ไม้ทุกชนิดลอยน้ำได้จริงหรือไม่

ไม้ทุก ๆ ชนิดลอยน้ำได้จริงหรือไม่do all plants fioat over the water
ความหนาแน่นของไม้นานาชนิดมีค่าแตกต่างกัน ซุงที่ใช้ทำแพในการผจญภัยคอนติกิ (Kon-tiki) ทำด้วยไม้บอลซา (balsa) ซึ่งหนักเพียง 0.1 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ในบรรดาไม้ที่ใช้สร้างบ้านเรือนและทำเครื่องเรือน (ในประเทศสหรัฐอเมริกา) จะมีความหนาแน่นตั้งแต่ 0.3 ถึง 0.8 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ไม้สนขาว (white pine) หนัก 0.4 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ไม้เมเปิล (maple) หนัก 0.7 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ไม้ฮิกอรี (hickory) หนัก 0.8 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร เนื่องจากน้ำจืดหนัก 1 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ไม่ส่วนมากจึงลอยน้ำ ไม้ที่หนักที่สุดในสหรัฐอเมริกา คือ ไม้แบลคไอร์ออนวูด (blach ironwood) ในรัฐฟลอริดา มีความหนาแน่น 1.04 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ไม้ชนิดนี้จึงจมน้ำ เพราะว่า ไม้นี้มีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ แต่ยังมีไม้หนัก ๆ ชนิดอื่นอีกหลายอย่างที่พบในแถบอื่นของโลก เช่น ไม้พอยซันแอซ (poison ash) ของเม็กซิโก มีความหนาแน่น 1.1 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ไม้อคาปู (acapu) ไม้ไอเป (ipe) และไม้อราโปคา (arapoca) ซึ่งขึ้นอยู่ในป่าอเมซอน มีความหนาแน่น 1.12,1.17,1.21 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ตามลำดับ (ต่างจมน้ำทั้งนั้น) นอกจากนี้ยังมีไม้ในประเภทไอร์ออนวูด (ironwood) และลิกนัม ไวเต (lignum vitae) ที่ขึ้นในเปอร์โตริโก (Puerto Rico) อีกหลายชนิด ซึ่งมีความหนาแน่น 1.36 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ไม้คิวบราโค (guebracho) ของอาร์เจนตินามีความหนาแน่น 1.39 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ไม้พวกนี้เป็นไม้ที่หนักที่สุดเท่าที่รู้จักในปัจจุบันนี้ เนื่องจากไม้ชนิดใดก็ตามที่มีความหนาแน่นมากกว่า 1 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ย่อมจมน้ำทั้งนั้น (คือ ไม้ที่มีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ ย่อมจะจมน้ำเสมอ) ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า มีไม้หลายชนิดทีเดียวที่จมน้ำ

ก่องกัญจน์ ภัทรากาญจน์ . วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน . ครังที่ 4 . กรุงเทพ : สำนักงานคณะ
กรรมการวิจัยแห่งชาติ ,2530.



โดย : นางสาว namthip thongpuljun, ripw klongluang patumtani 13180, วันที่ 12 เมษายน 2545