แป้นพิมพ์

แป้นพิมพ์ (Keyboard)

แป้นพิมพ์ หรือ (Keyboard) เป็นส่วนหนึ่งของไมโครคอมพิวเตอร์ ที่เราจะต้องใช้บ่อย ถ้าเราแยกองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ก็จะมีองค์ประกอบ 3 ส่วนคือ
1. หน่วยรับข้อมูล หรือ Input Unit
2. หน่วยประมวลผลหรือ Processing Unit
3. หน่วยแสดงข้อมูล หรือ Output Unit
หน่วยที่รับข้อมูลก็ได้แก่ เมาส์ (Mouse) แป้นพิมพ์ (Keyboard) กล้องดิจิตอล เครื่องสแกน (Scanner)และฯลฯ
หน่วยประมวลผล หรือ CPU (Central Pocessing Unit)
หน่วยแสดงข้อมูล ได้แก่ จอภาพ (มอนิเตอร์ (Monitor)) เครื่องพิมพ์ (Printer)และฯลฯ
แป้นพิมพ์มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการที่จะพิมพ์คำสั่ง เพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติงาน จึงน่าจะรู้องค์ประกอบของแป้นพิมพ์ และปุ่มหรือแป้นต่าง ๆ ว่าทำหน้าที่อะไร
ถ้าเราแบ่งแป้นพิมพ์ (keyboard) แบ่งออกได้ 3 ส่วนคือ
1. คีย์พิเศษ (Function Key)
2. คีย์ตัวเลข (Numeric Key)
3. คีย์อักขระ (Character Key)
Function Key หรือ คีย์พิเศษ ประกอบไปด้วย แป้น F1ถึง F12 แป้น F1 มักเป็นแป้นบอกวิธีใช้โปรแกรมนั้นๆ หรือ Help ส่วนแป้นอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับแต่ละโปรแกรม หรือบางโปรแกรมเราสามารถกำหนดค่าแป้น หรือคีย์พิเศษเหลานี้ ได้ตามความต้องการแป้นคีย์พิเศษ มักจะอยู่แถวบนสุดของแป้นพิมพ์
กลุ่มแป้นพิมพ์ด้านขวาสุดจะเรียกว่า Numeric & Edit Key เรามาศึกษากลุ่มแป้นพิมพ์ Numeric Key ก่อน หรือ กลุ่มแป้นตัวเลขซึ่งประกอบด้วยเลข 0-9 ถ้าสังเกตจะเห็นว่าแป้นพิมพ์ทั้งชุดจะวางตัวเลขเหมือนเครื่องคิดเลข และมีแป้นอื่นร่วมคือ Num Lock ใช้สำหรับกดเพื่อให้สามารถใช้ตัวเลขได้ ถ้าเราสังเกตสักนิดจะเห็นว่าสถานะของ Num Lock ทำงาน กดตัวเลขไหนก็จะเป็นตัวเลขนั้น โดยสังเกตจากไฟแสดงที่ มุมขวาตรง Num Lock

แป้น / ( Slack) เป็นแป้นให้เครื่องหมายหาร คงแตกต่างจากเครื่องคิดเลขบ้างในลักษณะที่ไม่ใช้เครื่องหมาย  (หาร) แบบทั่วไป
แป้น * (ดอกจัน) เป็นแป้นให้เครื่องหมายคูณ
แป้น – (ลบ) เป็นแป้นให้เครื่องหมายลบ
แป้น + (บวก) เป็นแป้นให้เครื่องหมายบวก
แป้น Enter หมายถึง รับคำสั่งหรือผลลัพธ์
แป้น . (จุด) หมายถึงให้เครื่องหมายจุด รวมทั้งจุดทศนิยม
แป้น Num Lock ถ้าไม่ได้ใช้แป้นค่าตัวเลขจะไม่แสดงแต่จะแสดงคำสั่งที่อยู่ด้านล่างของแป้น เช่นกด 6 ก็จะให้เลื่อนเคอร์เซอร์ไป 1 อักขระ
เลื่อนมาอีกนิดทางซ้ายมือ จะเห็นกลุ่มปุ่มแป้นอยู่ 13 ปุ่ม ซึ่งอยู่ในกลุ่ม Numeric & Edit Key กลุ่มนี้คือกลุ่ม Edit Key ประกอบด้วย
แป้น Print Screen สั่งพิมพ์ตัวอักษรหรือภาพที่เห็นในหน้าจอ ออกมาทางเครื่องพิมพ์
แป้น Scroll Lock มักกำหนดค่าด้วยโปรแกรมแต่ละโปรแกรม หรือใช้ขัดจังหวะในการทำงาน
ไฟ Scroll Lock มักจะอยู่แถวเดียวกับไฟ Num Lock และ Scroll Lockและ Caps Lock
แป้น Pause หมายถึงหยุด ในกรณีที่ข้อความกำลังไหลในหน้าจอหรือ หยุดเครื่องพิมพ์
ปัจจุบันแป้นพิมพ์สมัยใหม่ได้ตัดปุ่มทั้ง 3 ดังกล่าวออกแล้ว
แป้น Insert หมายถึง แทรกข้อความเพิ่ม มักใช้ในโปรแกรม Words หรือ Dos ถ้าไม่กดปุ่ม Insert ก่อนจะทำให้เกิดการพิมพ์ทับข้อความที่มีอยู่แล้ว ในกรณีอยู่ที่ โปรแกรม Words ถ้าดูที่ Status Bar จะแสดงสถานะ OVR หรือ Insert ขึ้น
แป้น Home หมายถึง ย้ายไปยังจุดเริ่มต้นของบรรทัด
แป้น End หมายถึง ย้ายไปจุดสุดท้ายของบรรทัด
กรณีใช้ร่วมกับ Ctrl + Home เท่ากับย้ายไปจุดเริ่มต้นของเอกสารในกรณีที่ใช้ใน Words
Ctrl + End เท่ากับย้ายไปสุดท้ายของเอกสาร
แป้น Page Up ย้ายตำแหน่งเคอร์เซอร์ขึ้นไปด้านบนทีละ 1 หน้า
แป้น Page Down ย้ายตำแหน่งเคอร์เซอร์ลงไปด้านล่างทีละ 1 หน้า
มองลงด้านล่างของกลุ่ม Numeric & Edit Key จะเห็นกลุ่มแอโรคีย์ มีอยู่ 4 ปุ่ม
แป้นลูกศร ชี้ขึ้นข้างบน  เลื่อนเคอร์เซอร์ขึ้นไป 1 บรรทัดทุกครั้ง

