มานพ ประภาษานนท์.ลดอาการปวดด้วยจิตใจ.ใกล้หมอ. 26 ,2 (กุมภาพันธ์ 2545) : 108-109.
เราสามารถควบคุมความเจ็บปวดได้ด้วยวิธีง่าย ๆ คือ มุ่งความสนใจไปอยู่กับสิ่งอื่น วิธีที่ดีที่สุดในการเบี่ยงเบนไปจากความเจ็บปวดก็คือ มีชีวิตที่เต็มเปี่ยมและน่าสนใจ มีครอบครัวและชีวิตที่สังคมที่กระฉับกระเฉง มีงานอดิเรกที่น่าเพลิดเพลิน อะไรก็ตามที่ตามที่สามารถจับต้องได้และสามารถดึงความสนใจของเราไว้ไว้ สิ่งนั้นสามารถหันเหเราเราจากความเจ็บปวดอย่างได้ผล กิจกรรมที่ว่านี้มีให้เลือกหลายอย่าง ได้แก่ การทำงาน งานอดิเรก ดูทีวี อ่านหนังสือ ดูภาพยนต์ การเข้าสังคม ไปข้างนอกกับครอบครัว เล่นเกมส์ต่าง ๆ เล่นอินเทอร์เน็ต ออกกำลังกาย ชมกีฬา ฟังดนตรี กิจกรรมอาสาสมัคร หรือสนใจการเมือง ในการที่จะทำให้สำเร็จเราต้องเตือนตัวเองว่า ความเจ็บปวดนี้ไม่ได้หมายถึงการบาดเจ็บ จงอย่าคิดถึงความรู้สึกนี้ว่าเป็นความเจ็บปวด หรือความเจ็บซึ่งเป็นคำที่หมายถึงอันตรายหรือความทุกข์ แต่มองให้ขัดเจนว่า รู้สึกอะไรที่บริเวณที่เราเจ็บปวดนั้น เช่น ความตึง เกร็ง ปวดแสบ ร้อน หรือรู้สึกเหมือนถูกดึง เมื่อเผชิญกับความเครียด ร่างกายจะตอบสนองโดยการปล่อยสารเอพิเนฟรีนและฮอร์โมน
อื่น ๆ ออกมาทำให้หัวใจเต้นแรง หายใจเร็วขึ้นและกล้ามเนื้อตึงขึ้น ร่างกายจะกลับเข้าสู่ปกติเมื่อเหตุการณ์นั้นผ่านไป แต่ถ้าตกอยู่ในภาวะเครียดเป็นเวลานาน เนื่องจากอาการปวดเรื้อรังหรือจากปัญหาอื่น ควรใช้เทคนิควิธีการผ่อนคลาย การใช้เทคนิคผ่อนคลายช่วยต่อสู้กับความเครียด สามารถลดความตึงของกล้ามเนื้อและลดการการปวดได้มากเท่า ๆ กับลดความเหนื่อยล้า ความวิตกกังวลและปัญหานอนไม่หลับ การปฏิบัติเพื่อให้เกิดการผ่อนคลายนั้นอันดับแรก คือการหายใจลึก ๆ เรียกว่า การหายใจด้วยกะบังลม หรือหายใจด้วยหน้าทอง เพื่อให้ปอดได้ขยายเต็มที่
|