องค์การสหประชาชาติ

องค์การสหประชาชาติ

**ก่อตั้งขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2482 - 2488 (ค.ศ. 1939 - 1945) โดยความร่วมมือของประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา นายแฟรงคลิน ดี รูสเวท์ และนายกรัฐมนตรีแห่งอังกฤษคือ นายวินสตัน เซอร์ชิล แต่คำว่าสหประชาชาตินั้นได้มีการใช้ครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2485 ในเอกสารชื่อว่า "คำประกาศโดยสหประชาชาติ" ซึ่งมีประเทศมหาอำนาจ 4 ประเทศ ลงนามในประกาศฉบับนี้ ได้แก่
1. สหรัฐอเมริกา
2. สหราชอาณาจักร
3. จีน
การประชุมเพื่อจัดตั้งองค์การสหประชาชาติได้จัดขึ้น 5 ครั้ง ได้แก่
1. การประชุมบนเรือออกุสตา ในมหาสมุทรแอตแลนติก เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2484
2. การประชุมที่กรุงมอสโก ประเทศสหภาพโซเวียต เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2486
3. การประชุมที่คฤหาสน์ลัมเบอร์ตันโอคส์กรุงวอชิงตันดี.ชี. ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปี พ.ศ.2487
4. การประชุมที่แหลมไครเมีย เมืองยัลตา ประเทศสหภาพโซเวียต เมื่อปี พ.ศ. 2488
5. การประชุมที่เมืองซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2488
ได้มีการประชุมครั้งสุดท้าย และมีการตกลงก่อตั้งองค์การสหประชาชาติขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยมีสำนักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติอยู่ที่กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกาและสมาชิกเริ่มต้นทั้งสิ้น 51 ประเทศ

วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งองค์การสหประชาชาติคือ
1. รักษาสันติภาพของโลก
2. พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่าง ๆ
3. ทำงานร่วมกันเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่มีฐานะยากจนให้มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสุขภาพอนามัย ความรู้ รวมถึงสิทธิและเสรีภาพ
4. เป็นศูนย์ช่วยเหลือแก่ประเทศ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้

ภาษาที่ใช้ในองค์การสหประชาชาติมี 6 ภาษา ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย สเปน จีน อาระบิก ภาษาทั้ง 6 ภาษานี้จัดเป็นภาษาทางการ แต่ภาษาที่ใช้ในการทำงานจริงนั้นใช้เพียง 2 ภาษา ได้แก่ ัอังกฤษ และฝรั่งเศส โดยที่ตัวแทนของประเทศต่าง ๆ จะต้องพูดภาษาในการทำงานได้ภาษาหนึ่ง จากนั้นคำพูดหรือเอกสารจะถูกแปลออกมาเป็นภาษาทางการทั้ง 6 ภาษา สมาชิกขององค์การสหประชาชาติปัจจุบันมีทั้งหมด 189 ประเทศ ประเทศที่เข้าเป็นสมาชิกหลังสุดคือ ประเทศ Tuvalu เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2543 (ค..ศ.2000) ส่วนประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2489 (ลำดับที่ 54)


(ความรู้รอบตัว ของศิริวรรณ คุ้มโห้)



โดย : นาย วิรัช เครือทอง, เพรักษมาตาวิทยา, วันที่ 21 พฤษภาคม 2545