แป้นลูกศรชี้ลงมา  เลื่อนเครอ์เซอร์ลงมา 1 บรรทัดทุกครั้ง
แป้นลูกศรชี้ไปทางซ้าย  เลื่อนคอร์เซอร์ไปทางซ้าย 1 ตัวอักษร
แป้นลูกศรชี้ไปทางขวา  เลื่อนเคอร์เซอร์ไปทางขวา 1 ตัวอักษร

กลุ่มสุดท้าย กลุ่มที่ 3 คือกลุ่ม Character Key กลุ่มนี้มีแป้นเยอะมาก กลุ่มนี้จะเหมือนกับพิมพ์ดีดภาษาไทย และภาษาอังกฤษ การวางแป้นพิมพ์เหมือนกันหมด เป็นมาตรฐาน จะแตกต่างจากแป้นพิมพ์ดีดก็เพียงแต่ว่าจะมีแป้นพิเศษต่าง ๆ เพิ่มเข้ามา เริ่มจากด้านซ้ายมือบนสุด
แป้น Escape (Esc) มีหน้าที่ช่วยในการแก้ไขสถานการณ์ เช่น ทำอะไรผิดก็กด Escape
แป้น Accent Switch ใช้เปลี่ยนสลับภาษาไทย-อังกฤษ โดยกดแล้วสังเกตที่ Task Bar ของจอคอมพิวเตอร์จะแสดง Th หรือ En
แป้น Tab ทำหน้าที่เลื่อนจังหวะการพิมพ์ออกเป็นระยะ เช่น ย่อหน้า เว้นช่อว่างในการทำตาราง
แป้น Caps Lock ใช้ยกแคร่ถาวร กรณีใช้อักขระภาษาอังกฤษตัวใหญ่ ภาษาไทยจะเป็นตัวอักษรแป้นบนหมด Caps Lock จะมีไฟแสงสว่างแสดงเสมอ
แป้น Shift ทำหน้าที่ยกแคร่ชั่วคราว ใช้ได้เฉพาะขณะกดแช่แป้น มีทั้งฝั่งซ้ายและฝั่งขวา
แป้น Control (ctrl) ใช้ร่วมกับแป้นอื่นโดยกดแช่ไว้แล้วกดแป้นอื่นแล้วปล่อยพร้อมกัน มีทั้งฝั่งซ้ายและฝั่งขวา
แป้น Windows หมายถึงสลับจาก Dos ไป Windows
แป้น Alternate (Alt) ใช้ร่วมกับแป้นอื่น ขึ้นอยู่กับแต่ละโปรแกรม เราจะใช้แป้น Control + Alternate + delete เป็นการ Reset เครื่อง
แป้นที่ยาวที่สุด คือ Space Bar ใช้ในการเคาะเว้นวรรค
แป้นที่ใหญ่ที่สุด คือ Enter () หมายถึง รับคำสั่ง หรือปัดแคร่
แป้น Back Space ใช้เลื่อนเคอร์เซอร์ ลบตัวอักษรทางด้านซ้ายมือทีละ 1 ตัวอักษร หรือเลื่อนเคอร์เซอร์ไปด้ายซ้าย ถ้าอ่านแล้วศึกษา แป้นพิมพ์ที่อยู่หน้าท่านไปด้วยก็จะเข้าใจมากขึ้น การใช้แป้นพิมพ์ขึ้นอยู่กับทักษะ การใช้บ่อยๆ จะทำให้เกิดความชำนาญ ผู้ที่มีทักษะในการใช้แป้นพิมพ์ส่วนมากมักจะไม่ละมือจากแป้นพิมพ์ไปใช้ เมาส์เลย เพราะในแป้นพิมพ์สามารถใช้แทนเมาส์ได้เกือบทุกคำสั่ง



โดย : นาย สถาพร อินทร์คำน้อย, นาเยียศึกษา รัชมังคลาภิเษก, วันที่ 9 มิถุนายน 2545