ฟ้าทะลายโจร

ฟ้าทะลายโจร
ชื่อสามัญ น้ำลายพังพอน , สามสิบดี(ร้อยเอ็ด), ฟ้าสะท้าน(พัทลุง), เมฆทะลาย(ยะลา),
คีปังฮี , ชวงชิมน้อย , โข่งเช่า(จีน) The Creat , Creyat Root, Halviva, Kariyat, Kreat
ชื่อวิทยาศาสตร์ Andrographis paniculata(Burm) Wall.ex Ness วงศ์ Acanthaceae





ลักษณะ เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรง ส่วนปลายกิ่งเป็นสี่เหลี่ยม สูง 1-2 ฟุต สีเขียว ใบเดี่ยวรูปหอกเรียวปลายแหม ผิวเป็นมันเรียบสีเขียว ดอกเล็กๆ สีขาวมีแต้มสีม่วง เป็นหลอดปลายแยก 5 กลีบ เป็นรูปปากบนและล่าง ผลรูปกระสวยกลมยาวเรียวสีเขียว เมื่อแก่จะแตกออกเป็นสองซีก ปลูกเป็นไม้ประดับ และทำยา



สรรพคุณ
ทั้งต้น รสขม รับประทานแก้ไข้ แก้หวัด แก้ต่อมทอนซิลอักเสบ แก้ปอดอักเสบ แก้บิด แก้ท้องเดิน ต้มกับเบญจมาศสวนดื่มแก้ไส้ติ่งอักเสบ ลดความดันเลือด ใช้แทนยาปฏิชีวนะได้ ไม่ควรใช้ติดต่อกันนานเกินไป เนื่องจากฟ้าทะลายโจรจะทำลายจุลชีพที่มีประเโยชน์ในกระเพาะมากไป ผู้ที่มีความดันต่ำ เป็นโรคหัวใจ ไม่ควรใช้
ใบ รสขม บดผสมน้ำมันพืชทาแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ใบสด นำมาเคี้ยวกลืนน้ำแก้คออักเสบ เจ็บคอ

ที่มา: เรียบเรียงจาก วุฒิ วุฒิธรรมเวช สารานุกรมสมุนไพร รวมหลักเภสัชกรรมไทย



โดย : นาย ธีระ โอ่งวัลย์, อุตรดิตถ์ดรุณี, วันที่ 21 เมษายน 2545