เรื่องสั้นเราคือลูกของแม่พระธรณี (1)

ผู้แต่ง อิศรา อมันตกุล

เกี่ยวกับผู้แต่ง  เกิด พ.ศ.2464 จบมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน เป็น

นักหนังสือพิมพ์และเขียนเรื่องสั้น นวนิยาย บทความประพันธ์ โดยใช้นามปากกาว่า เจดีย์กลางแดด, อโศก, มะงุมมะงาหรา, นายอิสระ, ทรงกลดกลางหาว เป็นต้น งานเขียนส่วนใหญ่มัก   เกี่ยวกับสภาพสังคม สิทธิ เสรีภาพ 

ถึงแก่กรรม   พ.ศ.2512

รูปแบบ     เรื่องสั้น

จุดมุ่งหมาย   เพื่อจรรโลงใจ และแสดงแนวคิดของผู้เขียน

เรื่องย่อ

    เอินกับรมณีย์เป็นสามีภรรยาที่ไปประกอบอาชีพเกษตรกรในท้องถิ่นทุรกันดาร ทั้งสองได้พยายามต่อสู้กับความแห้งแล้งอันเป็นอุปสรรค์อันสำคัญ ด้วยความมานะและอดทนอย่างที่สุด แต่ก็ต้องประสบกับความผิดหวังและยังคงต้องเผชิญกับความยากลำบากต่อไป เอินเคยเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัย แต่ด้วยความรักและเทิดทูลแผ่นดินเกิดประกอบกับต้องการเป็นตัวอย่างในการพัฒนารูปแบบการทำนาให้แก่เกษตรกรในชนบท เขาจึง

ลาออกจากราชการ ในขณะที่รมณีย์เป็นลูกคนมีเงินจากกรุงเทพฯ ต้องมาตรากตรำทำงานจนต้องสูญเสียลูกในครรภ์ไปคนหนึ่งเธอจึงหมดกำลังใจที่จะต่อสู้ และเมื่อใกล้กำหนดคลอดลูกคนที่สองที่รมณีย์จำเป็นต้องหนีกลับกรุงเทพฯ เพื่อชีวิตของลูกที่จะเกิดมา ระหว่างที่เธอหนีไปนั้น เธอพบกับ “ต้นหญ้าต้นเล็กๆ สามสี่ต้นขึ้นเขียวขจีท่ามกลางผืนดินอันแห้งแล้งจนแตกระแหง” ทำให้เธอมีความหวังที่จะต่อสู้ อยู่ต่อไปอย่างต้นหญ้าเล็กๆ เขียวขจีที่มีโอกาสได้กำเนิดขึ้นมาท่ามกลางผืนดินที่รวมความรัก ความหวังของผู้คนที่นี่ รมณีย์จึงตัดสินใจอยู่ต่อสู้กับธรรมชาติร่วมกับเอินสามีที่รักเธอ

ข้อคิดจากเรื่อง

    1. ผู้ที่ทำประโยชน์ให้แก่แผ่นดินเกิดเป็นบุคคลที่ควรยกย่อง
    2. ความมานะบากบั่นและอดทน จะนำมาซึ่งความสำเร็จของงานและสมหวังในการดำเนินชีวิต
    3. กำลังใจเป็นสิ่งสำคัญ และชีวิตดำเนินอยู่ได้ด้วยความหวัง
    4. ชีวิตของเกษตรกรไทยส่วนใหญ่ต้องเผชิญกับความยากลำบาก และอุปสรรคมากมาย
    5. แผ่นดินแม่อันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนคือที่ที่สามารถให้ความรัก ความอบอุ่นได้ดีที่สุด

