ฟัง

 หลักเกณฑ์การอ่านออกเสียง

   1.อ่านให้ชัดถ้อยชัดคำ กล่าวคืออ่านให้ชัดเจนพอได้ยินทั่วกัน

   2.จังหวะและระดับของเสียง การออกเสียงหนักเบา เสียงสั้นยาว เสียงสูงต่ำ ต้องศึกษาบทหรือข้อความที่อ่านเสียก่อนว่า ควรจะทำจังหวะและระดับเสียงอย่างไร

   3.ระบบการหายใจ การหายใจเข้าออกมีอิทธิพลต่อจังหวะของการอ่าน ถ้าช่วงของการหายใจจะทำให้การอ่านขาดเป็นช่วง ๆ ถ้าช่วงของการหายใจออกเป็นช่วงยาวก็จะทำให้การออกเสียงได้ยาวไม่หยุดชะงัก

   4.การเคลื่อนสายตาระหว่างการอ่าน ช่วงสายตาต้องมองดูหนังสือให้กว้างออกไปทางขวามือให้มากที่สุดท้ายสายตาต้องดูคำที่บรรทัดใหม่อย่างเร็วที่สุด

   5.การเว้นวรรค ต้องพิจารณาตามเนื้อความที่อ่านว่าควรเว้นวรรค ช่วงประโยค หรือเว้นระหว่างคำสันธาน  นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงเนื้อความที่เป็นเหตุเป็นผลต่อกันอีกด้วย เช่น

                เรื่องสามก๊ก / เป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ / แต่งด้วยร้อยแก้ว / สำนวนภาษา / และการบรรยายเรื่อง/ดีเป็นเยี่ยม / ได้รับการยกย่อง / จากวรรณคดีสโมสร / ในรัชกาลที่ 6 ว่าเป็น / ยอดแห่งความเรียงนิทาน

   6.การอ่านในที่ประชุม ต้องยืนตัวตรงในที่ที่สง่า จับถือกระดาษในท่าที่พอเหมาะไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป

 การอ่านทำนองเสนาะ

         1.  การอ่านกาพท์ยานี 11

      กาพท์ยานี 11 จะมีจำนวนคำบาทหนึ่ง 11 พยางค์ แบ่งเป็น 2 วรรค วรรคหน้า 5 วรรคหลัง 6 ในการอ่านควรเว้นวรรคของคำดังนี้

    0 0 / 0 0 0   0 0 0 / 0 0 0                   

    พลบค่ำ / ตะวันคล้อย     นกน้อยน้อย / บินกลับเหย้า

    แสงส่อง / ทอดทางเงา    ดูแล้วเหงา / ในอุรา                                                 2.     การอ่านกลอนสุภาพ

        จำนวนคำของกลอนสุภาพในแต่ละวรรค จะมีจำนวน 6 – 9 คำ แต่ทั่วไปจะใช้เพียง 8 คำ ในการอ่านควรเว้นจังหวะของคำดังนี้

     0 0 0 / 0 0 / 0 0 0       0 0 0 / 0 0 / 0 0 0

     จันทร์กระจ่าง / กลางฟ้า / เวหาหน          พื้นอำพน / นภางค์ / เหมือนอย่างเขียน

  ชมดารา / ในอากาศ / ดูดาษเดียร               พิศเพี้ยน / เพชรพลอย / นับร้อยพัน

              3.    การอ่านโครงสี่สุภาพ

       โคลงสี่สุภาพประกอบด้วยบาทหนึ่งมี 30 คำ หรืออาจมีได้ถึง 34 คำ แบ่งออกเป็น 4 บาท บาทหนึ่งแบ่งออกเป็น 2 วรรค ในการอ่านควรเว้นวรรคของคำดังนี้

      0 0 / 0 0 0          0 0 / ( 0 0 )

               ราชัน / ทรงฝึกซ้อม                  กระบวนการ

               เทคนิค / ขั้นตอนชาญ               เชี่ยวซ้อม

               และแบบ / แม่พิมพ์งาน             เทหล่อ / รูปเฮย

               ปั้นแต่ง / ประดับพร้อม              ผลิต / ได้งดงาม

            4.      การอ่านอินทรวิเชียรฉันท์

        อินทรวิเชียรฉันท์หนึ่งมี 2 บาท บาทหนึ่งมี 2 วรรค วรรคหน้า 5 คำ วรรคหลัง 6 คำ มีการแบ่งจังหวะของการอ่านดังนี้

        0 0 / 0 0 0        0 0 0 / 0 0 0

                บรรดา / มนุษย์เรา                   ผิจะเอา / มนัสปลง

           ปล่อยจิต / บ่จำนง                         ธุระแห่ง / สหายผอง


ที่มา : หนังสือเรียนภาษาไทย , หนังสือราชาภิเษก , หนังสือคำฉันท์

โดย : นาย ธรรมนูญ เหลืองอ่อน, โรงเรียนพนัสพิทยาคาร, วันที่ 14 กันยายน 2545