พิมพ์ดีดไทย 1


7. การตั้งระยะบรรทัด
ปุ่มตั้งระยะบรรทัดอยู่ทางด้านซ้ายมือของลูกยางใหญ่ และสามารถปรับระยะบรรทัด
ให้ถี่หรือห่างได้ตามความต้องการ มีตัวเลข 1 , 2 , 3 กำกับอยู่ 1 เป็นระยะถี่ 2 เป็นระยะพิมพ์งานทั่วๆไป เรียกว่าระยะบรรทัดคู่ 3 เป็นระยะห่าง
8. ปุ่มกั้นระยะซ้ายและขวา ( Left & Right Margin Stop )
ปุ่มกั้นระยะซ้ายขวามีประโยชน์ในการกำหนดระยะเริ่มต้นบรรทัด และระยะสุดท้าย ก่อนจะกั้นระยะต้องเลื่อนแคร่ให้อยู่ที่กึ่งกลางของเครื่องเสียก่อน เลื่อนปุ่มกั้นระยะซ้ายและขวาไปจนสุดแคร่ทั้งสองข้าง จากริมซ้ายของกระดาษให้เลื่อนปุ่มกั้นระยะซ้ายเข้าไปประมาณ1 ½ - 2 นิ้ว และตั้งปุ่มกั้นระยะหลังให้ห่างจากริมกระดาษด้านขวาเข้าไปประมาณ 1 นิ้ว
อักษรตัวใหญ่ ( PICA ) 1 นิ้ว สามารถบรรจุตัวอักษรได้ 10 ตัวอักษรเดิน
อักษรตัวเล็ก ( ELITE ) 1 นิ้ว สามารถบรรจุตัวอักษรได้ 11 – 12 ตัวอักษรเดิน

