โปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ
  •  

                            โปรแกรมระบบห้องสมุด"ทรงไทย"

โปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ "ทรงไทย" ได้รับการพัฒนามา ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2538 ที่ห้องสมุดวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี   ขอนแก่น เป็นแห่งแรก ซึ่งวิทยาลัยได้เชิญผู้เชี่ยวชาญ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นที่ปรึกษา และช่วยพัฒนาห้องสมุดสู่ระบบอัตโนมัติ

        การพัฒนาโปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ"ทรงไทย" ใช้เวลาในการพัฒนา อย่างต่อเนื่อง จากการปฏิบัติงานจริง มีการปรับปรุงแก้ไขและสร้างสรรค์ ทั้งระบบงานหลัก และระบบงานย่อยไว้อย่างครอบคลุมลักษณะงานของห้องสมุด โดยละเอียดการทำงานของโปรแกรมมีศักยภาพในการเรียกใช้ข้อมูลร่วมกัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ มีความสามารถรวดเร็วและแม่นยำ ในการเรียกใช้ข้อมูลที่ต้องการ ทั้งผู้ปฏิบัติงาน และผู้ใช้ห้องสมุด

     ขั้นตอนในการพัฒนาระบบงาน   เริ่มต้นจากที่การศึกษาความต้องการ ของสถาบัน คือที่วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี และทำการวิเคราะห์ระบบอย่างละเอียด หลังจากนั้น จึงเริ่มพัฒนาในส่วนของฐานข้อมูลทรัพยากร นั่นคือการเริ่มพัฒนาในส่วนระบบงานการลงรายการ และการจัดการฐานข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยงานการลงรายการ งานสร้างดัชนีของฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการสืบค้น การกำหนดคำที่ไม่ใช้ในการสืบค้น (stop word) การกำหนดเงื่อนไขในการสร้างดัชนีสำหรับการสืบค้น   ซึ่งในแต่ละงานย่อย ได้รับการทดสอบปรับปรุง จนเป็นที่แน่ใจและเหลือความผิดพลาดให้น้อยที่สุด

       หลังจากระบบงานการลงรายการทางบรรณานุกรมเสร็จสิ้นแล้วได้เริ่มต้นในการพัฒนาระบบงานจ่าย-รับ เพื่อให้สามารถนำข้อมูลทรัพยากรที่ได้จัดทำไว้   ให้ยืมคืนได้โดยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะต้องเตรียมฐานข้อมูลสมาชิกห้องสมุด และการกำหนดเงื่อนไขในการให้บริการของทรัพยากร โดยแยกตามประเภทของทรัพยากร และประเภทของสมาชิกนั้น ถ้าต้องการให้ใช้ระบบบาร์โคดในงานจ่าย-รับ ได้จัดเตรียมฐานข้อมูลสำหรับการเก็บบาร์โคดของสมาชิก และบาร์โคดของทรัพยากรห้องสมุด โดยบาร์โคดดังกล่าวจะต้องสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ หากบาร์โคดดังกล่าวชำรุด ซึ่งทำให้สามารถ ใช้งานโปรแกรมได้ดีขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง ภายในระบบงานจ่าย-รับ ยังประกอบด้วยส่วนสำหรับการตรวจสอบ และทวงต่างๆ

     ระบบงานสำหรับการสืบค้นข้อมูล เป็นส่วนที่สำคัญและจำเป็นจะต้องมี ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้งานได้รับความสะดวก ในการค้นหาทรัพยากรของห้องสมุด โดยอาศัยขอบเขตในการค้นตามที่ต้องการ เช่น การค้นโดยชื่อเรื่อง หัวเรื่อง ผู้แต่ง หมายเลขทะเบียน เลขเรียก และเลขมาตรฐานต่างๆ   ซึ่งจะต้องให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงการค้นได้อย่างสะดวก ไม่ว่าโดยการกำหนดขอบเขตการค้นล่วงหน้า โดยการเลือกเข้าทำการค้นจากเมนู หรือการจำกัดขอบเขตการค้น   แบบบรรทัด เมื่อค้นพบข้อมูลทรัพยากรแล้ว ระบบจะต้องสามารถแสดงสถานภาพของทรัพยากรนั้นได้โดยตรง   เมื่อเสร็จสิ้นการพัฒนาทั้งสามระบบงาน ถือว่าเป็นระบบห้องสมุดที่สามารถใช้งานได้เป็นอย่างดีแล้ว แต่ถ้าขาดระบบจัดหาทรัพยากรแล้ว ทำให้ขาดความสมบูรณ์ของระบบบูรณาการ จึงเริ่มต้นพัฒนาระบบจัดหา โดยให้มีความต่อเนื่องเชื่อมโยง สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันของฐานข้อมูลต่างๆ ซึ่งถือว่าสมบูรณ์ที่สุดของระบบงานห้องสมุดแล้ว

