ยุคของคอมพิวเตอร์

ยุคของคอมพิวเตอร์
การพัฒนาของเครื่องคอมพิวเตอร์ พิจารณาจากอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ แบ่งเป็น 5 ยุก ดังนี้
1. คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1 (พ.ศ.2494 - 2501) เครื่องคอมพิวเตอร์ยุคนี้ใช้หลอดสุญญากาศเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีข้อเสียหลายอย่าง คือ ต้องใช้หลอดสุญญากาศจำนวนมาก ทำให้เครื่องมีขนาดใหญ่ การทำงานต้องใช้กระแสไฟฟ้าจำนวนมาก ทำให้เครื่องเกิดความร้อนสูงและมักเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย และหลอดสุญญากาศยังมีอายุการใช้งานต่ำ ตัวอย่างคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ เช่น UNIVAC I เป็นต้น
2. คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2 (พ.ศ. 2502 - 2513) คอมพิวเตอร์ยุคนี้ใช้ทรานซิสเตอร์ เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้เครื่องมีขนาดเล็กลง ความเร็วในการทำงานสุง ใช้กระแสไฟฟ้าน้อยลง ต้นทุนที่ใช้ในการผลิดลดลง ได้ข้อมูลที่ถูกต้องมากกว่า ยุคนี้ใช้วงแหวนแม่เหล็กเป็นหน่วยความจำหลักและตอนปลายยุคใช้จานแม่เหล็กเป็นหน่วยความจำสำรอง เริ่มใช้ชุดคำสั่งภาษาระดับสูง เช่น ภาษาโคบอล ภาษาฟอร์แทรน ภาษาอัลกอล ตัวอย่างคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ได้แก่ IBM 1620 เป็นต้น
3. คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3 (พ.ศ. 2508 - 2513) คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้วงจรไอซี ซึ่งเป็นสารกึ่งตัวนำที่สามารถบรรจุวงจรกึ่งตัวนำเอาไว้มาก แล้วพิมพ์บนแผ่นซิลิคอน เรียกว่า "ชิป" (Chip) ซึ่งมีขนาดเล็กมาก จึงทำให้เครื่องในยุคนี้มีขนาดเล็กลง เขียนชุดคำสั่งด้วยภาษาระดับสูง และเริ่มมีโปรแกรมสำเร็จรูปใช้งาน ตัวอย่างเครื่องในยุคนี้ ได้แก่ IBM360
4. คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4 (พ.ศ. 2514 - 2523) คอมพิวเตอร์ในยุคนี้จนถึงปัจจุบัน ใช้วงจร LSI (Large-Scale Integrated Circuit) คือ การใช้เทคโนโลยีใหม่ โดยรวมวงจรไอซีจำนวนมากลงในแผ่นซิลิคอนชิป 1 แผ่น ซึ่งทำให้เล็กลงไปอีกมาก และกลายเป็นวงจร VLSI (Very Large -Scale Integrated Circuit) ซึ่งสามารถบรรจุวงจรได้มากกว่า 1 ล้านวงจร และด้วยเทคโนโลยีใหม่นี้ทำให้เกิดแนวคิดในการบรรจุวงจรที่สำคัญสำหรับการทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ลงในชิปตัวเดียว นั่นคือส่วนของ CPU (Central Processing ๊๊Unit) อยู่บนชิปตัวเดียวเรียกว่า "ไมโครโปรเซสเซอร์" ตัวอย่างเครื่องในยุคนี้ ได้แก่ IBM 370 ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ และไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลก คือ Altair 8800 , a\Apple II เป็นต้น
5. คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5 (พ.ศ. 2524 - ปัจจุบัน) ยุคของวงจร VLSI เป็นช่วงที่กำลังพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า "ไมโครโปรเซสเซอร์" ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งทางด้านเทคโนโลยี ทางสถาปัตยกรรมโครงสร้าง และการพัฒนาภาษาที่ใช้กับระบบซอท์ฟแวร์เพื่อให้รับรู้ภาษาพูดของมนุษย์โดยตรง มีหน่วยความจำขนาดมหึมาพอกับการจัดการระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างเพียงพอ ซึ่งต่อไปเครื่องคอมพิวเตอร์จะไม่หยุดทำงานเพราะมีระบบแก้ไขข้อขัดข้องภายในตัวมันเอง และมีความสามารถสูงพอที่จะรับคำสั่งจากภาษาพูดของมนุษย์ได้ จนถือว่าเป็นเครื่องมือเครื่องใช้จำเป็นอย่างหนึ่งภายในบ้าน




โดย : นางสาว อำพร โพธิ์ขาว, เพรักษมาตาวิทยา, วันที่ 19 พฤษภาคม 2545