http://www.rdpb.go.th/thai/important/Projects/pj401.htm
โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง
เรื่องเดิม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นถึงความทุกข์ยากเดือดร้อนของราษฎรในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากปัญหาน้ำแล้ง น้ำท่วม และน้ำเค็ม จึงได้พระราชทานพระราชดำริใน วโรกาสและสถานที่ต่าง ๆ นับตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว สรุปพระราชดำริเบื้องต้นได้ว่า ... ทำประตูน้ำที่ปากน้ำน้ำห่างจากตัวอำเภอปากพนังประมาณ 3 กิโลเมตร ก็พิจารณาว่าจะแก้ปัญหาทั้งหมด ซึ่งหมายความว่าเป็นกุญแจสำคัญของโครงการฯ จะแก้ไขปัญหาตั้งแต่น้ำแล้ง น้ำท่วม น้ำเค็ม และสามารถที่จะให้ประชาชนมีน้ำบริโภคและ น้ำทำการเกษตร การสร้างประตูน้ำนั้น ก็เชื่อว่าถ้าไม่มีปัญหาที่ดิน จะสร้างได้โดยเร็ว กะว่าจะใช้เวลาประมาณ 3 ปีเสร็จ แม้ว่าประตูระบายน้ำ อันเดียวจะไม่แก้ไขปัญหาทั้งหมด ซึ่งจะต้องก่อสร้างหรือทำโครงการต่อเนื่อง หากแต่ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ไขปัญหาทั้งหมด จากอันนี้จะทำอะไร ๆ ได้ทุกอย่างและแยกออกมาเป็นโครงการ...
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อป้องกันน้ำเค็มจากทะเลที่จะไหลเข้าไปในแม่น้ำปากพนัง และลำน้ำสาขา
2. เพื่อลดระยะเวลาในการระบายน้ำท่วมออกจากพื้นที่ที่เกิดอุทกภัย
3. เพื่อขจัดปัญหาความขัดแย้งระหว่างราษฎรที่ทำนากุ้งและราษฎรที่ทำนาข้าว
4. เพื่อกักเก็บน้ำจืดและเป็นแหล่งเพาะพันธุ์และขยายพันธุ์สัตว์น้ำจืดได้
5. ช่วยสร้างระบบนิเวศน์และสภาพแวดล้อมของอ่าวปากพนังให้มีสภาพดีขึ้น
6. เพื่อลดปัญหาการอพยพย้ายถิ่นฐานของราษฎ
เป้าหมายการดำเนินงาน
เพื่อพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ได้รับการพัฒนาทั้งในด้านชลประทาน เศรษฐกิจ และสังคม ให้ราษฎรในพื้นที่มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ปราศจากความขัดแย้ง
สถานที่ดำเนินการ
พื้นที่เป้าหมายในการดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังฯ รวมทั้งสิ้นประมาณ 1,937,500 ไร่ (3,100 ตารางกิโลเมตร) ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช (อำเภอปากพนัง อำเภอเชียรใหญ่ อำเภอหัวไทร อำเภอชะอวด อำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอจุฬาภรณ์ อำเภอลานสกาบางส่วน อำเภอเมืองบางส่วน และกิ่งอำเภอพระพรหม) อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง และอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา บางส่วน
หน่วยงานรับผิดชอบ
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- กระทรวงมหาดไทย
- กระทรวงกลาโหม
- กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- สำนักนายกรัฐมนตร
การดำเนินงานสนองพระราชดำริ
1. กิจกรรมก่อสร้างระบบชลประทาน
1) งานก่อสร้างระบบระบายน้ำปากพนังพร้อมอาคารประกอบ
2) งานก่อสร้างระบบระบายน้ำพร้อมอาคารประกอบและประตูระบายน้ำ
- คลองระบายน้ำชะอวด-แพรกเมืองพร้อมประตูระบายน้ำและคันกันทราย
- คลองระบายน้ำฉุกเฉินและประตูระบายน้ำ
- คลองปากพนังและประตูระบายน้ำ
- คลองบางโด แบ่งเขตน้ำจืด-น้ำเค็มและอาคารประกอบ
3) งานก่อสร้างคันแบ่งน้ำจืด-น้ำเค็มและอาคารประกอบ
4) งานก่อสร้างระบบชลประทานตอนบน
- ฝายคลองไม้เสียบส่วนขยาย
