4 เคล็ดลับเสริม EQ

ที่มา: นิตยสารบันทึกคุณแม่ คอลัมน์ สมองลูกน้อย ฉบับที่ 79 เดือนกุมภาพันธ์ 2543 หน้า 34
เด็กบางคนเรียนหนังสือเก่งมาก สอบเรียนได้ที่ 1 หรือ 2 เป็นประจำ แต่หลังจากที่เขาเรียนจบ หรือสำเร็จการศึกษามาแล้ว เ ข้าทำงานแต่กลับทำงานอยู่ได้ไม่นาน เปลี่ยนงานบ่อยเนื่องจากมีปัญหา เข้ากับเพื่อนร่วมงานไม่ได้ ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตการงาน ในทางตรงข้ามเด็กบางคน เรียนดี แม้จะไม่เคยได้ที่ 1 หรือ 2 แต่สอบได้เลขตัวเดียวมาตลอด กลับประสบความสำเร็จในชีวิตการงานมากกว่า มีตำแหน่งหน้าที่การงานมั่นคง ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญอย่างหนึ่ง ก็คือ การที่เด็กทั้งสองคนนี้มี EIQ ( Emotionally Intelligence ) หรือ EQ ต่างกันนั่นเอง ดังนั้น ในยุค 2000 นี้ นอกจากเราจะส่งเสริมให้เด็กมี IQ ( Cognitive Intelligence ) สูงแล้ว เรายังจำเป็นต้องส่งเสริมให้เด็กมี EIQ สูงด้วย ก่อนอื่นจะขอให้คำจำกัดความหรือความหมายของคำว่า IQ และ EQ ก่อน เพื่อท่านผู้อ่านจะได้มีข้อมูล และเข้าใจสิ่งที่กำลังจะพูดต่อไปนี้ได้ดีขึ้น อันที่จริงแล้วทั้ง IQ และ EQ ได้มีผู้ให้คำจำกัดความไว้มากมาย ซึ่งพอจะสรุปสั้นๆได้ว่า IQ คือระดับความสามารถของเชาว์ปัญญา โดยมักจะมองไปที่ ความจำ ความสามารถในการคำนวณ และการวิเคราะห์เปรียบเทียบสิ่งต่างๆทางนามธรรม ส่วน EIQ คือระดับความสามารถของบุคคลในการที่จะไหวเท่าทันความคิด ความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น ความสามารถในการปรับตัว ความสามารถในการแก้ปัญหา โดยมักจะประเมินจาก Work performance ถ้าจะเปรียบในทางพุทธศาสนา อาจพูดได้ว่า EQ ก็คือสติ และ IQ ก็คือปัญญานั่นเอง อันที่จริงแล้วทั้ง IQ และ EQ จะมีบทบาทในแต่ละช่วงชีวิตของคนต่างกัน นั่นคือ IQ จะมีบทบาทมากกว่า EQ ในวัยเด็ก แต่ EQ จะมีบทบาทมากกว่าเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ขึ้น ดังนั้น EQ จึงเป็นตัวชี้ที่สำคัญต่อความสำเร็จในชีวิตการงาน


โดย : นางสาว ปวีณา มีธง, -, วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2545