คำศัพท์และสำนวน

ติดสอยห้อยตาม  = ติดตามไปด้วยกันตลอด

กรน              = หายใจเสียงดังในลำคอเวลา

                      หลับ

หัวเด็ดตีนขาด    = อย่างเด็ดขาด

สารเลว           = เลวทั้งสิ้น, เลวที่สุด

ตรำ               = ทำอย่างไม่นึกถึงความ

                      ลำบาก

พระพิรุณ         = เทวดาผู้ให้ฝน

บังเกิดเกล้า       = ผู้ให้กำเนินอย่างแท้จริง

ทะมื่น            = สูงเด่น ใหญ่โต ดำมืด

ปรารภ           = กล่าวถึง ตั้งต้น ดำริ

แท้ง              = เสียทารกในครรภ์ไป

ธรณีพลี          = การเสียสละ บวงสรวงให้

                      แก่แผ่นดิน

ส่อ               = แสดงให้รู้เป็นนัย

ปรักปรำ         = กล่าวทับถมใส่ร้าย

จำเลย            = ผู้ถูกกล่าวหา

ฉมเฉา           = ห่อเหี่ยว

แห่นางแมว      = ประเพณีการขอฝนของชาว

                      ชนบท

ปาฏิหาริย์        = สิ่งที่น่าอัศจรรย์

อมโรค           = ร่างกายอ่อนแอ ป่วยได้ง่าย

ตะบึง             = เร่งไปไม่หยุด

กระสับกระส่าย   = ทุรนทุราย เร่าร้อนใจ

กระท่อนกระแท่น = ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน

ลั่นปากคำ         = ให้สัญญาหรือคำมั่น

บูชา               = เคารพบุคคลหรือสถานที่

น้ำมนต์           = น้ำเสกเพื่อความเป็นมงคล

กาฝาก            = ผู้ทำตัวเป็นภาระ

อคติ              = ความลำเอียง

เคียงบ่าเคียงไหล่  = เสมอกัน

ลำกระโดง        = คลองเล็กต่อคลองใหญ่

ชอุ่ม              = ชุ่ม สดชื่น

เซ่น              = สังเวยผีหรือเจ้า

อัปรีย์            = เลวทราม ระยำ จัญไร

                     ไม่เป็นมงคล

พืด               = เต็มไปด้วย ยาวเหยียด

กรัง              = แห้งติดแน่นอยู่

อุปาทาน         = การนึกเอาเองว่าต้องเป็น

                      อย่างนั้น

ขจี                = งามสดใส

คำอธิบายเพิ่มเติม

“เรื่องสั้น” คือ วรรณกรรมร้อยแก้วบันเทิงคดีประเภทหนึ่ง

  1. องค์ประกอบของเรื่องสั้น
  1. แก่นเรื่อง คือแนวคิดสำคัญที่ผู้แต่งใช้เป็นแกนกลางในการสร้างโครงเรื่อง
  2. โครงเรื่อง คือเหตุการณ์สำคัญที่ประมวลกันเข้าเป็นเรื่องราว ส่วนประกอบสำคัญคือ “ความขัดแย้ง”อันเป็นบ่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆ
  • ความขัดแย้งระหว่างตัวละครกับธรรมชาติ
  • ความขัดแย้งระกว่างตัวละครกับสังคม
  • ความขัดแย้งภายในจิตใจของตัวละครเอง
  • ความขัดแย้งระหว่างตัวละครกับโชคชะตา
  1. คัวละคร คือ ผู้มีบทบาทในเรื่อง อาจเป็นคนหรืออาจไม่ใช่คนก็ได้
  • ผู้แต่งบรรยายลักษณะ อุปนิสัย ความรู้สึก ของตัวละครเอง
  • ตัวละครอื่นๆ แสดงความคิดเกี่ยวกับตัวละครนั้น
  • ผู้แต่งให้ตัวละครแสดงตัวเองจากการสนทนากับตัวละครอื่น
  • ผู้แต่งให้ตัวละครแสดงตัวเองด้วยพฤติกรรมของตัวเอง

ง. ฉาก คือ สถานที่ เวลาที่ผู้แต่งกำหนดให้เหตุการณ์เกิดขึ้น และดำเนินไป รวมถึง ฤดู สมัยและสิ่งแวดล้อมด้วย

จ. จุดสุดขั้น คือ จุดที่เรื่องได้ดำเนินมาถึงที่สุดของความคาดคิดผู้อ่าน อาจเกิดขึ้นในตอนจบ หรือเกือบจบ

ฉ. กลวิธีในการนำเสนอ

  • ตัวละครสำคัญเป็นผู้เล่า
  • ตัวละครที่ไม่ใช่ตัวสำคัญเป็นผู้เล่า
  • ผู้แต่งเล่าเรื่องในฐานะผู้รู้เรื่องทุกอย่าง หรือเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์ก็ได้
  1. ชนิดของเรื่องสั้น
  1. เรื่องสั้นชนิดคำนึงการดำเนินเรื่องเป็นสำคัญ
  2. เรื่องสั้นชนิดถือบทบาทของตัวละครเป็นสำคัญ
  3. เรื่องสั้นชนิดถือบรรยากาศเป็นสำคัญ
  4. เรื่องสั้นชนิดแสดงแนวความคิดเป็นสำคัญ
  1. การตั้งชื่อเรื่อง
  1. ใช้ตัวเอกหรือตัวละครที่เป็นปมของเรื่อง เช่น คุณหญิงสีวิกา, ระเด่นลันได
  2. ใช้ข้อความหรือบทเจรจาสำคัญ เช่น ช่างมันฉันไม่แคร์, พระบรมราโชวาท
  3. ใช้สถานที่สำคัญหรือฉากของเรื่อง เช่น บ้านทรายทอง, ปุลากง

ใช้ปรากฏการณ์หรือ สิ่งประทับใจ เช่น ทะเลแปร, ตะวันขึ้นที่อ่าวพังงา


ที่มา : วรรณสารวิจักษณ์ กรมวิชาการ

โดย : นาง ศิริพันธ์ พัฒรชนม์, โรงเรียนราชวินิต มัธยม, วันที่ 5 กันยายน 2545