การเดินทางของทองคำในประเทศไทย

ราว 2,000 ปีก่อนคริสตกาล ได้มีการค้นพบดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยสินแร่ทองคำมหาศาล ซึ่งที่นั่นได้รับการขนานนามว่า "ดินแดนสุวรรณภูมิแหลมทอง"
พ.ศ. 543 คนไทยสมัยอ้ายลาว เริ่มมีการหาแร่ทองแดง , เหล็ก , ตะกั่ว , เงิน และทองคำ และต่อจากนั้นอีกประมาณ 500 ปี ซึ่งตรงกับสมันทวารวดี , ศรีวิชัย ,ลพบุรี เรื่อยมาจนถึงสมัยสุโขทัยผู้คนเริ่มรู้จักนำทองคำมาประดิษฐ์เป็นรูปเคารพ เครื่องใช้ เครื่องประดับ และทองคำได้กลายเป็นสินค้าที่มีการซื้อขายตามท้องตลาด อีกทั้งยังมีการใช้ทองคำเป็นเงินตราในการซื้อสินค้าอื่น ๆ




ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 1893 - 2310 สมัยกรุงศรีอยุธยา คือยุคของทองคำ มีการนำทองคำมาใช้อย่างแพร่หลาย บ้านเมืองเหลืองอร่ามด้วยสีทอง แต่ทองคำก็ยังจำกัดใช้เฉพาะในราชสำนักเท่านั้น และในช่วงเวลานี้เอง ชาวกรุงศรีอยุธยาได้มีการทำการค้าทองคำกับชาวตะวันตก คือ โปรตุเกส เป็นครั้งแรก
พ.ศ. 2233 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงส่งเสริมกิจการทองคำ โดยทรงพระกรุณาให้วิศวกรเหมืองทองจากฝรั่งเศสเดินทางมาสำรวจหาแหล่งทองคำในสยาม
ในปี พ.ศ. 2290 แผ่นดินพระเจ้าบรมโกศมีบันทึกไว้ในพงศาวดารว่า ได้ค้นพบแร่ทองคำที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ครั้งนั้นได้โปรดให้ทำการร่อนแร่ทองคำ จวบจนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2403 ช่างทองชาวจีนจากเมืองกวางตุ้งได้เข้ามาเป็นช่างทองหลวงในรัชกาลที่ 4 และทรงพระราชดำริให้สร้างเงินตราสยามเป็นเหรียญเงิน และเหรียญทอง อีกทั้งยังทรงกำหนดค่าอัตราการแลกเปลี่ยนทอง และกำหนดคุณภาพของทองคำเป็นเนื้อทองด้วย
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการประกาศแหล่งแร่ทองคำใหม่ อีกทั้งยังมีการเปิดร้านค้าทองรูปพรรณเป็นครั้งแรก เกิดการพัฒนาเทคนิคใหม่ ๆ และทองคำเริ่มเผยแพร่สู่สามัญชนกระทั่งถึงปัจจุบัน.



โดย : นาย ธนนท์ สุทธิกุล, ร.ร.ภูเก็ตวิทยาลัย, วันที่ 18 พฤศจิกายน 2544