1. สาระสำคัญ
การวาดภาพด้วยโปรแกรมเพนท์ต้องเรียนรู้ทักษะและฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องมือต่างๆ จนเกิดความชำนาญ จึงจะสามารถดำเนินการทำโครงงานเพนท์ได้อย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ
2. จุดประสงค์การเรียนรู้
จุดประสงค์ปลายทาง
 มีความรู้และมีทักษะเกี่ยวกับการใช้โปแกรมเพนท์
จุดประสงค์นำทาง
1. นักเรียนสามารถวางแผนการทำโครงงานเพนท์ได้
2. นักเรียนมีทักษะในการใช้โปรแกรมเพนท์วาดรูปภาพได้
3. นักเรียนสามารถประยุกต์ใช้โปรแกรมเพนท์วาดรูปภาพที่ต้องการได้
4. นักเรียนสามารถตัดสินโครงงานได้
3. เนื้อหาสาระ
1. โครงงานเพนท์
2. คำแนะนำเกี่ยวกับหัวเรื่องโครงงาน
3. คำแนะนำเกี่ยวกับข้อกำหนดและเงื่อนไขของโครงงาน
4. คำแนะนำเกี่ยวกับเกณฑ์การตัดสินโครงงาน
4. กิจกรรมการเรียนการสอน
คาบที่ 1.
1. นักเรียนจัดกลุ่มโดยการจับฉลาก แบ่งออกเป็น 9 กลุ่ม กลุ่มละ 5 คน
2. นักเรียนรับใบความรู้ เรื่องโครงงานเพนท์ และศึกษาใบความรู้เรื่องการเขียนโครงการ เพื่อพัฒนา
โครงงานเพนท์
3. นักเรียนฟังคำชี้แจงเกี่ยวกับการทำงานกลุ่ม การช่วยเหลือด้านความรู้แก่สมาชิก ความร่วมมือ
ในการทำกิจกรรมความรับผิดชอบ การแสดงความคิดเห็น การแบ่งหน้าที่การทำงาน
4. นักเรียนแต่ละกลุ่มรับใบงาน เรื่องการเขียนโครงการ เพื่อศึกษาเรื่องโครงงานเพนท์ และศึกษา
ร่วมกัน แล้วอภิปรายกันในกลุ่ม บันทึกผลการอภิปรายแล้วส่งตัวแทนสรุปผลเรื่องโครงงานเพนท์
5. นักเรียนแต่ละกลุ่ม เขียนโครงการ เพื่อพัฒนาโครงงานเพนท์
คาบที่ 2
1. นักเรียนมีโครงงานคอมพิวเตอร์และตรวจแก้ให้ถูกต้องเป็นระยะ เพื่อการทำโครงงานเพนท์ หลังจากได้ศึกษาถึงการเขียนโครงการ เพื่อประยุกต์เข้ากับโครงงานเพนท์ของนักเรียนเอง
2. นักเรียนลงมือปฎิบัติโครงงานเพนท์
คาบที่ 3-คาบที่ 8
นักเรียนร่วมกันปฎิบัติโครงงานเพนท์โดยมีครูเป็นที่ปรึกษาโครงการ
5. สื่อการเรียนการสอน
1. ใบความรู้และใบงาน การเขียนโครงการ เพื่อพัฒนาโครงงานเพนท์
2. ใบงาน การเขียนโครงการ เพื่อพัฒนาโครงงานเพนท์
6 . การวัดผลประเมินผล
1. สังเกตจากการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มแบบเรียนร่วมกันการประเมินการปฏิบัติงานกลุ่มตั้งแต่ 80 %
2. ตรวจใบงาน รายละเอียดและความถูกต้องจากใบงาน การเขียนโครงการ เพื่อพัฒนาโครงงานเพนท์
3. ตรวจและสอบถามถึงแรงบันดาลใจและความสำคัญถึงที่มาของโครงงานนักเรียน
7.กิจกรรมเสนอแนะ
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….…………..……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
8.ข้อเสนอแนะของหัวหน้าสถานศึกษาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
(ตรวจสอบ/นิเทศ/เสนอแนะ/รับรอง)
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….……………………………………………………………………………………………………………………………….……………………………………………………………
9. บันทึกผลหลังการสอน
1. ผลการสอน
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….……………………………………………………………
2. ปัญหา / อุปสรรค
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….…………………………………………………………………………
3. แนวทางแก้ไข
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….……………………………………………..

ลงชื่อ ผู้สอน
(นางสาวชุลีพร ปานธูป)





โดยทั่วไปเค้าโครงงานของโครงงานคอมพิวเตอร์ควรมีองค์ประกอบดังนี้
1. ชื่อโครงงาน
2. ชื่อผู้ทำโครงงาน
3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
4. ระยะเวลาดำเนินงาน
5. แนวคิด ที่มาและความสำคัญ อธิบายว่าเหตุใดจึงเลือกทำโครงงานนี้
โครงงานนี้มีความสำคัญอย่างไร เรื่องที่ทำเป็นเรื่องใหม่หรือมีผู้อื่นศึกษาค้นคว้ามาก่อนบ้างแล้ว
ถ้ามีได้ผลเป็นอย่างไรและเรื่องที่ทำนี้จะขยายเพิ่มเติม ปรับปรุงจากเรื่องที่ผู้ทำไว้อย่างไร
หรือเป็นการทำซ้ำเพื่อประสิทธิภาพของระบบ
6. วัตถุประสงค์
7. หลักการและทฤษฎี อธิบายถึงหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับโครงงาน
8. วิธีดำเนินงาน
 อุปกรณ์ที่ต้องใช้ ระบุว่าวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้มีอะไรบ้าง วัสดุอุปกรณ์มีอยู่ที่ใด
และมีชิ้นใดบ้างที่ต้องจัดซื้อหรือยืมมาจากที่ต่าง ๆ
 กำหนดคุณลักษณะของผลงาน
 แนวทางการศึกษาค้นคว้าและพัฒนา อธิบายเกี่ยวกับการออกแบบและการพัฒนา
 งบประมาณ
9. แผนปฏิบัติงาน
10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
11. สรุปผล
12. เอกสารอ้างอิง

