กลยุทธ์ธุรกิจยุคของ e-Governme

                      กลยุทธ์ธุรกิจยุคของ e-Government
     โครงการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์นี้ รัฐบาลแบ่งพัฒนาการไว้ 4 ระดับด้วยกัน คือ

ระดับที่ 1 เป็นการสื่อสารทางเดียว โดยเน้นการนำเสนอข้อมูลของภาครัฐบนอินเทอร์เน็ต และจัดระเบียบข้อมูลให้สืบค้นได้โดยง่าย

ระดับที่ 2 เป็นการสื่อสารสองทาง หรือมีอินเตอร์แอกทีฟกับผู้ใช้บริการหรือประชาชน รวมทั้งสามารถทำธุรกรรมพื้นฐานและโต้ตอบกับระบบได้โดยตรง

ระดับที่ 3 เป็นการประสานระหว่างองค์กรอย่างอัตโนมัติ และมีการทำธุรกรรมที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น การเสียภาษี และลงคะแนนเลือกตั้ง เป็นต้น

ระดับที่ 4 นี้  เป็นระดับที่ภาคประชาชน และภาคเอกชนจะสามารถเข้าไปใช้บริการได้ในแบบที่เรียกว่า "ที่เดียว ทันใด ทั่วไทย ทุกเวลา" เรียกว่าเป็น One-Stop Service คือ ไปที่เดียวได้ทุกอย่าง รวมทั้งได้ข้อมูลที่ทันสมัยด้วย และสามารถเข้าถึงระบบได้ทั่วประเทศไทย

     แต่มันอาจจะสร้างผลกระทบต่อภาคเอกชนที่เป็นประเภท SME อย่างมากทีเดียวเพราะนับเป็นการบังคับให้ภาคเอกชนที่ติดต่อค้าขาย กับภาครัฐต้องลงทุน และต้องเริ่มใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างจริงจังและจะทำให้ภาครัฐมีอำนาจต่อรองมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการจัดซื้อ นอกจากนี้ในกรณีที่ภาครัฐใช้ระบบ e-Procurement Center จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ที่ขายสินค้าให้แก่ภาครัฐ จะต้องให้บริการด้านการขนส่งไปยังสำนักงานที่อยู่กันคนละจุดด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรวมศูนย์ในบางกิจกรรมของภาครัฐ เช่น ศูนย์ e-Library หรือ ศูนย์ e-Training จะทำให้เกิดการประหยัดในการสั่งซื้อ หรือซื้อเพียงต้นฉบับเพียงชุดเดียว ก็สามารถ Distribute ไปตามเครือข่ายได้ทั่วทุกหน่วยราชการ ทำให้ภาคเอกชนขายสินค้าได้น้อยลงไปอีก

      ฉะนั้น ภาคเอกชนไม่ควรจะละเลยที่จะเข้าร่วมโครงการที่ภาครัฐพัฒนาให้ ต้องมาคิดหาทางออกกันว่า จะทำอย่างไรดีจึงจะมีชีวิตรอดในยุค e-Government นี้ได้ และทำอย่างไรดีที่จะพลิกปัญหานี้ให้เป็นโอกาสเพื่อจะได้ทำมาหากินต่อไปได้



แหล่งอ้างอิง : ฐานเศรษฐกิจ. กลยุทธ์ธุรกิจยุคของ e-Government . [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://technology.mweb.co.th.12/6/2545

โดย : นางสาว จรัญญา พิทักษ์กุล, ราชภัฎเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ฯ, วันที่ 14 สิงหาคม 2545