ส่วนต่าง ๆ ของหนังสือ |
ส่วนประกอบต่าง ๆ ของหนังสือ
1. กระดาษหุ้มปก
เป็นกระดาษที่หุ้มอยู่ปกนอกของหนังสือ ยกเว้นหนังสือปกอ่อน กระดาษหุ้มปกมักมีสีสันสวยสดงดงาม เป็นภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่องภายใน แต่บางครั้งอาจไม่มีภาพเลยก็เป็นได้
2. ปกหนังสือ หรือ ปกนอก
เป็นส่วนที่ใช้วัสดุแข็งแรงที่สุด อาจทำด้วยผ้าหรือกระดาษแข็ง เป็นส่วนที่ให้รายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับหนังสือ
3. ใบรองปก
เมื่อเปิดหนังสืออกก็ถึงใบรองปก ซึ่งมีอยู่ทั้งด้านหน้าและด้านหลังส่วนมากจะเป็น
แผ่นกระดาษสีขาวว่างเปล่า ไม่มีรายละเอียดใด ๆ บางทีก็มีสีลวดลายมีหน้าที่ช่วย
ยึดปกให้ติดแน่นกับตัวเล่มหนังสือ
4. หน้าปกใน
เป็นหน้าที่สำคัญที่สุดของหนังสือเพราะมีข้อความที่เกี่ยวกับหนังสือเล่มนั้น ๆ เช่นชื่อเรื่องที่ถูกต้อง ชื่อผู้แต่ง ผู้แปล ผู้รวบรวม ครั้งที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ สถานที่พิมพ์ โรงพิมพ์ ปีที่พิมพ์
5. หน้าลิขสิทธิ์
โดยมากมักอยู่ด้านหลังของหน้าปกใน หน้านี้ก็จะมีรายละเอียดต่าง ๆ ของหนังสือทั้งหมดและแสดงถึงจำนวนครั้งที่จดลิขสิทธิ์ แต่หนังสือภาษาไทยอาจไม่มีทุกเล่ม
6. หน้าอุทิศ
หน้านี้มีในหนังสือบางเล่มเท่านั้น ผู้เขียนมักจะเขียนขึ้นไว้เพื่อเป็นการอุทิศให้แก่
ผู้ใดผู้หนึ่ง
7. คำนำ
บ่งบอกถึงจุดประสงค์และแรงจูงใจที่ทำให้ตนต้องเขียนหนังสือเล่มนี้
8. สารบาญ/สารบัญ
เป็นหน้าที่จะช่วยให้ผู้อ่านได้ทราบว่าในหนังสือเล่มนั้นมีเรื่องอะไรบ้าง อยู่ที่หน้าใด ตอนใดของหนังสือ
|
|
|
9. ส่วนเนื้อเรื่อง
อาจแบ่งเป็นภาคหรือเป็นบท เริ่มตั้งแต่บทที่ 1 ไปจนถึงบทสุดท้าย
10. เชิงอรรถ
คือข้อความที่อยู่ข้างล่างสุดของหน้า บอกให้ทราบถึงที่มาของข้อความนั้น ๆ
11. อภิธานศัพท์
หนังสือบางเล่มที่มีคำศัพท์เฉพาะและศัพท์ยาก ๆ มากมาย ผู้แต่งมักจะรวบรวมคำศัพท์เหล่านั้นออกมาและให้คำอธิบาย ซึ่งจะจัดเรียงไว้ตามลำดับตัวอักษร
12. ภาคผนวก
เป็นส่วนที่เพิ่มเติมขึ้นภายหลังเพื่อให้เนื้อหาของหนังสือเล่มนั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
13. บรรณานุกรม
คือรายชื่อหนังสือที่ผู้แต่งได้ใช้ประกอบ ในการแต่งหนังสือเล่มนั้น ๆ อาจจะอยู่ตอนท้ายของแต่ละบท หรือตอนท้ายของแต่ละเล่ม จัดเรียงไว้ตามลำดับอักษร
14. ดรรชนี
คือหัวข้อย่อยรายละเอียดของหนังสือ ตลอดจนชื่อบุคคลหรือสถานที่ เรียงลำดับตามหลักพจนานุกรม พร้อมบอกเลขหน้าที่จะค้นเรื่องนั้น ๆ โดยมากมักอยู่ตอนท้ายของเล่มหนังสือ
|
โดย : นาย วรวัจน์ เกตุดี, ร.ร สุเหร่าคลองจั่น 191 ม.2 ซ.ลาดพร้าว แขวงคลองจั่น บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240, วันที่ 21 มีนาคม 2545 |