กฎหมายในชีวิตประจำวัน2

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันในระดับครอบครัว

ครอบครัว คือ บุคคลที่มาอยู่รวมกันโดยความผูกพันกัน โดย

การสมรส และทางสายโลหิต ซึ่งประกอบด้วยสามี ภรรยา บุตร และญาติ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันในระดับครอบครัวแบ่งออกได้  2 ลักษณะ คือ กฎหมายครอบครัวและกฎหมายมรดก

1. กฎหมายครอบครัว มีสาระสำคัญดังนี้

1.1 การหมั้น จะทำได้เมื่อหญิงชายอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์

1.2 การสมรส จะทำได้เมื่อชายหญิงอายุครบ 17 ปี

บริบูรณ์ เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุอันควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนหน้านั้นก็ได้ สำหรับหญิงที่เคยสมรสแล้วแต่สามีตายหรือหย่าร้าง จะสมรสใหม่ได้เมื่อการสมรสครั้งก่อนสิ้นสุดไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่จะสมรสกับคู่สมรสเดิม

1.3 การหย่า ทำได้ 2 วิธี คือ หย่าที่อำเภอในกรณีที่

คู่สมรสยินยอมพร้อมใจกันแต่ถ้าตกลงกันไม่ได้ก็ฟ้องหย่าต่อศาลเพื่อให้ศาลพิพากษาหย่าได้

1.4 ความสัมพันธ์ระหว่างสามีและภรรยา ในด้านความ

สัมพันธ์ทางทรัพย์สิน กฎหมายได้กำหนดไว้ดังนี้

1.4.1 สินสมรส ได้แก่ทรัพย์สินที่คู่สมรสทำมา

หาได้ระว่างที่อยู่กินเป็นสามีภรรยากันหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรม หรือโดยการยกให้เป็นหนังสือโดยระบุว่าเป็นสินสมรสและรวมทั้งทรัพย์สินที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว

1.4.2 สินส่วนตัว หมายถึงทรัพย์สินที่คูสมรส

ครอบครองก่อนทำการสมรส

1.5 ความสัมพันธ์ระหว่าบิดา มารดา และบุตร

1.5.1 บุตรมีสิทธิใช้นามสกุลของบิดาและเลี้ยง

ดูบิดามารดาที่ชราภาพเป็นการตอบแทน

1.5.2 บิดา มารดา ต้องเลี้ยงดูบุตรและให้การ

ศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่าที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

1.5.3 บิดา มารดา มีสิทธิกำหนดที่อยู่ของบุตร

ทำโทษเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน ให้ทำงานตามสมควรแก่ความสามารถ

1.5.4 บิดา มารด มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของ

บุตรผู้เยาว์

2. กฎหมายมรดก มีสาระสำคัญดังนี้

2.1 มรดก คือทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดจน

สิทธิและหน้าที่ความรับผิดชอบต่าง ๆ

2.2 ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก กฎหมายได้กำหนดไว้

2 ประเภท ดังนี้

2.2.1 ทายาทผู้รับพินัยกรรม คือบุคคลผู้มีสิทธิ

รับมรดกตามข้อกำหนดแห่งพินัยกรรม

2.2.2 ทายาทโดยธรรม คือ บุคคลผู้มีสิทธิรับ

มรดกตามกฎหมาย ในกรณีที่เจ้าของถึงแก่ความตายโดยมิได้ทำพินัยกรรมเอาไว้ ทายาทโดยธรรม ได้แก่ คู่สมรสของผู้ตายที่ยังมีชีวิตอยู่ ผู้สืบสันดานของผู้ตาย บิดามารดาของผู้ตาย เป็นต้น

2.3 การเสียสิทธิในกองมรดก ซึ่งมาจากสาเหตุต่าง ๆ

ดังนี้

2.3.1 กฎหมายจำกัดมิให้รับมรดก

2.3.2 ถูกตัดมิให้รับมรดก โดยเจ้าของมรดก

ต้องกระทำ โดยแสดงเจตนาชัดแจ้งระบุไว้ในข้อกำหนดแห่งพินัยกรรม หรือโดยเป็นหนังสือมอบไว้แก่นายอำเภอ

2.3.3 โดยการสละมรดกโดยสมัครใจของทายาทโดย

ทำหนังสือมอบไว้แก่นายอำเภอ



แหล่งอ้างอิง : ความรู้รอบตัว : อุบลรัตน์ จำรัสแสง และคณะ. สำนักพิมพ์แม็ค, 2543

โดย : นางสาว พรวิจิตร ชาติชำนาญ, คอนสารวิทยาคม, วันที่ 13 กรกฎาคม 2545