เพชรแห่งความโชคร้าย |
|
เพชรโฮป ไม่ได้ดูน่ากลัวอะไรเลย ตรงกันข้ามกลับเป็นเพชรที่ได้รับการเจียระไนอย่างประณีตสวยงาม แต่เพราะมีประวิที่น่ากลัว จึงได้ชื่อว่า เพชรแห่งความโชคร้าย
ย้อนกลับไปในศตวรรษที่ 17 ของทาเวเนียร์ พ่อค้าชาวฝรั่งเศสเดินทางมาถึงปารีส พร้อมด้วยเพชรขนาด 112 กะรัต เขาปฏิเสธที่จะเล่าว่าได้มันมาอย่างไร หรือจากที่ไหน จึงมีข่าวลือต่างๆ นานาเกี่ยวกับเพชรเม็ดนี้ ข่าวลือที่น่ากลัวที่สุดคือ เขาได้เพชรมาจากเทวรูปในอินเดีย พร้อมกับคำสาปแช่งคนที่เป็นเจ้าของเพชรนี้
|
|
แม้จะมีข่าวลือน่ากลัวมากมาย แพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสทรงชื่นชอบเพชรเม็ดนี้ และทรงซื้อในราคาที่แพงมาก แล้วทรงสั่งเจียระไนให้เป็นรูปหัวใจ แต่คำสาปกลับส่งผลแก่ทาเวเนียร์ เขาสูญสิ้นเงินทองที่ได้จากการขายเพชร และตายอย่างอนาถาในรัสเซีย
แม้ว่าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 จะไม่ได้รับผลของคำสาป แต่เมื่อถึงรุ่นหลาน คือ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และพระมเหสี ซึ่งหลังจากได้ครอบครองเพชร ทั้งสองก็ถูกตัดศีรษะช่วงระหว่างการปฏิวัติในปี ค.ศ. 1793 เพชรเม็ดนั้นถูกขโมยไปพร้อมสมบัติอื่นๆ
|
|
|
จนกระทั่งในปี พ.ศ.1830 เพชรขนาด 44 กะรัตปรากฏขึ้นในลอนดอน หลายคนเชื่อว่าเป็นเพชรที่ถูกเจียระไนมาจากเพชรต้องคำสาปเม็ดนั้น
เฮนรี่ โฮป นายธนาคารได้ซื้อเพชรนั้นมาในราคา 90,000 ปอนด์ นับจากนั้นมาเพชรนี้จึง ได้ชื่อว่า เพชรโฮป ไม่มีอะไรเกิดขึ้นกันครอบครัวของโฮป จนในปี ค.ศ.1901ครอบครัวของโฮปได้ขายเพชรเม็ดนั้นไป
เจ้าของใหม่ไม่ได้โชคดีเหมือนกับครอบครัวโฮป หลายคนต้องประสบกับโชคร้าย พ่อค้าอัญมณีชาวกรีก เป็นเจ้าของเพชรโฮปได้ไม่นานก่อนที่จะตกหน้าผาตาย เจ้าของคนต่อมาเศรษฐีชาวเติร์กได้ซื้อมันเป็นของขวัญให้ภรรยา แต่หลังจากนั้นไม่นานเขาได้ยิงเธอตายอย่างไม่เจตนา
เพชรโฮปตกมาสู่มือของเจ้าชายรัสเซีย ทรงให้แฟนสาวสวมในงานแสดงเต้นรำ แล้วเจ้าชายก็ลุกขึ้นยืนยิงเธอตายอย่างไม่มีเหตุผล
หลายคนเริ่มกลัวในเรื่องที่เกิดขึ้น แต่อีกไม่นาน อีวาลิน แมคลิน มหาเศรษฐีชาวอเมริกันได้ซื้อเพชรเม็ดนั้นโดยไม่ยอมฟังคำเตือนของเพื่อนๆ และเธอต้องเสียใจที่ซื้อมันมา เมื่อแม่ของเธอและคนใช้อีกสองคนตายกะทันหัน ต่อมาลูกชายวัย 10 ขวบเกิดอุบัติเหตุถูกรถชนตายและลูกสาวคนเดียวต้องตายเพราะกินยาเกินขนาด
ในที่สุดพ่อค้าอัญมณีคนหนึ่งตัดสินใจซื้อเพชรโฮป และมอบให้กับสถาบันอัญมณีในกรุงวอชิงตัน ซึ่งวางแสดงอยู่ที่นั่นตราบจนทุกวันนี้
แต่ยังไม่มีใครอธิบายอย่างชัดเจได้ว่า เพชรโฮปเป็เพชรแห่งความโชคร้ายจริงหรือไม่
|
โดย : นางสาว กนกพรรณ พูลสิน, โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย, วันที่ 16 พฤศจิกายน 2544
|