ย่านลิเภา

คลิกสองครั้งเพื่อเพิ่มภาพตัดปะ

          ย่านลิเภา

               คนไทยรู้จักนำย่านลิเภามาสานเป็นเครื่องใช้ต่างๆ  เช่น  กระเป๋า  มาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์  แต่ได้หมดความนิยมไประยะหนึ่ง  จนเมื่อสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถได้ทอดพระเนตรเห็นเถาย่านลิเภาขึ้นอยู่ทั่วไปในป่าจังหวัดนราธิวาส  จึงทรงฟื้นฟูการจักสานด้วยย่านลิเภาขึ้น  โดยหาครูผู้มีความชำนาญมาสอน

               ย่านลิเภาเป็นต้นเฟิร์นประเภทเลื้อยชนิดหนึ่ง  ชอบขึ้นในป่าชุ่มชื้น  เช่น ทางภาคใต้มี 2 ชนิด  คือ  สีน้ำตาลและสีดำ  ย่านลิเภาที่จะนำมาจักสาน  จะต้องแก่ได้ขนาด  เมื่อเก็บมาแล้วต้องกรีดเปลือกดำๆที่หุ้มแกนข้างในออก  แล้วฉีกเปลือกเป็นเส้นละเอียด  นำไปขูดกับฝากระป๋องที่เจาะรูขนาดต่างๆกัน  จนเส้นย่านลิเภาเล็ก  เรียบและละเอียดตามต้องการ    จากนั้นจึงนำมาสานเป็นกระเป๋าหรือสิ่งอื่นๆ  โดยใช้หวายขั้นเป็นหุ่นรูปทรงตามต้องการ  แล้วจึงนำย่านลิเภาไปสานเข้าโดยใช้เข็มสอดนำทาง



แหล่งอ้างอิง : ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมไทย : สมเจตน์ มุทิตากุล

โดย : นางสาว ลักษิกา โกมลวิทย์, โรงเรียนสมุทรสาครบูรณะ, วันที่ 29 สิงหาคม 2545