แผ่นคอมแพกต์คิสก์ |
|
แผ่นคอมแพกต์ดิสก์: เล่นดนตรีด้วยแสงเลเซอร์
แผ่นคอมแพกต์ดิสก์หรือซีดี ขนาดกว้างเพียง 12 ซม. แต่บรรจุแทร็คที่มีความยาวถึง 5 กม. ซึ่งเล่นได้นานประมาณ 1 ชม. แผ่นซีดีเล่นได้ข้างเดียวเท่านั้น และไม่มีปัญหาขูดขีดหรือสึกหรอเพราะไม่มีเข็มสัมผัสพื้นผิวระหว่างที่เล่น มีเพียงลำแสงเลเซอร์กำลังอ่อนๆส่องขึ้นมาจากใต้แผ่นเพื่ออ่านและแปรค่ารหัสจิทัลที่จารึกไว้บนแผ่นให้ออกมาเป็นเสียง รหัสนี้ก็คล้ายกับรหัสมอร์สซึ่งใช้จุดกับขีด เพียงแต่รหัสดิจิทัลมีลักษณะเป็นหลุมบ่อและพื้นราบขนาดเล็กจนมองแทบไม่เห็นบนแทร็ค ซึ่งเวียนเป็นวงออกมาจากกลางแผ่น
รหัสดิจิทัลทำงานโดยการสร้างรูปแบบต่างๆที่ประกอบด้วยตัวเลขเพียง2ตัว คือ 0 และ 1 ตัวเลขทั้งสองนี้นำมาประกอบกันเพื่อแทนรูปแบบและเสียงต่างๆได้มากมายไม่รู้จบ จากเสียงตีกลองทีเดียวจนถึงเสียง ออเคสตราวงใหญ่ที่ดังเต็มที่เมื่อนำมาถอดรหัสจะได้เสียงเหมือนจริงไม่ผิดเพี้ยน
ขณะที่แสงเลเซอร์กราดหรือสแกนจานที่หมุนอยู่นั้น หลุมบ่อและพื้นราบต่างๆบนแผ่นย่อมมีผลกระทบต่อการสะท้อนแสง แสงสะท้อนตกลงบนโฟโตไดโอด(photodiode)ซึ่งเป็นอุปกรณ์รับแสงโฟโตไดโอดแปลงข้อมูลแสงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าจากนั้นก็นำสัญญาณไฟฟ้ามาถอดรหัสด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกให้เป้นกระแสไฟที่ป้อนเข้าลำโพงเพื่อให้ออกมาเป็นคลื่นเสียงซึ่งเหมือนคลื่นเสียงต้นกำเนิดจากหลุมบ่อและพื้นราบบนแผ่นซีดี
|
|
การใส่รหัสบนแผ่นซีดี
วิธีบันทึกแผ่นซีดีก็เช่นเดียวกับการบันทึกเสียงรูปแบบอื่นๆ คือ ไมโครโฟนจะเปลี่ยนคลื่นเสียงเป็นสัญญาณไฟฟ้า มีการวัดแรงดันของสัญญาณและเข้ารหีสด้วยอิเล็กทรอนิกเป็นเลขฐานสองจากนั้นตัวเลขจะผ่านการเข้ารหัสอีกเพื่อเชื่อมโยงสเตริโอทั้ง 2 ช่อง เป็นแถวพัลส์ 1 แถว แล้วป้องกันความเสียหายต่อสัญญาณจากรอยขีดข่วนหรือรอยนิ้วมือระหว่างจับต้อง
แผ่นดิสก์ที่นำมาบันทึกนั้นเป็นแผ่นแก้วเคลือบยางเรซินที่ไวต่อแสง ขณะที่แผ่นดิสก์กำลังหมุนได้ลำแสงเลเซอร์ เขาก็นำสัญญาณที่เข้ารหัสไว้มาป้อนเป็นพัลส์ไฟฟ้า(electrical pulses)เข้าสู่เลเซอร์เพื่อให้ปล่อยลำแสงออกมาเป็นระยะๆทำให้เกิดลวดลายของหลุมบ่อและพื้นราบบนแผ่นดิสก์ซึ่งจะปรากฏเมื่อนำไปล้างด้วยน้ำยาเคมี วิธีนี้เป็นการบันทึกเสียงที่ให้คุณภาพเสียงตรงกับต้นแบบมากที่สุดในปัจจุบัน
|
|
|
แผ่นดิสก์แม่แบบใช้เป็นแบบสำหรับการผลิตสำเนา แผ่นดิสก์แต่ละแผ่นจะเคลือบอะลูมิเนียมบางๆเพื่อให้สะท้อนแสงได้ดี จากนั้นก็ลงน้ำมันชักเงาเพื่อป้องกันการขูดขีด
คัดลอกจากหนังสือ รู้เรื่อง รอบตัว
|
โดย : นาย บุญญพัฒน์ โภคาพันธ์, โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย, วันที่ 15 พฤศจิกายน 2544
|