- ในเขตนิคมสร้างตนเองควนขนุน
5) งานก่อสร้างชลประทานและปรับปรุงระบบชลประทานตอนล่าง
2. งานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
โดยเน้นงานกิจกรรมพัฒนาการเกษตร ตามแผนพัฒนาโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังฯ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 5 กิจกรรม คือ
1) การปรับปรุงการผลิตข้าว
2) การเกษตรผสมผสาน
3) การปรับปรุงพื้นที่เลี้ยงกุ้ง
4) การอนุรักษ์ป่าไม้
5) พัฒนาองค์การบริหารและการจัดการ
3. งานส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคงในพื้นที่ มีกิจกรรมดำเนินงาน 4 กิจกรรม คือ
1) กิจกรรมเสริมความมั่นคง
2) งานประชาสัมพันธ์
3) งานศิลปาชีพ
ผลการดำเนินงาน
1. การดำเนินงานด้านชลประทาน
1) งานจัดซื้อที่ดิน
- คลองระบายน้ำชะอวด-แพรกเมือง มีแผนดำเนินการจำนวน 5,100 ไร่ เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปี 2539 ผลงานตั้งแต่เริ่มต้นถึง เดือนนี้ 94.29%
- คลองระบายน้ำฉุกเฉิน มีแผนการดำเนินการ จำนวน 597 ไร่ เริ่มดำเนินการ
ในปี 2541 ผลงานตั้งแต่เริ่มต้นถึงเดือนนี้ 95.32%
2) งานก่อสร้าง
- งานก่อสร้างส่วนประกอบอื่น เริ่มดำเนินการเมื่อปี 2537 ผลงาน 42.32%
- งานก่อสร้างประตูระบายน้ำปากพนังและอาคารประกอบ 1 แห่ง (งานจ้างเหมา) ผลการดำเนินงาน 94.00%
- งานก่อสร้างคลองระบายน้ำพร้อมอาคารประกอบและประตูระบายน้ำ คลองชะอวด-แพรกเมือง พร้อมประตูระบายน้ำ และคันกันทราย ระยะทาง 26.00 กิโลเมตร ผลการดำเนินงาน 11.07% ช้ากว่าแผน 4.49% คลองระบายน้ำฉุกเฉินพร้อมอาคารประกอบ และประตูระบายน้ำ ผลการดำเนินงานถึงเดือนนี้ 74.05% ช้ากว่าแผน 0.13% คลองปากพนังและประตูระบายน้ำ ระยะทาง 3.700 กิโลเมตร ขณะนี้อยู่ระหว่างการขอขยายอายุสัญญา คลองบางโด-ท่าพญาและประตูระบายน้ำ ระยะทาง 9.030 กิโลเมตร ขณะนี้อยู่ระหว่างการสำรวจ ข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อประกอบการพิจารณาออกแบบอาคารในคลองระบายน้ำ
- งานก่อสร้างคันแบ่งเขตพื้นที่ น้ำจืด-น้ำเค็ม และอาคารประกอบ ระยะทาง 91.500 กิโลเมตร อยู่ระหว่างดำเนินการ สำรวจออกแบบ
- งานก่อสร้างระบบชลประทานตอนบน ท้ายฝายคลองไม้เสียบส่วนขยาย อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 24,000 ไร่ และในเขตนิคมสร้างตนเองควนขนุน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง จำนวน 17,500 ไร่ ขณะนี้ผลงานยังไม่แล้วเสร็จตามสัญญา
- งานก่อสร้างและปรับปรุงระบบชลประทานตอนล่าง จำนวน 480,000 ไร่ อยู่ระหว่างดำเนินการสำรวจออกแบบ
3) ผลการดำเนินงานถึง 31 กรกฎาคม 2542 มีผลงานที่อยู่ระหว่างดำเนินการดังนี้
- งานก่อสร้างประตูระบายน้ำปากพนัง (งานจ้างเหมา) ผลงาน 94.00%
- งานก่อสร้างคลองระบายน้ำชะอวด-แพรกเมือง ผลงาน 11.07% ช้ากว่าแผนงาน 4.49%
- งานก่อสร้างคลองระบายน้ำฉุกเฉิน ผลงาน 74.05% ช้ากว่าแผนงาน 0.13%
- ผลงานรวมทั้งโครงการ 36.43% ช้ากว่าแผนงาน 4.22%
2 . งานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม (กิจกรรมพัฒนาการเกษตร)
1) การปรับปรุงการผลิตข้าว
- จัดทำไร่นาสวนผสม 1,530 ไร่ ดำเนินการไปแล้ว 708 ไร่
- ก่อสร้างโรงเรือนคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ อยู่ระหว่างดำเนินการ
- ผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อสนับสนุนการวิจัย ผลิต 3 ตัน/ปี
- ทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสมที่ทนน้ำท่วม ทดสอบแล้วกว่า 40 สายพันธุ์
2) งานเกษตรผสมผสาน
- จัดทำไร่นาสวนผสม ใน 3 อำเภอ ดำเนินการ 708 ไร่ โดยใช้พันธุ์พืช 450 สายพันธุ์
- ประชุมคัดเลือกการเกษตรทำไร่นาสวนผสม
- ปรับปรุงโคพื้นเมือง โดยแจกจ่ายให้แก่เกษตรกร 3,500 ราย
- สนับสนุนพันธุ์สัตว์ปีกแก่เกษตรกร ครอบครัวละ 20 ตัว รวมทั้งสิ้น 58,000 ตัว
- ธนาคารโค-กระบือ โดยการให้เกษตรกรยืมโคไปเลี้ยง รายละ 2 ตัว ซึ่งสนับสนุนไปแล้ว 379 ตัว
- ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ใน 5 ประตูระบายน้ำ ในลักษณะเสริมรายได้
3) งานปรับปรุงพื้นที่เลี้ยงกุ้ง
- วิจัยสัตว์น้ำจืดเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเลี้ยง ขณะนี้อยู่ระหว่างการรอผล
4) การอนุรักษ์ป่าไม้
- จัดตั้งและบริหารการจัดการลุ่มน้ำ ขณะนี้อยู่ระหว่างการรอผล
- การฟื้นฟูระบบนิเวศน์ต้นน้ำ
- เพาะชำหญ้าแฝก ดำเนินการเพาะชำแล้ว 1 แสนกล้า
- ปรับปรุงถนนป่าไม้ ดำเนินการแล้ว 10 กิโลเมตร
- การจัดการฝายต้นน้ำ (check dam) ดำเนินการรวมในปี 2541 ประมาณ 150 แห่ง
- การป้องกันและประชาสัมพันธ์เรื่องป่าไม้
- การศึกษาวิจัยป่าชายเลน
- การสำรวจข้อมูลเพื่อกำหนดขอบเขตการใช้ที่ดินในเขตลุ่มน้ำ ดำเนินการแล้วประมาณ 950,000 ไร่
- ปลูกพืชตามระบบอนุรักษ์น้ำและปลูกหญ้าแฝก ดำเนินการแล้วประมาณ 700,000 ไร่
- จัดพื้นที่ให้แก่เกษตรกร จัดสรรให้แก่เกษตรกรประมาณ 66,000 ไร่
- สอบสวนสิทธิ์ 5,100 ราย ดำเนินการไปแล้ว 2,200 ไร่
- การมอบหรือสั่งอนุญาตทำประโยชน์ สปก. 4-01 จำนวน 5,100 ราย ดำเนินการไปแล้ว 5,100 ราย
5) การพัฒนาองค์กรบริหารและจัดการ
- อบรมเพื่อเพิ่มความรู้ให้แก่เกษตรกร
- การสำรวจออกแบบเพื่อจัดทำระบบควบคุมน้ำ ดำเนินการไปแล้ว 20,000 ไร่
- การส่งเสริมแนะนำ ช่วยเหลือสมาชิกสหกรณ์ ดำเนินการไปแล้ว 2 อำเภอ 4,988 ครัวเรือน
- การศึกษาอบรม ดำเนินการไปแล้ว 175 กลุ่ม
- การเผยแพร่แก่เกษตรกรทั่วไป ดำเนินการไปแล้ว 2,774 ราย
- ส่งเสริมให้สมาชิกฝากเงิน ขณะนี้มียอดเงินฝากมากกว่า 24.6 ล้านบาท
- ส่งเสริมธุรกิจการตลาดแก่สหกรณ์ ดำเนินการไปแล้วกว่า 300,000 ราย
- ส่งเสริมอาชีพตามแนวทฤษฎีใหม่ ดำเนินการไปแล้วกว่า 199 ครอบครัว
- ทำแปลงสาธิตปลูกข้าวให้แก่สมาชิก ดำเนินการไปแล้วกว่า 74 ครอบครัว
- การสำรวจออกแบบเพื่อจัดทำระบบควบคุมน้ำ ดำเนินการสำรวจพื้นที่ไปแล้วประมาณ 20,000 ไร่
3. งานส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเพื่อส่งเสริมความมั่นคงในพื้นที่
1) งานด้านประชาสัมพันธ์
- หน่วยสันตินิมิตร 8 หน่วย ปฏิบัติงานด้านประชาสัมพันธ์ในพื้นที่เป้าหมาย อำเภอปากพนัง อำเภอหัวไทร อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช และ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
- ทำรายการ เสียงจากลุ่มน้ำปากพนัง ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งแต่เวลา 12.00-12.30 น. ของวันเสาร์ และวันอาทิตย์
- ศูนย์ผลิตรายการและข่าวกองทัพบกภาคที่ 4 จัดทำรายการเพื่อออกอากาศกระจายเสียงในสถานีวิทยุเครือข่ายกองทัพภาคที่ 4 จำนวน 10 สถานี 11 คลื่นความถี่ โดยสอดแทรกและนำเสนอโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตามห้วงเวลาที่เหมาะสม
