พริกขี้หนู


พริกขี้หนู
- ชื่ออังกฤษ Bird chilli
- ชื่อวิทยาศาสตร์ Capsicum flutescens Linn.
- วงศ์ Solanaceae
- ประโยชน์ ใช้เป็นยาภายนอก รักษาอาการปวดบวม และใช้ป็นยาภายในช่วยเจริญอาหาร
วิธีใช้ ใช้ผงพริกแห้งทำเป็นขี้ผึ้งหรือละลายแอลกอฮอล์ทา
บอกเล่าเก้าสิบ
พริก จัดอยู่ในสกุลเดียวกับมะเขือต่างๆ และมะเขือเทศ คืออยู่ในตระกูล Solanaceae พริกที่พบมากในประเทศไทยได้แก่ พริกชี้ฟ้า พริกขี้หนู พริกขี้หนูสวน ซึ่งแต่ละชนิดก็แบ่งย่อยเป็นหลายพันธ์ สารสำคัญที่ทำให้มีรสเผ็ดร้อนคือ Capsaicin พบในพริกแทบทุกชนิด รวมทั้งในพริกไทยและขิง ในปริมาณที่แตกต่างกันตามชนิดของพริก ซึ่งCapsaicinนี้ จะอยู่ในรกพริก (บริเวณที่เมล็ดพริกเกาะอยู่)และที่septimส่วนผนังด้านนอกและเมล็ดไม่มีสารนี้อยู่capsaicinออกฤทธิ์โดยทำให้เกิดการ ปลดปล่อยของสารP(substance P)ซึ่งเป็น neurotransmitterที่ส่งผ่านความรู้สึกปวดจากเซลล์ประสาทไปยังสมอง หลังได้รับ capsaicin ซ้ำๆจะทำให้สารPหมดไปทำให้อาการปวดลดลงพริกมีประโยชน์ต่อร่างกาย ทั้งเมื่อรับประทานและเมื่อใช้เป็นยาทาภายนอกประโยชน์ ของพริกเมื่อรับประทานพริกใช้รับประทานเป็นยาขับยาเสมหะ ยาฝาดสมาน ช่วยการย่อย เพิ่มความอบอุ่นในร่างกายและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร และลำไส้เมื่อรับประทานพริก ในช่วงแรกควรรับประทานแต่น้อยแล้วค่อยๆเพิ่มขนาด จะทำให้ทางเดินอาหารค่อยๆปรับตัวรับความเผ็ดร้อนและ ความระคายเคืองของพริก โดยการเพิ่มการหลั่งสารเมือกและสร้างเนื้อเยื่อบุผิวกระเพาะอาหารและลำไส้เพิ่มขึ้นพริกจะลดการเกิดก๊าซที่เกิดจากการ ย่อยอาหารและการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อท้องที่เกิดจากท้องอืดท้องเฟ้อพริกยังใช้ป้องกันไข้หวัดอาจเป็นเพราะว่าพริกอุดมไปด้วยbetacarotene bioflavonoid และวิตามินซี และยังถูกดูดซึมได้ดี การรับประทานพริกก่อนอาหารหรือพร้อมอาหารจะแก้อาการเบื่ออาหารได้เมื่อรับประทานพริก ในรูปน้ำชาหรือรับประทานในรูปอาหาร ในตอนแรกจะทำให้เกิดความเผ็ดร้อนบริเวณริมฝีปากและในช่องปาก แต่ต่อมาจะรู้สึกว่าร่างกายอบอุ่น สบาย ซึ่งความเผ็ดร้อนนี้จะลดลงได้มากด้วยอาหารที่มีมะเขือเทศและอาหารที่มีcasein เช่น นม บางคนที่มีความไวต่อพริกมาก เมื่อรับประทานพริก จำนวนมาก โดยเฉพาะเมื่อเริ่มต้น ไม่เพียงจะทำให้ริมฝีปากและช่องปากเผ็ดร้อน ยังทำให้ระคายเคืองต่อทางเดินอาหารส่วนอื่นด้วย ผลการวิจัย เป็นจำนวนไม่น้อยพบว่าเมื่อรับประทานอย่างถูกวิธีพริกจะไม่ทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารหรือลำไส้ แต่จะช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ อีกด้วยโดยปกติแล้วขนาดรับประทานของพริกในผู้ใหญ่ ในรูปที่เป็นชาชง หรือรูปผงคือ 0.5-3 กรัม/วัน ในสหรัฐอเมริกามีพริกจำหน่ายในรูปบรรจุ แคปซูล ทั้งที่มีพริกอย่างเดียวหรือพริกรวมกับสมุนไพรอื่นๆ เช่น ขิง กระเทียม และ Bilberry ในประเทศไทยมีทิงเจอร์ พริกและยาอมแก้เจ็บคอที่มี ส่วนผสมของพริก คนไทยรับประทานพริกเฉลี่ยแล้วคนละประมาณ 0.93 กิโลกรัม/ปี หรือประมาณ 2.5 กรัม/วัน ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าไม่ต้อง รับประทานพริกเพิ่มในรูปของชาชงหรือแคปซูล
การใช้พริกเป็นยาทาภายนอกเพื่อลดความปวด : จากการที่ capsaicin สามารถลดความรู้สึกปวดได้ จึงมีผู้นำมาใช้เป็นยาทาภายนอก โดยปกติแล้วจะอยู่ในรูปครีม โดยมี capsaicin 0.025-0.075% ใช้บรรเทาอาการปวดเนื่องจากโรคข้ออักเสบ (osteoarthritis และ rheumatiod arthritis) โดยใช้ทา 3-4 ครั้ง/วัน อย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ capsaicin จะเสริมฤทธิ์ของยาแก้ปวดอื่นๆ เช่น methyl salicylate มีผู้พยายามลดการปวดแสบปวดร้อนของพริก โดยใช้ยาผสมชาทาภายนอก เช่น lidocaine หรือ benzocaine คณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาได้ยอมรับ capsaicin เป็นยาที่ใช้ได้ โดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ ซึ่งยาดังกล่าวยังใช้ได้สำหรับอาการปวดเรื้อรัง เช่น อาการปวดประสาทภายหลังการเกิดงูสวัด อาการปวดภายหลังการ ผ่าตัดเต้านมเนื่องจากเนื้องอก อาการปวดประสาทจากเบาหวานผลการทดลองทางคลินิก พบว่า 50%ของผู้ใช้ capsaicinเป็นประจำ นาน4-5เดือน ในรูปครีมที่ใช้ทาภายนอก จะไม่รู้สึกปวดต่อไปอีก 80% ของผู้ใช้สามารถบรรเทาอาการปวดลงได้อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ครีม capsaicin ยังปลอดภัยและมีผลดีต่อการรักษาเรื้อนกวาง
ข้อควรระวัง : ในการใช้คือต้องระวังไม่ให้ผลิตภัณฑ์จากพริกถูกตาหรือแผลเปิด ดังนั้นหลังจากใช้ทาแล้วต้องล้างมือให้สะอาดทันที ถ้าทาแล้วอาการ ระคายเคืองและแดงยังมีอยู่เป็นเวลานาน อาจเกิดเนื่องจากใช้มากเกินไป ต้องลดจำนวนครั้งที่ทาหรือปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร สถาบันวิจัยและพัฒนาองค์การเภสัชกรรมได้พัฒนาเจลพริกเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับทาภายนอก มีตัวยาสำคัญคือ capsaicin 0.025% ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างวิจัยผลการรักษาทางคลินิกเพิ่มเติม ขณะเดียวกันก็มีจำหน่ายให้แก่ผู้ที่สนใจที่ร้านค้าขององค์การเภสัชกรรม




โดย : นาง วิไล นุ่มเฉย, บ้านจั่น, วันที่ 18 พฤษภาคม 2545