ลำคอ

ชุมศักดิ์ พฤกษาพงษ์ .”ลำคอ (Throat)”. ใกล้หมอ. 26,2 (กุมภาพันธ์ 2545) : 104.
ลำคอ (Throat) เป็นศัพท์ที่ใช้เรียกพื้นที่ร่วมของร่างกายที่อาหารและอากาศผ่านก่อนที่จะลงไปสู่ทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ พื้นที่ส่วนนี้เชื่อมต่อระหว่างจมูกและปากกับหลอดลมและหลอดอาหาร ลำคอประกอบด้วยอวัยวะสองส่วน คือ คอหอย หรือฟาริ้ง (Pharynx) และสองกล่องเสียง หรือลาริ้ง (Larynx) คอหอย เป็นกล้ามเนื้อเรียงร้อยเป็นหลอดยาวประมาณ 12เซนติเมตร เชื่อมระหว่างจมูกและปากกับหลอดอาหาร ทั้งอาหาร เครื่องดื่มและลมหายใจจะผ่านบริเวณนี้ เพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัยโรคอาจแบ่งโรคคอหอยได้เป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่หนึ่งเป็นส่วนที่อยู่หลังจมูก เรียกว่า เนโซฟาริ้ง (Nasopharynx) ส่วนที่อยู่หลังปาก เรียกว่า ออโรฟาริ้ง (Oropnarynx ) ส่วนที่อยู่หลังกล่องเสียง เรียกว่า ลาริงโกฟาริ้ง (Laryngopharynx) ผนังของคอหอยจะมีเนื้อเยื่อต่อมน้ำเหลืองบุอยู่ส่วนที่อยู่ในคอหอยส่วน Nasopharynx จะมีเนื้อเยื่อต่อมน้ำเหลืองบุอยู่ เรียกว่า อะดีนอยด์ (Adenoid) ส่วนที่อยู่ในคอหอยส่วน Oropnarynx เรียกว่า ต่อมทอนซิล (Tonsils) ทำหน้าที่ปกป้องทางเข้าสู่ร่างกายของอากาศและอาหารกล่องเสียง มีหน้าที่สำคัญ คือต้องคอยปิดทางเดินอาหารเวลาเรากลืนอาหารหรือเครื่องดื่ม หน้าที่ของลำคอลำคอเป็นอวัยวะที่มีส่วนประกอบหลากหลาย จึงมีหน้าที่ ที่ชัดเจนที่สุด คือ เป็นทางผ่านของอาหารและเครื่องดื่มลงไปสู่ทางเดินอาหาร ขณะเดียวกันก็เป็นทางผ่านของอากาศ ลงสู่ปอด ดังนั้นคอหอยจะต้องเคลื่อนไหวอย่างมีจตังหวะจะโคนและสอดประสานงานกันอย่างดี เพื่อทำให้อากาศไหลลงสู่ปอดอาหาร การประสานงานนี้จะกำกับดูแล ควบคุม โดยเครือข่ายเส้นประสานงานนี้จะกำกับดูแล ควบคุมโดยเครือข่ายเส้นประสาทที่ส่งสัญญาณจากก้านสมอง รับคำสั่งจากศูนย์การหายใจและศูนย์การกลืนอาหารที่อยู่ในสมองใหญ่อีกต่อหนึ่ง เมื่อกลืนอาหาร ลิ้นที่อยู่ในช่องปากจะทำหน้าที่ส่งอาหารลงสู่คอหอยส่วน Oropharynx แล้วกล้ามเนื้อของคอหอยจะบีบตัวเป็นคลื่นเพื่อพาอาหารลงไปตามคอหอย ขณะเดียวกันก็มีกลไกป้องกันไม่ให้อาหารไหลเข้าสู่กล่องเสียง



โดย : นางสาว นางสาวพนิดา ยิ้มแฉ่ง, ripw Klonglung Pathumthani 13180, วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2545