ประโยชน์ที่ได้รัº
1. ช่วยป้องกันน้ำเค็มรุกเข้าแม่น้ำปากพนังและลำน้ำสาขา
2. ลดระยะเวลาในการระบายน้ำท่วมออกจากพื้นที่ที่เกิดปัญหาอุทกภัย
3. ลดความขัดแย้งของเกษตรกรระหว่างอาชีพ ได้แก่ เกษตรกรที่ประกอบอาชีพนากุ้ง และเกษตรกรที่ประกอบอาชีพทำนา
4. ทำให้มีการกักเก็บน้ำจืดเพื่อใช้ในการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์น้ำ ซึ่งจะส่งผลให้ราษฎรมีรายได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการสร้าง ประโยชน์ต่อระบบนิเวศน์และสภาพแวดล้อมของอ่าวปากพนังให้มีสภาพดีขึ้น เนื่องจากควบคุมปริมาณน้ำจืดจาก น้ำฝนไม่ให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพ น้ำเดิมที่บริเวณอ่าวปากพนัง
5. ลดปัญหาการอพยพย้ายถิ่นฐานของราษฎร
การดำเนินการจัดทำแผนแม่บทโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง
1. การจัดทำแผนแม่บทโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังฯ
การดำเนินงานตามโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังฯ ในระยะเริ่มแรก กิจกรรมดำเนินงานส่วนใหญ่เน้นในเรื่องการก่อสร้างระบบ ชลประทานและการประชาสัมพันธ์ ซึ่งยังไม่มีความหลากหลายและมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่มากนัก แต่ปัจจุบันกิจกรรมดำเนินงานของโครงการฯ มีความหลากหลายเพิ่มขึ้น ทำให้ต้องมีหลายหน่วยงานเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในด้านการเกษตรและพัฒนาอาชีพ แต่การดำเนินงาน ของหน่วยงานต่าง ๆ จะมีแผนปฏิบัติงานของตนเอง ทำให้เกิดปัญหาในการประสานงานและไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ ด้วยเหตุนี้คณะกรรมการบริหารโครงการฯ มีมติเห็นชอบในหลักการเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2541 ให้มีการจัดทำแผนแม่บทโครงการพัฒนา พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังฯ ขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน การประสานงานการจัดสรรงบประมาณและการติดตามสำเร็จของโครงการฯ และประธานคณะกรรมการบริหารโครงการฯ ได้อนุมัติให้ดำเนินการจัดทำแผนเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2541 ขณะนี้ สำนักงาน กปร. ได้เป็นแกนกลางในการเตรียมการเพื่อจัดทำแผนแม่บทของโครงการฯ ทั้งนี้ ได้มีการนำเสนอแผนแม่บทโครงการฯ ในการประชุมคณะกรรมการ บริหารโครงการฯ ครั้ง 1/2542 เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542 นี้แล้ว โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบกับกรอบแผนแม่บทดังกล่าว และมอบหมายให้ สำนักงาน กปร. เป็นแกนกลางในการจัดทำรายละเอียดต่อไป
2. แนวทางการพัฒนาในระยะต่อไป
¡ารพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังฯ ในระยะต่อไป เน้นการดำเนินงานตามแนวพระราชดำริ ที่พระราชทานไว้âดยเฉพาะในการก่อสร้าง ด้านชลประทาน ทั้งนี้เพื่อมุ่งป้องกันและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และนำไปสู่การพัฒนาคนที่อยู่อาศัยทำกินในพื้นที่โครงการฯ ให้พออยู่พอกิน และสามารถเลี้ยงตนเองได้ โดยแนวทางการพัฒนาในระยะต่อไปจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาแบบผสมผสานในลักษณะบูรณาการ โดยให้ทุก ฝ่ายได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาให้มากขึ้น
|