     สำหรับห้องสมุดขนาดใหญ่ซึ่งมีการบอกรับวารสาร และมีการบริการวารสารเป็นจำนวนมาก สมควรที่จะมีระบบการจัดการวารสาร ซึ่งเป็นอีกระบบงานที่มีความซับซ้อนและยุ่งยากที่สุด การพัฒนาของระบบวารสารใช้เวลามากที่สุดของการพัฒนาระบบงานห้องสมุด เพราะต้องการให้มีการเชื่อมโยงและมีความสัมพันธ์กับระบบงานเดิม และภายในงานวารสารยังมีการทำดัชนีบทความ ซึ่งยุ่งยากในการจัดการส่วนนี้ แต่โปรแกรมระบบงานวารสารก็ได้รับการพัฒนาให้เสร็จสิ้น และได้รับการทดสอบจนแน่ใจว่าสามารถใช้งานได้ดี ทั้งระบบ Online, on LAN , on PC และ Webbase

                         รูปแบบการติดตั้งโปรแกรมระบบห้องสมุด "ทรงไทย"

โปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ “ทรงไทย” [ Project A ]

เป็นโปรแกรมที่ออกแบบเป็นชุดการ ทำงานห้องสมุดด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกแก่การปฏิบัติงานประจำ และการให้ บริการแก่ผู้ใช้ ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการออกแบบให้เป็น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ใน “ระบบบูรณาการ หรือ Integrated System” ประกอบด้วย 3 ระบบงานด้วย กัน คือ

1. ระบบงานลงรายการทางบรรณานุกรมและการจัดการฐานข้อมูล
2. ระบบงานสืบค้นข้อมูลด้วยระบบออนไลน์ (OPAC)
3. ระบบงานยืม-คืน

      ทั้ง 3 ระบบงานใน project A นี้ ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ข้อมูลร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับห้องสมุดขนาดเล็กที่มีทรัพยากรไม่มากนัก หรือห้องสมุดที่เริ่มต้นสร้างฐานข้อมูลที่มี อยู่แล้วเป็นอันดับแรก และหากมีความประสงค์จะพัฒนาไปสู่ห้องสมุดอัตโนมัติขนาดกลาง ก็ สามารถเพิ่มระบบงานจัดหาทรัพยากร และระบบงานวารสาร ในภายหลังก็ทำได้

โปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ “ทรงไทย” [ Project B ]

โปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ “ทรงไทย” project B เป็นโปรแกรมที่ออกแบบเป็นชุดการ ทำงานห้องสมุดด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกแก่การปฏิบัติงานประจำ และการให้ บริการแก่ผู้ใช้ ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการออกแบบให้เป็น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ใน “ระบบบูรณาการ หรือ Integrated System” ประกอบด้วย 4 ระบบงานด้วย กัน คือ

1. ระบบงานจัดหาทรัพยากรห้องสมุด
2. ระบบงานลงรายการทางบรรณานุกรมและการจัดการฐานข้อมูล
3. ระบบงานสืบค้นข้อมูลด้วยระบบออนไลน์(OPAC)
4. ระบบงานยืม-คืน

     ทั้ง 4 ระบบงานใน project B นี้ ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ข้อมูลร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับห้องสมุดขนาดขนาดกลางและขนาดใหญ่ที่มีทรัพยากรมากพอสมควร มีรายละเอียด การทำงานที่มากขึ้นกว่า project A และการบอกรับวารสารฉบับประจำยังมีจำนวนไม่มาก อาจจะยัง ไม่จำเป็นต้องมีระบบงานวารสารก็ได้ แต่หากมีความประสงค์จะเพิ่มระบบงานวารสารให้ระบบงาน ห้องสมุดครบสมบูรณ์ในภายหลังก็ทำได้

โปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ “ทรงไทย” [ Project C ]

โปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ “ทรงไทย” project C เป็นโปรแกรมที่ออกแบบเป็นชุดการ ทำงานห้องสมุดด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกแก่การปฏิบัติงานประจำ และการให้ บริการแก่ผู้ใช้ ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการออกแบบให้เป็น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ใน “ระบบบูรณาการ หรือ Integrated System” ประกอบด้วย 5 ระบบงานด้วย กัน คือ

1. ระบบงานจัดหาทรัพยากรห้องสมุด
2. ระบบงานลงรายการทางบรรณานุกรมและการจัดการฐานข้อมูล
3. ระบบงานวารสาร
4. ระบบงานสืบค้นข้อมูลด้วยระบบออนไลน์(OPAC)
5. ระบบงานยืม-คืน

