|
พิพิธภัณฑ์บ้านเชียง จัดแสดงบริเวณชั้น ๒ และชั้น ๓ ของศิลปาคารจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับ ศิลปวัฒนธรรม และโบราณคดีในยุค อารยธรรมบ้านเชียง โบราณวัตถุ ที่นำมาจัดแสดง มีอายุประมาณ ๔,๐๐๐ ปี ได้แก่ ภาชนะดินเผา ลายเขียนสีลายงู ภาชนะดินเผาลายเชือกทาบ ขวานสำริด ใบหอกสำริด ห่วงคอสำริด กำไลหิน ลูกปัดแก้ว
|
|
|
|
ความสำคัญ
มรดกวัฒนธรรมบ้านเชียง แสดงถึงพัฒนาการทางสังคมและความเจริญ ทางเทคโนโลยี ของชุมชน หมู่บ้านเกษตรกรรม สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีความต่อเนื่องยาวนานเกือบ 4000 ปี (ระหว่าง 5600 ปี ถึง 1950 ปี มาแล้ว) ตั้งแต่สมัยหินใหม่ จนถึงวัฒนธรรมการใช้สำริด และเหล็ก นับเป็นวัฒนธรรม ก่อนประวัติศาสตร์ ที่มีความต่อเนื่อง และให้ข้อมูลที่สมบูรณ์ที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โครงกระดูกมนุษย์ เครื่องประดับและภาชนะที่พบในหลุมศพ แสดงให้เห็น ถึงขั้นตอน พัฒนาการ ที่ซับซ้อนขึ้นของประเพณี คติ ความเชื่อและโครงสร้างทางสังคม
ซากกระดูกสัตว์และเมล็ดพันธุ์พืช โดยเฉพาะข้าว บ่งบอกพัฒนาการของแบบแผนการดำรงชีวิต และความก้าวหน้า ทางเกษตรกรรม
|
|
ภาชนะดินเผา เครื่องมือและเครื่องประดับที่ทำจากสำริด เหล็ก และแก้ว แสดงถึงความก้าวหน้า ทางเทคโนโลยี และเครือข่ายทางการค้าและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม กับชุมชนภายนอกที่ห่างไกลออกไป ความต่อเนื่องของวัฒนธรรมบ้านเชียง เป็นผลมาจาก ความสามารถ ในการปรับตัว เข้ากับสภาพแวดล้อม แบบที่ราบลุ่มและป่าที่ล้อมรอบ การใช้ประโยชน์และการดัดแปลงสภาพแวดล้อม อันนำไปสู่วัฒนธรรม การเพาะปลูกข้าวที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และการพัฒนาเทคโนโลยี โลหกรรม ทั้งการหล่อสำริดและเหล็ก ที่ก้าวหน้าไม่น้อยไปกว่าแหล่ง โบราณคดีอื่นๆ ของโลก
ประการสำคัญ มรดกวัฒนธรรมบ้านเชียงได้ยืนยันความรู้ใหม่เกี่ยวกับ พัฒนาการของอดีตของมนุษยชาติในด้านหนึ่ง กล่าวคือ การดำรงอยู่อย่างกว้างขวางของเทคโนโลยีโลหกรรมในชุมชนหมู่บ้านเกษตรกรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยมาประมาณ ไม่น้อยกว่า 4000 ปีมาแล้ว
ที่มา : web เรื่องวังสวนผักกาด
|
โดย : นาง อุบล พนาลิกุล, ร.ร.อุตรดิตถ์ดรุณี, วันที่ 23 มีนาคม 2545 |