เต่ามะเฟือง |
ปัจจุบันเหลือสัตว์เลื้อยคลานอยู่ในท้องทะเลเพียงสองชนิดคืองูทะเลและเต่าทะเล เต่าทะเลมีมาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์หรือประมาณหนึ่งร้อยล้านปีมาแล้ว แต่ลักษณะของมันไม่แตกต่างจากบรรพบุรุษที่ปรากฏอยู่ตามซากฟอสซิลมากนัก ในโลกนี้มีเต่าทะเลขนาดใหญ่อยู่เจ็ดพันธุ์ พันธุ์ที่พบบนเกาะภูเก็ตในทะเลอันดามันมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Dermochelys coriacea หรือที่คนไทยเรียกว่า เต่ามะเฟือง ซึ่งสังเกตุรูปร่างได้ง่าย เพราะเหมือนรถโฟล์ค กระดองไม่แข็งเหมือนเต่าทั่วไปแต่กลับเป็นหนังนุ่มๆมีเส้น พาดตามยาวจากหัวจรดหางเจ็ดเส้น ตัวเมียที่เคยพบมีกระดองขนาดยาวสองเมตรและนักถึงครึ่งตัน ช่วงฤดูวางไข่ของเต่าในโลกนี้แตกต่างกันไปและมีกระแสน้ำทะเลเป็นส่วนกำหนดด้วย ปกติเต่ามะเฟืองเป็นสัตว์สันโดษ แต่เดือนตุลาคมถึงเดือนเมษายนจะมาว่ายน้ำชุมนุมกัน นอกฝั่งทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะภูเก็ตเป็นกลุ่มราว 40 ถึง 100 ตัว เพื่อผสมพันธุ์ ตัวเมียที่มีไข่เต็มท้องจะอาศัยน้ำขึ้นตอนกลางคืนว่ายน้ำขึ้นฝั่งลาดชันใกล้บริเวณทะเลน้ำลึก ( ไม่เคยเห็นเต่าตัวผู้ขึ้นมาบนบกเลย )
|
|
|
|
มันจะเลือกหาดทรายที่สงบและไม่มีสิ่งรบกวนเป็นที่วางไข่เมื่อคลานถึงบริเวณที่ทรายแห้ง น้ำทะเลขึ้นไม่ถึงและไม่มีพืชขึ้นปกคลุม มันจะใช้ขาหน้าเกลี่ยทรายออกเป็นแอ่ง ตื้นๆเพื่อเป็นที่ฝังตัวแล้วใช้ขาหลังขุดหลุมจนลึก 50 ถึง 60 เซ็นติเมตรหรือ จนขาหยั่งไม่ถึงหลุมทรงแจกันคอแคบแต่มีพื้นที่ภายในกว้างช่วยป่องกันไข่เต่าขนาดเท่าลูกปิงปองที่ออกคราวละ 50 ถึง 140 ฟอง จากทั้งสัตว์อื่นและความร้อนจากแสงแดดที่อาจจะแรงจนทำให้ไข่แห้งไม่ฟักเป็นตัว ในแต่ละฤดู เต่าอาจจะผสมพันธุ์และวางไข่ได้ถึงเก้าครั้งโดย เว้นช่วงห่างตั้งแต่ 9 ถึง 14 วัน ตลอดเวลาสามสิบนาทีวางไข่เต่าจะส่งเสียงถอนหายใจ น้ำตาที่ไหลช่วยให้ดวงตาชุ่มชื้นล้างทรายที่เปรอะ เปื้อน และ ช่วยหลั่งเกลือออกจากร่างกาย เมื่อวางไข่เสร็จแล้วแม่เต่าจะกลบหลุมและใช้หน้าอกกดอัดทรายให้แน่น ใช่ขาหน้าเกลี่ยทรายลงกลบแอ่งที่ฝังตัวไม่ให้เห็นร่องรอย และสุดท้ายแม่เต่าที่เหนื่อยหมดแรงจึงหันหลังกลับและค่อยๆคลานลงสู่ทะเล หลังจากนั้นอีก 60 วันไข่จะฟักเป็นตัวลูกเต่าเกิดใหม่ขยับตัวอีกสี่ห้าวันก็ขึ้นมาถึงผิวทรายรอจนฟ้ามืด ให้อุณหภูมิเย็นลงแล้วจึงโผล่พ้นทรายและคลานกันอย่างกระฉับกระเฉงมุ่งไปลงทะเล ทันทีที่ลงน้ำ ลูกเต่าจะตะเกียกตะกายว่ายน้ำอย่างบ้าคลั่งไม่หยุดเป็นเวลาสองหรือสามวันเพื่อไปทะเลเปิด
|
|
กระแสน้ำในมหาสมุทรช่วยพาลูกเต่าไปหาแหล่งที่มีสาหร่ายทะเล เคยมีการประเมินไว้ว่า มีลูกเต่าเพียงร้อยละหนึ่งเท่านั้นที่รอดชีวิตจนเจริญเติบโตเป็นตัวใหญ่ ตั้งแต่ออกจากหลุมคลานลงสู่น้ำทะเลลูกเต่าต้องเสี่ยงชีวิตตลอดทาง ต้องเป็นอาหารของสัตว์ต่างๆ ตาย เพราะเชื้อราและแบคทีเรียเมื่อลงทะเลลูกเต่าต้องเผชิญกับถุงพลาสติกมลพิษสมัยใหม่ที่ลอยอยู่ในท้องทะเลเหมือนแมงกระพรุน การประมงที่ใช้แหอวนก็ทำให้เต่าไปติดอยู่และตาย แต่สาเหตุใหญ่ที่ทำให้ประชากรของเต่าลดลงก็เพราะการบริโภคของมนุษย์ นักท่องเที่ยวโดยเฉพาะชาวญี่ปุ่นและชาวจีนชอบรับประทานไข่เต่ามากที่สุด เพราะเชื่อว่ามีสารกระตุ้นความต้องการทางเพศ ส่วนที่ประเทศมาเลเซียนักท่องเที่ยวเป็นพันๆรายรบกวนจนเต่าหนีไปวางไข่ที่อื่น ที่ประเทศอินโดนีเซียมีการล่าเต่าเพื่อกินเนื้อ ใช้น้ำมันทำยา จุดตะเกียง และเคลือบเงาเรือ โชคดีที่ชาวบ้านส่วนมากตามชายฝั่งของเกาะภูเก็ตเป็นชาวมุสลิมซึ่งไม่กินเนื้อเต่า เพราะเป็นข้อห้ามของศาสนา ในประเทศไทยต้องขอสัมปทานเก็บไข่เต่าในบางพื้นที่และผู้รับสัมปทานต้องฟักไข่จำนวนหนึ่งและปล่อยลูกเต่ากลับคืนสู่ธรรมชาดิชะตากรรมของเต่าทะเลกำลังตกอยู่ในอันตราย ส่วนหนึ่งเนื่องจากสาธารณชนไม่ได้ตระหนักถึงเพื่อการปกป้องเต่าทะเล จงอย่าสนับสนุนการค้าผลิตภัณฑ์จากเต่าทะเลตั้งแต่ พ.ศ. 2517 ทางการถือว่าการฆ่าเต่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ดังนั้นจงส่งบทความนี้ต่อให้เพื่อนของคุณเพื่อกระจายข่าวให้ทราบ และช่วยสอดส่องดูแลป้องกันการละเมิดกฎหมายนี้
ที่มา The Greater Phuket Magazine
|
โดย : นาย ณัฐกร พินโน, โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย, วันที่ 18 พฤศจิกายน 2544 |