เริ่มเรียนการถ่ายภาพ7

กระบวนการทัลบอทไทพ์ ( Talbotype ) หรือคาโลไทพ์ ( Calotype )
วิลเลียม เฮนรี่ ฟอกซ์ ทัลบอท ( William Henry Fox Talbot ค. ศ. 1800 - 1877 ) นักวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้ทดลองค้นคว้าเกี่ยวกับสารเคมีไวแสงที่จะนำมาฉาบลงบนกระดาษมาตั้งแต่ปี ค. ศ. 1833 จนกระทั่งในปี ค. ศ. 1835 เขาได้ค้นพบว่า เงินคลอไรด์ ( Silver Chloride ) เป็นสารที่มีความไวต่อแสงสว่าง ซึ่งสามารถฉาบลงบนกระดาษได้ ทำให้ได้กระดาษไวแสงที่จะนำไปอัดภาพ เขาได้ทดลองนำใบไม้ ขนนก มาวางทับกระดาษไวแสง พบว่า ส่วนที่วัตถุทับอยู่จะเป็น สีขาว แต่ส่วนที่ถูกแสงสว่างจะเป็นสีดำ แล้วจึงนำไปล้างในสารละลายเข้มข้นของโซเดียมคลอไรด์ ได้ภาพที่เรียกว่า ภาพโฟโตเจนิค
ดรออิ้ง ที่มีลักษณะเป็นสีตรงข้ามกับต้นแบบคือ ขาวเป็นดำ และดำเป็นขาว หรือที่เรียกว่า ภาพเนกาตีฟ ในปัจจุบันซึ่งทัลบอทใช้เป็นต้นแบบในการอัดภาพ ภาพต่อๆ มาจะเป็นภาพโพสิตีฟ ฉะนั้นวิธีการของทัลบอทจึงดีเท่ากระบวนการของดาร์แกโรไทพ์ ตรงนี้สามารถอัดภาพได้หลายภาพตามต้องการ แต่ก็มีข้อด้อยตรงที่เมื่อเก็บไว้นาน ๆ สีของภาพจะซีดจางลง
ต่อมาทัลบอทได้ปรับปรุงกระบวนการของเขาหลายขั้นตอนทั้งการถ่ายและการล้างทำให้ได้ภาพที่ดีขึ้นเท่าเดิม ซึ่งเขาตั้งชื่อกระบวนการนี้ว่า คาโลไทพ์ ( Calotype ) ซึ่งแปลว่า ความประทับใจในภาพที่สวยงาม แต่เพื่อน ๆ ของเขาแนะนำว่าควรใช้ชื่อ ทัลบอทไทพ์ (Talbotype ) ในปี ค. ศ. 1844 ทัลบอทได้เผยแพร่ผลงานของเขาโดยเขียนหนังสือ " The pencil of Nature " แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการถ่ายภาพ ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก
ภายหลังมีผู้ดัดแปลงแก้ไขวิธีการทัลบอทไทพ์ให้ดียิ่งขึ้นเป็นลำดับทำให้ได้ภาพที่มีสีคงทนกว่าเดิมเป็นที่นิยมมากขึ้น





กระบวนการเวทเพลท
ในปี ค. ศ. 1841 เฟรดเดอริค สก็อต อาร์เชอร์ ( Frederiok Scott Archer ) ช่างแกะสลักชาวอังกฤษ ได้ค้นพบวิธีการใหม่ในการถ่ายภาพ โดยใช้เพลทเปียก หรือเวทเพลท ( Wet plate ) โดยใช้สารละลายที่เรียกว่า collodion หรือเซลลูโลสไนเตรท ( Cellulose Nitrate ) ลักษณะเป็นของเหลวข้นทาลงบนแผ่นแก้ว ซึ่งใช้เป็นฐานรองรับหรือเพลท ( plate ) จากนั้นนำไปแช่น้ำยาเงินไนเตรทประมาณ 5 นาที ซึ่งขั้นตอนนี้ต้องทำในห้องมืด แล้วจึงนำแผ่นกระจกที่ได้และยังเปียกอยู่บรรจุลงกล้องเพื่อถ่ายภาพ จากนั้นจึงนำไปล้างเพื่อสร้างภาพด้วยน้ำยาแกลลิกแอซิด ( Pyrogallic Acid ) หรือเฟอรัสซัลเฟด ( Ferrous Sulphate ) และล้างน้ำยาไฮโปเพื่อคงสภาพ



ขั้นสุดท้ายคือการทำให้แห้งโดยการอังเปลวไฟอ่อนๆ แล้วฉาบซ้ำด้วยน้ำยารักษา ( varnish ) เพื่อป้องกันการขีดข่วนและเก็บไว้ได้นาน เพราะการถ่ายภาพโดยวิธีนี้ต้องถ่ายในขณะที่เพลทยังเปียกอยู่ จึงเรียกว่า " กระบวนการเพลทเปียก " ( Wet plate Process ) หรือกระบวนการโคโลเดียนบนแผ่นแก้ว ( Wet Collodion Process on Glass ) เมื่อกระบวนการเวทเพลทนี้ได้แพร่หลายออกไปภายหลังมีการใช้โลหะทำเป็นฐานวัสดุไวแสงแทนแก้วทาด้วยสีดำหรือสีช๊อกโกแล็ต ตั้งชื่อใหม่ว่า มิเลนโนไทพ์ ( Melainotype ) บางคนเรียน เฟอร์โรไทพ์ ( Ferrotype ) หรือทินไทพ์ (Tintype)



โดย : นางสาว สมควร เพียรพิทักษ์, กรมวิชาการ, วันที่ 10 พฤษภาคม 2545