ยาตีกัน

ยาตีกัน . (ออนไลน์) . เข้าถึงได้จาก : WWW. NUTRION . COM
ยาตีกัน
คงเคยได้ยินมาบ้างแล้วว่าการใช้ ยา บางชนิดร่วมกัน อาจเกิดอันตรายได้ หรืออาจทำให้ผลการรักษาลดลง บางชนิด ใช้ด้วยกันแล้ว ทำให้ผลการรักษาดีขึ้น การใช้ยาต่างๆ ร่วมกันเป็นเรื่อง ต้องใส่ใจ
ว่ายาแต่ละชนิดมีผลกระทบกันหรือไม่ อย่างไรวันนี้ได้โอกาส ก็เลย เขียนเรื่องปฏิกิริยาระหว่างยา หรือที่มักเรียกว่า
"ยาตีกัน" นั่นแหละ คำๆ นี้มาจากภาษาอังกฤษว่า Drug interactions
ความจริงแล้วมันไม่ได้ตีกันเฉพาะยากับยาเท่านั้น ยังมียากับโรค และยา กับอาหารอีกด้วย แต่วันนี้คุยกันเฉพาะเรื่องยา กับยาก่อน แล้วกัน โดยทั่วไป แบ่งปฏิกิริยาระหว่างยาออกเป็น 2 ประเภท
ประเภทแรกเกี่ยวข้องกับการออกฤทธิ์ของยา (ภาษาทางยาเรียกว่า ปฏิกิริยาทางเภสัชพลศาสตร์ Pharmacodynamic interactions)
เกิดจาก ยาที่ใช้ร่วมกันมีฤทธิ์ใน การรักษา หรือมีอาการข้างเคียง คล้ายกัน หรือ ตรงข้ามกัน หมายความว่าถ้าได้ยาที่มีฤทธิ์ หรืออาการข้าง เคียง คล้ายกัน มันก็จะเสริมฤทธิ์กัน ถ้ามากไปก็อาจเกิดอันตรายได้ แต่ถ้าได้ยา ที่มีฤทธิ์ ตรงข้ามกันก็อาจเกิดการ หักล้างฤทธิ์กันได้ ไม่มากก็น้อยเช่น คนเป็น โรคความดันโลหิตสูงแล้ว เกิดเป็นหวัด มีอาการ แน่นจมูก ต้องกินยา แก้คัดจมูก ซึ่งมีอาการข้างเคียง ทำให้ ความดันสูง ขึ้นชั่วคราว ก็จะไป ลดฤทธิ์ของยาลดความดันได้ คุณจึง เห็นข้อความบนแผงยาแก้หวัด ทั้งหลายว่า"ควรระวังการใช้ยานี้ ในคนที่เป็นโรคความ ดันโลหิตสูง"
การรับประทานยาแก้แพ้ร่วมกับยานอนหลับ หรือยาคลายเครียดจะ เสริม ฤทธิ์กดประสาทจนอาจเกิดอันตรายได้ หรือการดื่มสุราร่วม ด้วยก็ เช่น กัน ปฏิกิริยาประเภทนี้มักจะทำนายได้จากความรู้ทาง เภสัชวิทยา ของยา แต่ละชนิด และถ้าเกิดกับยาตัวใดตัวหนึ่ง ในกลุ่มก็มักจะเกิดกับ ยา ตัวอื่นๆ ในกลุ่มเดียวกันด้วย คนที่ได้ยาเหล่านี้ร่วมกัน ส่วนใหญ่
จะเกิดอาการไม่มากก็น้อย



โดย : นาย ปริญญา หงษ์ทอง, Rhajabhat Institue Petchburiwittayalongkorn phahonyothin Road,Kw 48 Klong Luang, วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2545