     ทั้ง 5 ระบบงานใน project C นี้ ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ข้อมูลร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับห้องสมุดขนาดขนาดกลางและขนาดใหญ่ที่มีระบบงานหลักครบถ้วนสมบูรณ์ มี ประเภทและรายละเอียดการทำงานซับซ้อน ที่จะต้องอาศัยการตรวจสอบที่แม่นยำมากขึ้น และอย่าง ฉับไว

ระบบงานต่างๆมีดังนี้

ACQUISITION (ระบบการจัดหาทรัพยากร)มีระบบงานย่อยดังต่อไปนี้
   การบันทึกการสั่งซื้อ
   การควบคุมการสั่งซื้อ
   การบันทึกข้อมูลจัดหา
   การบันทึกข้อมูลสำนักพิมพ์หรือตัวแทน
   รายงานการจัดหา
CATALOG (ระบบงานลงรายการทางบรรณานุกรม)มีระบบงานย่อยดังต่อไปนี้
   งานลงรายการทางบรรณานุกรม
   การสร้างดัชนีสำหรับสืบค้น
   การแก้ไขบาร์โคดหรือสถานภาพของทรัพยากร
   การแก้ไขบาร์โคดของสมาชิก
   การจัดการตัวอักษรสำหรับตัดคำ
   การจัดการคำที่ไม่ใช้สืบค้น(stop word)
   รายงานการลงรายการทางบรรณานุกรม
SERIAL (ระบบงานวารสาร)  มีระบบงานย่อยดังต่อไปนี้      

   รายชื่อวารสาร 
   บันทึกข้อมูลบทความในวารสาร
   สร้างดัชนีสำหรับการสืบค้นบทความในวารสาร
   สร้างดัชนีสำหรับการสืบค้นวารสาร
   ทะเบียนรายชื่อของผู้จำหน่าย หรือสำนักพิมพ์
   รายงานเกี่ยวกับวารสาร 
   สอบถามข้อมูลวารสาร
   บันทึกข้อมูลบทความในวารสาร
   สร้างดัชนีสำหรับการสืบค้นบทความในวารสาร
   สร้างดัชนีสำหรับการสืบค้นวารสาร
   ทะเบียนรายชื่อของผู้จำหน่าย หรือสำนักพิมพ์
   รายงานเกี่ยวกับวารสาร 
OPAC (ระบบงานสืบค้นข้อมูลแบบออนไลน์)มีระบบงานย่อยสำหรับการสืบค้นดังต่อไปนี้
   การค้นด้วยคำสำคัญ (Keyword)
   การค้นด้วยชื่อผู้แต่ง (Author)
   การค้นด้วยชื่อเรื่อง (Title)
   การค้นด้วยหัวเรื่อง (Subject)
   การค้นด้วยคำช่วยค้นเพิ่มเติม (Addition)
   การค้นด้วยเลขเรียก (Call Number)
   การค้นด้วยชื่อชุด (Series)
   การค้นด้วยเลขมาตรฐาน (ISBN/ISSN)
   การค้นด้วยเลขระเบียน (ID Number)
   การค้นด้วยปีที่พิมพ์ (Year)
   การสอบถามข้อมูลการยืมและการจอง
   ข้อมูลข่าวสารและประชาสัมพันธ์ของห้องสมุด
CIRCULATION (ระบบงานจ่าย-รับ)มีระบบงานย่อยดังต่อไปนี้
   ยืม/คืน/จอง และแจ้งหาย
   ทะเบียนสมาชิกห้องสมุด
   ตรวจสอบสถานะของสมาชิกห้องสมุด
   ตรวจสอบสถานะของทรัพยาการ
   กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการปรับและการบริการ
   ตรวจสอบรายการค้างส่ง
   ปรับสภาพแฟ้มรายการจ่าย-รับ
   กำหนดคำสั่งการยืมคืนด้วยบาร์โคด
   กำหนดวันหยุดของห้องสมุด
   รายงานสถิติจ่าย-รับ
ระบบงานแฟ้มข้อมูลมีระบบงานย่อยดังต่อไปนี้
   การปรับปรุงแฟ้มรหัสข้อมูล
   การปรับปรุงแฟ้มดัชนีฐานข้อมูล
   การปรับปรุงแฟ้มหลักของระบบงาน
   การสำรองและล้างข้อมูล
   เรียกค้นข้อมูลเก่า
   ลบแฟ้มชั่วคราวตกค้าง
   สร้างและซ่อมแซมแฟ้มข้อมูล
 


  
 

   

ที่มา : http://www.song-thai.com/thai/index.html

โดย : นางสาว virawan bandidthai, ripw., วันที่ 9 สิงหาคม 2545