เรียนสอนทางไกลผ่านคอมพิวเตอร์

บทคัดย่อ
ในยุคสังคมข่าวสาร สารสนเทศและวิทยาการต่าง ๆ ได้พัฒนาก้าวหน้าไปมากทั้งปริมาณ รูปแบบ และความหลากหลายของเนื้อหาวิชา ในขณะเดียวกันเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสาร ก็เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว การจัดการเรียนการสอนจึงต้องพัฒนาให้รองรับกับความก้าวหน้าดังกล่าว และสามารถสนองตอบผู้เรียนได้อย่างกว้างขวางและตรงความต้องการมากยิ่งขึ้น
ซึดี-รอม (Compact Disc-Read Only Memory) ซีดี-รอม เป็นสื่อที่สามารถเก็บบรรจุสารสนเทศได้จำนวนมหาศาล ซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถบรรจุสารสนเทศจากจานบันทึกขนาด 3.5 นิ้ว ได้ประมาณ 450 แผ่น ทั้งยังสามารถบรรจุได้ทั้งเนื้อหาวิชา ภาพ เสียงและวิดีทัศน์ และหากผู้เรียนต้องการทบทวนบทเรียนก็สามารถทำได้ด้วยตนเองตามเวลาที่สะดวก
อินเทอร์เนต (Internet) ระบบอินเทอร์เนตได้เข้ามามีบทบาทในด้านการศึกษามาก และมีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะการสอนผ่านระบบ World Wide Web บนอินเทอร์เนต ผู้เรียนจะต้องเข้าไปสืบค้นหาสารสนเทศ จากแหล่งข้อมูลในระบบอินเทอร์เนต ซึ่ง World Wide Web เป็นส่วนหนึ่งจึงถือว่าอินเทอร์เนตเป็นเครือข่ายเพื่อการศึกษา และเป็นแหล่งข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพราะเป็นการเชื่อมคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน นอกจากนี้นักศึกษายังสามารถลงทะเบียนเรียนผ่านระบบได้โดยสะดวก รวมทั้งสามารถปฏิบัติสัมพันธ์กับผู้สอนและเพื่อนนักศึกษาด้วยกันได้ด้วย
บริการที่ใช้ในระบบอินเทอร์เนต มีดังนี้
1) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Miail) สามารถใช้ได้ในส่วนของการส่งเอกสารการเรียนการสอน การบ้าน การถามตอบ กับผู้สอนหรือเพื่อนร่วมวิชาคนอื่น ๆ
2) แหล่งข้อมูล (Information Sources) สามารถค้นคว้าสารสนเทศจากฐานข้อมูลต่าง ๆ (Remote Databases) ที่เชื่อมกันเป็นเครือข่ายทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วและสะดวก การสืบค้นจากแหล่งข้อมูลในระบบอินเทอร์เนตจะใช้ระบบ World Wide Web เข้ามาดำเนินการ ผ่านโปรแกรมที่เรียกว่า บราวเซอร์ (Netscape หรือ Internet Explorer) ซึ่งจะรวมสื่อทุกอย่างไว้ด้วยกัน ทั้งตัวอักษร ภาพ เสียง และวิดีทัศน์ นอกจากนี้ยังสามารถจัดสอบผ่านระบบ World Wide Web ได้ โดยกำหนดสถานที่ให้ผู้เรียนเข้ามาสอบ ณ สถานที่ที่จัดให้
3) กลุ่มแลกเปลี่ยนข่าวสารและสนทนา (Discussion Groups and Listservs) ผู้เรียนสามารถจัดตั้งกลุ่มผู้สนใจในหัวข้อนั้น ๆ หรือสมัครเข้าเป็นสมาชิกกับกลุ่มอภิปราย เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันสมาชิกสามารถตั้งหัวข้อที่กำลังเรียน ข้อเสนอแนะหรือ ข้อคิดเห็น คำถามต่าง ๆ ที่ได้ซักถามจะถูกส่งให้สมาชิกอย่างทั่วถึง ผู้เรียนจะได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ได้คำตอบและได้แง่คิดต่าง ๆ เพิ่มขึ้น
4) การประชุมผ่านระบบอินเทอร์เนต หรือการประชุมทางไกล (Internet Conferencing หรือ Tele-Conferencing) การประชุมทางไกลเป็นการเชื่อมโยงการสนทนาแพร่ภาพ จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งหรือหลายจุดในเวลาเดียวกัน โดยผ่านสายโทรศัพท์หรือดาวเทียมหรือเส้นใยนำแสง ทำให้การเรียนทางไกลมีบรรยากาศเหมือนในห้องเรียนปกติมากขึ้น ทั้งยังเอื้อให้สามารถสอนผู้เรียนได้คราวละหลาย ๆ จุด
ที่มา : ชัยยงค์ พรหมวงศ์ "STOU Distance Education System : A New Vision" บรรยาย ณ ห้องประชุม 5209 อาคารสัมมนา 1 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช วันที่ 5 มากราคม 2543


โดย : คุณ กมลศรี ฤกษ์สมุทร, , วันที่ 28 เมษายน 2545