บทที่ 1 ประชากร
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับประชากร
ประชากร หมายถึง กลุ่มสิ่งมีชีวิตเดียวกันที่อาศัยอยู่ในพื้นที่หนึ่ง ๆ คำว่าประชากรนี้จะใช้กับสิ่มีชีวิตชนิดใดๆก้ได้ เช่นประชากรนก ประชากรเสือ หรือประชากรพืช แต่ในที่นี้เราหมายถึง ประชากรมนุษย์
การที่เราจะศึกษาเกี่ยวกับประชากรเรามักจะศึกษาในเรื่องต่อไปนี้
1. สถานะของประชากร หมายถึง คุณลักษณะของประชากรในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งซึ่งจะประกอบด้วยการกระจายตัวเชิงพื้นที่ ความหนาแน่น ของประชากร ขนาดของประชากร และองค์ประกอบของประชากร
2. การเปลี่ยนแปลงทางประชากร หมายถึง การเปลี่ยนแปลงสถานะของประชากรในพื้นที่หนึ่ง ๆซึ่งปัจจัยภายในกลุ่มประชากรที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้แก่ การเกิด การตาย และการย้ายถิ่น
*********************
สถานะประชากร
1. การกระจายตัวเชิงพื้นที่ของประชากร หมายถึงจำนวนประชากรที่กระจายกันอยู่ในเขตพื้นที่ใด ณ เวลาที่กล่าวถึง ซึ่งนอกจากจะรู้ขนาด(จำนวน) ประชากรของพื้นที่่ที่ศึกษา ณ เวลาที่กำหนดแล้ว ยังจำเป็นต้องรู้ว่า ประชากรของเขตพื้นที่นั้นกระจายตัวอย่างไร
( อาศัยอยู่ที่ใด จำนวนเท่าใด หรือระบุวันเวลา)
และถ้าหากพิจารณาถึงการกระจายตัวของประชากรภายในประเทศต่าง ๆเราจะพบแบบแผนการกระจายตัวของประชากรเป็นกลุ่มๆ โดยจะมีการกระจุกตัวของประชากรอยู่ในเมืองใหญ่ๆและมีการกระจายของประชากรเป็นกลุ่มเล็กๆอยู่ในชนบท และจะพบว่าประชากรส่วนใหญ่จะตั้งถิ่นฐานอยู่ตามที่ราบ ที่ราบลุ่มแม่น้ำหรือบริเวณชายฝั่งทะเล ซึ่งเอื้ออำนวยต่อการทำมาหากินและการคมนาคมขนส่งแต่เมื่องการคมนาคมขนส่งทางบกพัฒนาขึ้นจะมีการกระจายตัวของประชากรไปตามถนนซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมหลัก ๆมากยิ่งขึ้น
สำหรับประเทศไทยก็มีการกระจายตัวของประชากรในทุกภาค โดยจะมีประชากรกระจายตัวอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด รองลงมา คือ ภาคเหนือ
2. ความหนาแน่นของประชากร
เนื่องจากการกระจายตัวของประชากรในพื้นที่ต่าง ๆของโลกจะเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ ทำให้บางพื้นที่จะมีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น บางพื้นที่เบาบางมากหรือไม่มีเลย ความแตกต่างของจำนวนประชากรต่อพื้นที่ในพื้นที่ต่างๆนี้นับเป็นลักษณะที่สำคัญอย่างหนึ่งของประชากร โดยสามารถที่จะแสดงด้วยค่าความหนาแน่นของประชากร มีหน่วยวัดเป็นจำนวนคนต่อหน่วยพื้นที่ ยกตัวอย่าง เ่ช่น ประเทศที่มีประชากรหนาแน่น คือสิงคโปร์ ประชากรเฉลี่ย 6,712.56 คนต่อตารางกิโลเมตร ประเทศที่มีประชากรเบาบาง คือ มองโกเลีย มีประชากรเฉลี่ย 1.5 คนต่อตารางกิโลเมตร
|