1. การลงมือทำโครงงาน
เมื่อเค้าโครงของโครงงานได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว
ก็เสมือนว่าการจัดทำโครงงานได้ผ่านพ้นไปแล้วมากกว่าครึ่ง ขั้นต่อไป
จะเป็นการลงมือพัฒนาตามขั้นตอนที่วางแผนไว้
2. การเขียนรายงาน
เมื่อทำโครงงานจนได้ข้อมูลอย่างเพียงพอและทำการวิเคราะห์ผล และสรุปผลแล้ว
ขั้นตอนต่อไปที่ต้องทำคือการจัดทำรายงาน ซึ่งจะรวมถึงรายละเอียดต่าง ๆ ในการพัฒนา
และคู่มือการใช้งาน
รายงานโครงงานเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นวิธีสื่อความหมายที่มีประสิทธิภาพ
เพื่อให้ผู้อื่นได้เข้าใจแนวคิด วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า ข้อมูลที่ได้
ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่างเกี่ยวกับโครงงานนั้น ในการเขียนรายงานนั้น
นักเรียนควรใช้ภาษาที่อ่านและเข้าใจได้ง่าย ชัดเจน กระชับ และ
ตรงไปตรงมาให้ครอบคลุมหัวข้อต่าง ๆดังต่อไปนี้
1). ส่วนนำ เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงงานนั้นซึ่งประกอบด้วย
 ชื่อโครงงาน
 ชื่อผู้ทำโครงงาน
 ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
 คำขอบคุณ
 บทคัดย่อ อธิบายถึงที่มาและความสำคัญของโครงงาน วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ
และผลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปต่าง อย่างย่อ (ประมาณ 150-250คำ)
2). บทนำ เป็นส่วนรายละเอียดของเนื้อหาของโครงงานซึ่งประกอบด้วย
 ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
 เป้าหมายของการศึกษาค้นคว้า
 ขอบเขตของโครงงาน
3). หลักการและทฤษฎี เป็นส่วนสรุปข้อมูลที่ได้จากการศึกษาหาข้อมูลหรือหลักการ
ทฤษฎี หรือวิธีการที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาโครงงาน ซึ่งรวมถึงการระบุ
ผลงานของผู้อื่นที่นักเรียนนำมาเปรียบเทียบหรือพัฒนาเพิ่มเติมด้วย
4). วิธีดำเนินการ อธิบายขั้นตอนการดำเนินงานโดยละเอียด พร้อมทั้งระบุปัญหาหรืออุปสรรคที่พบ
พร้อมทั้งวิธีการที่ใช้แก้ใช้ พร้อมทั้งระบุวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการทำงาน
5). ผลการศึกษา นำเสนอข้อมูล หรือระบบที่พัฒนาได้ โดยอาจแสดงเป็นตารางหรือกราฟ
หรือข้อความทั้งนี้ให้คำนึงถึงความเข้าใจของผู้อ่านเป็นหลัก
6). สรุปและข้อเสนอแนะ อธิบายผลสรุปที่ได้จากการทำงาน ถ้ามีการตั้งสมมุติฐาน
ควรระบุด้วยว่าข้อมูลที่ได้สนับสนุนหรือคัดค้านสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือยังสรุปไม่ได้
นอกจากนั้นยังควรกล่าวถึงการนำผลการทดลองหรือพัฒนาไปใช้ประโยชน์
อุปสรรคของการทำโครงงาน หรือข้อสังเกตที่สำคัญ หรือ
ข้อผิดพลาดบางประการที่เกิดขึ้นจากการทำโครงงานนี้ รวมทั้งข้อเสนอแนะ
เพื่อการปรับปรุงแก้ไขหากจะมีผู้ศึกษาค้นคว้าในเรื่องทำนองนี้ต่อไปในอนาคตด้วย
7). ประโยชน์ที่ได้จากการทำโครงงาน ระบุประโยชน์ที่นักเรียนได้จากการพัฒนาโครงการนั้น และประโยชน์ที่ผู้ใช้จะได้รับจากการนำผลงานของโครงการนี้ไปใช้ด้วย
8). บรรณานุกรม รวบรวมชื่อหนังสือ วารสาร เอกสาร และ/ หรือเว็บไซต์ต่างๆ ที่ผู้ทำโครงการใช้ค้นคว้า หรืออ่านเพื่อศึกษาข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ ที่นำมาใช้ประโยชน์ในการทำโครงการนี้ การเขียนเอกสารบรรณานุกรมต้องให้ถูกต้องตามหลักการเขียนด้วย
9).คู่มือการใช้งาน หากโครงงานที่นักเรียนจัดทำเป็นการพัฒนาระบบใหม่ขึ้นมา ให้นักเรียนจัดทำคู่มืออธิบายวิธีการใช้ผลงานนั้นโดยละเอียด ซึ่งประกอบด้วย
 ชื่อผลงาน
 ความต้องการของระบบคอมพิวเตอร์ (ถ้ามี ) ระบุรายละเอียดของเครื่องคอมพิวเตอร์
เพื่อจะใช้ผลงานนั้นได้










โดย : นางสาว ชุลีพร ปานธูป, ทุ่งกะโล่วิทยา, วันที่ 18 พฤษภาคม 2545