ปัญหาที่มักเกิดขึ้นกับผู้ฝึกพิมพ์ใหม่
การได้มีโอกาสฝึกพิมพ์หรือสัมผัสเครื่องพิมพ์ดีดเป็นสิ่งแปลกใหม่และท้าทายความอยากรู้อยากเห็นของผู้ฝึกพิมพ์ เช่น การเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมจากห้องเรียนปกติเข้าสู่ห้องเรียนพิมพ์ดีด ความต้องการอยากทดลองพิมพ์ หรือสัมผัสส่วนต่าง ๆ ของเครื่องพิมพ์ สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องธรรมดาผู้ฝึกพิมพ์ใหม่ และมักเกิดขึ้นโดยที่ผู้เรียนไม่เข้าใจถึงความเสียหายที่จะตามมา จึงทำให้ไม่อาจจะช่วยให้การฝึกทักษะประสบผลสำเร็จได้ ปัญหาต่าง ๆ ที่มักเกิดขึ้น ซึ่งอาจจะสรุปปัญหาสำคัญ ๆ ได้ดังนี้
1. ขาดความรู้เรื่องเครื่องพิมพ์
ผู้ฝึกพิมพ์อาจจะมีความรู้เบื้องต้นแต่เพียงว่า แป้นพิมพ์วางอยู่ ณ จุดใดในเครื่องและมัน
ทำหน้าที่อะไรเท่านั้น ส่วนประกอบอื่น ๆ อาจไม่เข้าใจหรือรู้จักมันดีว่ามีหน้าที่จะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไรกับการพิมพ์สัมผัส และสิ่งที่จำเป็นในแรกเริ่มฝึกพิมพ์ เช่น วิธีการใช้แผงนำกระดาษ การป้อนกระดาษเข้าเครื่อง ลูกยางทับกระดาษ การกั้นหน้า-กั้นหลัง ระยะความกว้างของบรรทัด ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ในเบื้องต้นเสียก่อน ถ้าผู้ฝึกพิมพ์ขาดความรู้ในเรื่องเหล่านี้ ปัญหาที่ติดตามมา ผลการพิมพ์ผิดพลาด ไม่เป็นรูปร่างที่ดี ทำตามคำสั่งของผู้สอนไม่ทัน
2. ความกังวลในการพิมพ์เริ่มต้น
อันมีผลมาจากเหตุในข้อ 1 จะทำให้การปฏิบัติตามคำสั่ง หรือการติดตามบทเรียนไม่ทัน
เพื่อนคนอื่นความกังวลในการพิมพ์จะเกิดขึ้น การฝึกแป้นอักษรใหม่ ๆ ก็จะขาดการต่อเนื่อง สมาธิในการพิมพ์จึงตกต่ำลงได้
3. การบังคับตนเองไม่ดี
เกิดขึ้นจากการจัดระบบประสาทสัมผัสที่ยังไม่สัมพันธ์กัน เป็นเรื่องปกติสำหรับผู้ฝึกพิมพ์
ใหม่ๆ เช่น การควบคุมนิ้วบกพร่อง พิมพ์ทีเดียวหลาย ๆ นิ้ว แป้นอักษรค้างหรือไขว้กัน การเคลื่อนไหวช้า แอบดูแป้นพิมพ์นิ้วก้อยใช้งานไม่ดีพอ สิ่งเหล่านี้ผู้ฝึกพิมพ์จะต้องฝึกฝนปฏิบัติให้ถูกวิธี
4. การเกร็งกล้ามเนื้อ
เกิดขึ้นจากความกังวล การขาดความเคยชิน เช่น เวลาสัมผัสแป้นอักษรนิ้วจะจมลงไป
พร้อม ๆ กัน ข้อศอกกางเก้งก้างหรือขยายห่างจากลำตัว คอเอียง หัวไหล่มีลักษณะยกสูง การเกร็งกล้ามเนื้อเหล่านี้จะมีผลทำให้เกิดการเมื่อยล้าเร็วกว่าปกติ ดังนั้นผู้ฝึกพิมพ์ใหม่ควรวางอริยาบทในท่าที่เหมาะสม เช่น การนั่ง การก้าวนิ้ว การไม่สวมเสื้อผ้าที่คับแน่นจนเกินไป และไม่ควรเข้าฝึกพิมพ์ภายหลังที่ได้ออกกำลังกายมาอย่างหนักแล้ว
5. การขัดแย้งกับระเบียบการพิมพ์
ผู้ฝึกพิมพ์จะต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่าระเบียบในการพิมพ์ต่าง ๆ ที่ผู้สอนได้แจ้งให้
ทราบนั้นเป็นสิ่งที่จะช่วยทำให้กิจนิสัยในการพิมพ์ และการทำงานของเราเป็นระเบียบเรียบร้อย และมีผลรวมไปถึงการใช้เครื่องพิมพ์ที่ถูกวิธี การคลุมเครื่องพิมพ์ด้วยผ้าคลุมหลังจากการเลิกใช้เครื่องหรือการพับผ้าคลุมเก็บให้เป็นระเบียบเป็นสิ่งที่เราจะต้องยอมรับและฝึกให้เป็นกิจนิสัย การเก็บเก้าอี้นั่งเข้าโต๊ะก็เป็นเรื่องที่จะช่วยให้ห้องพิมพ์เป็นระเบียบลดความเสียหายจากการถูกชน กระแทก ซึ่งอาจทำให้เครื่องพิมพ์ตกลงมาจากโต๊ะพิมพ์ได้ สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่เหลือกำลังจะกระทำ แต่ผู้ฝึกพิมพ์บางคนไม่เห็นด้วย ไม่พอใจ และฝ่าฝืนบ่อย ๆ และอาจไม่เข้าห้องเรียนเพราะเกิดการขัดแย้งในเรื่องระเบียบการพิมพ์ได้ในที่สุด







โดย : นาง สว่างจิตร ธานิสพงศ์, นารีนุกูล, วันที่ 15 มิถุนายน 2545