เรื่องน่ารู้


เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านของเราที่พบเห็นได้บ่อยคือ พัดลม
พัดลมแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ พัดลมตั้งโต๊ะ พัดลมตั้งพื้น พัดลมติดผนัง ซึ่งทั้งหมดมีหลักการของการทำงานคล้ายคลึงกัน
ส่วนประกอบและการทำงาน
ส่วนประกอบหลักของพัดลม แบ่งออกเป็น 4 ส่วนใหญ่ ๆ คือใบพัดและตะแกรงคลุมใบพัด มอเตอร์ไฟฟ้า สวิตช์ควบคุมการทำงาน และกลไกที่ทำให้พัดลมหยุดกับที่หรือหมุนส่ายไปมา พัดลมจะทำงานได้เมื่อกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบ และเมื่อกดปุ่มเลือกให้ลมแรงหรือเร็วตามที่ผู้ใช้ต้องการ กระแสไฟฟ้าจึงไหลเข้าสู่ตัวมอเตอร์ ทำให้แกนมอเตอร์หมุน ใบพัดที่ติดอยู่กับแกนก็จะหมุนตามไปด้วยจึงเกิดเป็นลมพัดออกมา
การใช้งานอย่างถูกวิธีและประหยัดพลังงาน
พัดลมตั้งโต๊ะจะมีราคาต่ำกว่าพัดลมตั้งพื้น และใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำกว่า ทั้งนี้เพราะมีขนาดมอเตอร์และกำลังไฟต่ำกว่า แต่พัดลมตั้งพื้นจะให้ลมมากกว่า ดังนั้นในการเลือกใช้จึงมีข้อที่ควรพิจารณา ดังนี้


. พิจารณาตามความต้องการและสถานที่ที่ใช้ เช่น ถ้าใช้เพียงคนเดียว หรือไม่เกิน 2 คน ควรใช้พัดลมตั้งโต๊ะ
 อย่าเสียบปลั๊กทิ้งไว้ โดยเฉพาะพัดลมที่มีระบบรีโมทคอนโทรล เพราะจะมีไฟฟ้าไหลเข้าตลอดเวลา เพื่อหล่อเลี้ยงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
 ควร เลือกใช้ความแรงหรือความเร็วของลมให้เหมาะกับความต้องการ และสถานที่เพราะหากความแรงของลมมากขึ้นจะใช้ไฟฟ้ามากขึ้น
 เมื่อไม่ต้องการใช้พัดลมก็ควรรีบปิด เพื่อให้มอเตอร์ได้พักและไม่เสื่อมสภาพเร็วเกินไป
ควรวางพัดลมในที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก เพราะพัดลมใช้หลักการดูดอากาศจากบริเวณรอบ ๆ ทางด้านหลังของตัวใบพัด แล้วปล่อยออกสู่ด้านหน้า เช่น ถ้าอากาศบริเวณรอบพัดลมร้อนอับชื้น ก็จะได้ลมในลักษณะร้อนและอับชื้นเช่นกัน นอกจากนี้มอเตอร์ยังระบายความร้อนได้ดีขึ้น ไม่เสื่อมสภาพเร็วเกินไป




การดูแลรักษา
การดูแลรักษาพัดลมอย่างสม่ำเสมอจะช่วยทำให้พัดลมทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ และยังช่วยยืดอายุการทำงานให้ยาวนานขึ้นโดย มีวิธีการดังนี้
 หมั่นทำความสะอาดตามจุดต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใบพัด และตะแกรงครอบใบพัด อย่าให้ฝุ่นละอองเกาะจับ และ ต้องดูแลให้มีสภาพดีอยู่เสมออย่าให้แตกหักหรือชำรุด หรือโค้งงอผิดส่วนจะทำให้ลมที่ออกมามีความแรงหรือความเร็วลดลง
 หมั่นทำความสะอาดช่องลมตรงฝาครอบมอเตอร์ของพัดลม ซึ่งเป็นช่องระบายความร้อนของมอเตอร์ อย่าให้มีคราบน้ำมันหรือฝุ่นละอองเกาะจับ เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพของมอเตอร์ลดลง และสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น


ที่มา: กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม


โดย : นาง พรพิมล เอมโกษา, โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย, วันที่ 25 เมษายน 2545