ตามรอยคอมพิวเตอร์



ตามรอยคอมพิวเตอร์

              ปี พ.ศ.2487 ได้มีการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ชื่อว่า Whirlwind โดยสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูแซ็ตต์ หรือ เอ็ม.ไอ.ที โดยการสนับสนุนด้านการเงินจากกองทัพเรือสหรัฐฯ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างเครื่องจำลองการบิน (Flight Simulator) ซึ่งสามารถรองรับการกระทำ ของนักบินในรูปแบบต่างๆได้อย่างต่อเนื่อง และตอบสนองด้วยการจำลองปฏิกิริยาของเครื่องบินได้ 

              ปี พ.ศ.2491 นักวิจัยได้ขอให้กองทัพเรือ ช่วยสนับสนุนเงินทุนปีละ 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อทำการปรับปรุง Whirwind ให้กลายเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีราคาแพงที่สุดในช่วงนั้น

              ปี พ.ศ.2497 ไอบีเอ็ม ได้นำคอมพิวเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยีหน่วยความจำแม่เหล็ก ซึ่งมีราคาถูกและเที่ยงตรงกว่าแบบเดิมและได้มาจากการพัฒนา SAGE เข้าสู่ตลาดคอมพิวเตอร์ธุรกิจ จนเป็นที่นิยมใช้กันมากกว่า 20 ปี จนกระทั่งมีการพัฒนาหน่วยความจำแบบสารกึ่งตัวนำขึ้นในกลางทศวรรษที่ 1970

                ปี พ.ศ.2500 เคนเนท โอลเซ่น และ ฮาร์แลน แอนเดอร์สัน  ผู้ที่ได้ร่วมพัฒนา Whirwind  และ SAGE ได้ตั้งบริษัทชื่อ ดิจิตอล อีควิปเมนต์ คอร์ปอเรชั่น หรือ ดีอีซี เพื่อนำคอมพิวเตอร์แบบอินเทอร์แอคทีฟ เข้าสู่ตลาด

                 ปี พ.ศ.2507   ดีีีอีซี ได้ทำกสนพัฒนาคอมพิวเตอร์ที่สามารถวางลงบนโต๊ะทำงาน (Tabletop) เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลโดยใช้เทคโนโลยีสารกึ่งตัวนำและได้ผลออกมาเป็น PDP-8 ซึ่งมีน้ำหนักประมาณ 114 กิโลกรัม ราคา 18,000 เหรียญฯ

                  ปี พ.ศ.2513 สตีฟ จ็อบ และ สตีฟ โวค  ได้จัดตั้งบริษัทแอปเปิ้ลคอมพิวเตอร์ ทำการพัฒนาเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ มีคีบอร์ดติดตั้งในตัวพร้อมการออกแบบที่ดูล้ำสมัยในราคา 1,195 เหรียญฯ ไม่รวมจอมอนิเตอร์ ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่ประสบความสำเร้จอย่างสูงสุดของบริษัท และเป็นประวัติศาสตร์วงการคอมพิวเตอร์ด้วย ต่อมา โรเบิร์ต ดับลิว เทย์เดอร์ ได้สร้าง Apanet เครือข่ายดิจิตอจที่เชื่อมโยงสูนย์วิจัย ที่ได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจาก ARPA ในสถานที่ต่างๆเข้าด้วยกัน  จนขยายตัวกว้างขึ้นจากงานวิจัยทางทหารมาสู่งานด้านการศึกษา ธุรกิจและบันเทิง จนกลายเป็น Internet ในปัจจุบัน

                    



แหล่งอ้างอิง : จรัสพงษ์ คู่วิรัตน์.\"ตามรอยคอมพิวเตอร์\"อัพเดท.17,179(กรกฏาคม 2545):45-50.

โดย : นางสาว ฤทัยทิพย์ ประชาสุข, สถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์, วันที่ 15 สิงหาคม 2545