เลือกกินผักประหยัดชีวิต |
ผักที่ซื้อในตลาดไม่มีทางเชื่อใจได้ว่าจะปลอดสารพิษจริง ถ้าอยากกินผักแบบไม่เสี่ยงสารพิษควรกินผักตามฤดูกาล อย่าอุตริกินผักนอกฤดูกาล (กลัวมาก ก็ปลูกกินเองซะ) กินผักตามฤดูกาลได้กำไร 2 ต่อ คือ ประหยัดเงิน เพราะออกตามฤดูราคาจะถูก สองประหยัดชีวิต ได้ผักปนสารพิษน้อยกว่าผักนอกฤดูกาล เพราะผักนอกฤดูกาลจะไม่แข็งแรง ไม่ทนโรคและแมลง คนปลูกเลยต้องอัดสารพิษมากกว่าปกติ เราเลยต้องรับกรรม ดังนั้นเราจึงควรซื้อผผักตามฤดูกาลโดยธรรมชาติ ไหน ๆ ก็ต้องใช้วิธีซื้อกินอยู่แล้ว เช่น คะน้า ปีหนึ่งมีให้กินเพียง 2 เดือน คือ เดือนมกราคม กับ เตือนมิถุนายน เท่านั้น แต่ในตลาดมีขายตลอดปี (ก็เลือกซื้อกินเองก็แล้วกัน)
|
|
|
|
สมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้ทำรายการให้เราเลือกซื้อผักกินตามฤดูกาล จะได้ปลอดจากสารพิษบ้าง (หน่อยก็ยังดี เพราะยุคนี้แฟชั่นยอดฮิต ผักปลอดสารพิษ หมดไปซะแล้ว ประเภทใส่ถุงสวยเก๋ มีเครื่องหมายรับรองคุณภาพปลอดภัย ยังเชื่อไม่ได้ว่าปลอดสารพิษจริง) มาดูกันว่าในแต่ละเดือนควรซื้อผักอะไรกินบ้าง
1. มิถุนายน ผักตามฤดูกาลมี มะเขือยาว ชะพลู คะน้า ดอกกุยช่าย
2. กรกฎาคม ผักตามฤดูกาลมี ผักบุ้งไทย ตำลึง กระเฉด ดอกขจร ผักแว่น
3. สิงหาคม ผักตามฤดูกาลมี มะขามอ่อน หัวปลี ข้าวโพด ผักกระเฉด
4. กันยายน ผักตามฤดูกาลมี บวบ ดอกโสน ผักกวางตุ้ง น้ำเต้า ผักกระเฉด
5. ตุลาคม ผักตามฤดูกาลมี ถั่วพลู มะระ พริกหยวก แห้ว
6. พฤศจิกายน ผักตามฤดูกาลมี ผักกาดขาว กระชาย ขมิ้นขาว มะนาว
|
|
7. ธันวาคม ผักตามฤดูกาลมี ถั่วลันเตา ผักกาดขาวปลี ถั่วแขก ดอกแข มะรุม
8. มกราคม ผักตามฤดูกาลมี คะน้า ขึ้นฉ่าย ช่อสะเดา ดอกแค กระเจี้ยบ ผักการขาวปลี
9. กุมภาพันธ์ ผักตามฤดูกาลมี ผักขม แตงกวา มะเขือเทศ มะดัน พริกยักษ์
10. มีนาคม ผักตามฤดูกาลมี ยอดกระโดน มะม่วงดิบ ใบมะขามอ่อน กวางตุ้ง เห็ดฟาง
11. เมษายน ผักตามฤดูกาลมี หอมหัวใหญ่ กระท้อน ถั่วฝักยาว มะเขือเปราะ
12. พฤษภาคม ผักตามฤดูกาลมี มะเขือเปราะ ถั่วพลู มะนาว มะละกอดิบ
คุณแม่บ้านทั้งหลาย ทำสำเนาผักทั้ง 12 เดือนตัดแปะข้างฝาครัวที่บ้าน เพราะเลือกกินแบบนี้ประหยัดทั้งเงิน ประหยัดทั้งชีวิต แต่ถ้ากลัวจริง ๆ ก็ปลูกกินเองก็แล้วกันจะได้เชื่อแน่ ๆ ว่าปลอดสารพิษ
(จากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 9 มิถุนายน 2545 "แม่ทองต่อ พ่อประหยัด")
|
โดย : นาย องอาจ พรมประไพ, ร.ร.อุตรดิตถ์ดรุณี, วันที่ 9 มิถุนายน 2545 |