มหาวิทยาลัยเสมือนจริง

มหาวิทยาลัยเสมือนจริง (Virtual University)

                คือ  มหาวิทยาลัยที่ไม่มีข้อจำกัดในด้านเวลาและสถานที่   นั่นคือ ใครจะเรียนเวลาใดและ  เรียนจากที่ไหนก็ได้ทั้งนั้น  ในมหาวิทยาลัย เสมือนจริงนั้นไม่ว่าจะเป็น ห้องเรียน  ห้องทดลอง 
 ห้องสมุด  และห้องพบปะสนทนา  ล้วนเปิดตลอดวันละ 24 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 7 วัน  เพราะ  ทุกอย่างอยู่ในเว็บหรือหน้าจออินเตอร์เนตไม่ได้เป็นของจริง ๆ  
                นักศึกษาของมหาวิทยาลัยเสมือนจริงไม่ต้องเดินทางไปมหาวิทยาลัยและไม่ต้องเสียเวลา  วนหาที่จอดรถ นักศึก ษามหาวิทยาลัยเสมือนจริงไม่ต้องแต่งเครื่องแบบ และถ้าเป็นผู้หญิงก็ไม่ต้อง  เสียเวลาเลือกชุดเสื้อผ้าที่จะใส่ไป มหาวิทยาลัย เพราะไม่ได้ต้องแต่งตัวไปแข่งกับใคร  บางคนถึงกับกล่าวว่าจะแต่งตัวอย่างไร หรือไม่แต่งอะไรเลย  ก็ยังเรียนที่มหาวิทยาลัยเสมือนจริงได้
 เพราะ  เรียนอยู่ หน้าจอคอมพิวเตอร์  ซึ่งอาจจะอยู่บนเตียงนอน  ในห้อง นอน  หรือที่ไหนในบ้าน  หรือที่ทำงานหลังเวลางานก็ยังได้ 
  
                     ขณะนี้ประเทศไทยน่าจะแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเสมือนจริง  ของไทยแบบเดียวกับของรัฐแคลิฟอร์เนีย  เพราะ  ทางทบวงมหาวิทยาลัยมีเครือข่ายคอมพิวเตอร์
 ยูนิเน็ตของตนเองเชื่อมโยงมหาวิทยาลัยต่าง ๆ  ที่กล่าวว่าจะมาแทนที่ระบบเครือข่ายไทยสาร  ของเนคเทค ฉะนั้นจึงเป็นการสมควรที่ ทบวงจะนำยูนิเน็ตไปเชื่อมโยงกับเครือข่ายอินเตอร์เนตของไทย 
 โดยเชื่อมโยงที่ศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลอินเตอร์เนต (THLIX = hailand Local Internet Exchange)  ของ กสท. และส่งเสริม ให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่สนใจเปิดสอนทางไกลโดยผ่านอินเตอร์เนต  แบบเดียวกับที่ รัฐแคลิฟอร์เนีย
 
       
                การจะเปิดมหาวิทยาลัยเสมือนจริงนั้นมีข้อที่ต้องพิจารณา หลายประการ   ดังตัวอย่างเช่น  จะเปิดสอนสาขาหรือวิชาใด  ผู้ใดจะ เป็นผู้รับผิดชอบออกแบบหน้าเว็บ  สำหรับวิชานั้นให้นักศึกษาสนใจ  และเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ     ถ้าจะต้องมีห้องปฏิบัติการ  จะทำ เป็นห้องปฏิบัติการ เสมือนจริงบนเว็บได้อย่างไร   ใครจะเป็นผู้รับผิด ชอบ  ด้านการบริหารและการจัดการ  จำเป็นจะต้องเขียนโปรแกรม
 เพิ่มเติมหรือไม่ ถ้าต้องเขียนใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ จะต้องจัด บริการอินเตอร์เนต  อย่างไรจึงจะได้ผล  เช่น  เครื่องจักรอุปกรณ์จะ ต้องขนาดใหญ่เท่าใดจึงจะรับนักศึกษา  พร้อม ๆ  กันได้ตามจำนวน ที่ต้องการ  ถ้ามีนักศึกษาในบริเวณใดมากพอจะต้อง  จัดคอมพิว เตอร์ทำสำเนาแบบที่เรียกว่า  แบบพรอกซี  (Proxy)  หรือกระจกเงา (Mirror)
 ขนาดเท่าใดอย่างไร และหมายกำหนดการ  และค่าใช้จ่ายที่จะต้องใช้ในการจัดทำ  มหาวิทยาลัยเสมือนจริง  เป็นต้น



แหล่งอ้างอิง : บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2542). นวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โดย : นางสาว ปณิตา วรรณพิรุณ, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี 20131, วันที่ 20 สิงหาคม 2545